Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68001
Title: | นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาวัดไชยวัฒนาราม |
Other Titles: | Virtual reality technology innovation for cultural heritage tourism case study of Wat Chaiwattanaram |
Authors: | ดารณี อาจหาญ |
Advisors: | ชัชวาล ใจซื่อกุล พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected],[email protected] |
Subjects: | วัดไชยวัฒนาราม ความจริงเสมือนในโบราณคดี -- ไทย -- อยุธยา การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ -- ไทย -- อยุธยา Wat Chaiwattanaram Virtual reality in archaeology -- Thailand -- Ayutthaya Heritage tourism -- Thailand -- Ayutthaya |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์นวัตกรรมต้นแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบเคลื่อนที่ขนาดพกพา โดยใช้โมเดล QFD (Quality Function Deployment) เป็นเครื่องมือในการสร้างแนวคิดเพื่อการออกแบบ และประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ ในการสร้างภาพเสมือนจริงด้วยรูปแบบการเรียงร้อยเรื่องราวประวัติศาสตร์กับสภาพแวดล้อมปัจจุบันของโบราณสถานด้วยการใช้สื่อแบบผสมในการสร้างเนื้อหา โดยมุ่งประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านบริการและเกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ภายในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ประทับใจ และส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาเยี่ยมเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยว เมื่อได้ทำการทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้บนระบบของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งอนุญาตให้ผู้บริโภคมีส่วนรวม (User interactive) แบบสั่งการผ่านหน้าจอและตอบความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม จำนวน 120 คน เป็นชาวไทย 40 คน และชาวต่างชาติ 80 คนที่เดินทางมาเยี่ยมชมวัดไชยวัฒนารามเพื่อวิเคราะห์การยอมรับเกี่ยวกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ต้นแบบด้านต่าง ๆ และเปรียบเทียบความแตกต่างด้านเชื้อชาติ และอายุมีผลต่อคุณสมบัติของอุปกรณ์ต้นแบบด้วยค่า T-test พบว่าคุณสมบัติด้านเนื้อหา ประสิทธิภาพการแสดงผลหน้าจอระบบเสียงบรรยาย และความพึงพอใจภาพรวมทีความแตกต่างกัน ส่วนช่วงอายุน้อยกว่า 19 ปี มีความแตกต่างกับอายุ 20-29 ปี และ 30-39 ปี นอกจากนี้ยังหาความสัมพันธ์ของการความคิดเห็นความชอบด้านสีสันสดใสของอุปกรณ์ คือ กลุ่มอายุ 20-29 ปี และชอบสีขาว-ดำ คือ กลุ่มอายุ 50-59 ปี และผู้ทดลองใช้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุง คือ ระบบเสียงบรรยายเบาเกินไป รองลงมาขนาดอุปกรณ์มีขนาดใหญ่เกินไปและปุ่มสั่งการทำงานช้า ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์มัลติมีเดียทัวร์พบว่า ต้องการให้พัฒนาอุปกรณ์ให้ดีเพื่อนำออกสู่ตลาดสำหรับการใช้งานได้จริง โดยควรเพิ่มพื้นที่ในการให้ข้อมูล และปรับปรุงขนาดให้กะทัดรัด การประเมินด้านการลงทุนกับผลประโยชน์ของโครงการธุรกิจอุปกรณ์นวัตกรรมแนะนำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ซึ่งผลตอบแทนมาจากแบบ Tangible benefit คือ รายได้จากค่าเช่าบริการ และปริมาณนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มสูงขึ้น และผลตอบแทนแบบ Intangible benefit คือ การได้รับประโยชน์ และประสบการณ์การท่องเที่ยวที่สูงขึ้น ดังนั้นอัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-cost ratio: B/C) คือ 4.53 ทำให้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน |
Other Abstract: | This research aims to design and develop an innovative multimedia tour guide prototype for cultural heritage tourism, by using QFD (Quality Function Deployment) to assist in achieving the concept of the design of the device. Computer 3D graphic technology was adapted to create immersive virtual reality to communicate the integration of the history to present day of the heritage sites through using multi-media content. The advantage is in bringing customer value added service to the tourism industry by means of using an innovative technology product for cultural heritage tourism, to encourage an impressionable experience for the visitor's retention A customer response trial of a Prototype was carried out with 120 tourists (Thai: 40 and Foreigner: 80) on Wat Chatwattanarm. The data was analyzed based on the following, customer's initial acceptance of the product and using comparisons based on nationality and age b T-test. The test results showed a difference of opinion between foreigner and Thai with reference to; content, screen processing, sound system and overall satisfaction. It was noted that the age group of less than 19 years old had a different opinion to the age groups of 20-29 and 30-39. The 20-29 age group had an correlation with the device being in bright colors, where as the 59-59 age group preferred the device to be in black or white. Suggestions for improvements were sound system, size and control sensitivity. The general suggestion was to expand the service to another heritage site and the development for the commercial market. Based upon the results of this study, there are several benefits both tangible (increate visitors and entrant fee) and intangible (Knowledge and impression of tourist's experience), Cost and benefit analyze B/C ratio is 4.53 therefore this virtual reality technology innovation is appropriate to do investment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Daranee_ar_front_p.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch1_p.pdf | 959.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch2_p.pdf | 4.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch3_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch4_p.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch5_p.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch6_p.pdf | 944.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch7_p.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_ch8_p.pdf | 921.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Daranee_ar_back_p.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.