Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68403
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต | - |
dc.contributor.advisor | ศักดิ้ศรี แย้มนัดดา | - |
dc.contributor.author | สายวรุณ น้อยนิมิตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-07T08:20:28Z | - |
dc.date.available | 2020-10-07T08:20:28Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743337504 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68403 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าและความสำคัญของอรรถกถาชาดกในฐานะเป็นวรรณคดี คำสอนของไทย และศึกษาความสัมพันธ์กับวรรณคดีคำสอนเรื่องอื่น ผลของการศึกษาสรุปว่า คนไทยรู้จักอรรถกถาชาดกอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยทวารวดีมาแล้วและมีภาพสลักลายเส้นรวมทั้งคำอธิบายประกอบภาพชาดกในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์มีอรรถกถาชาดกที่รู้จักแพร่หลายและมีชื่อเสียงมากคือ เวสสันดรชาดกและทศชาติเรื่องอื่น ๆ อรรถกถาชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ 547 เรื่องได้แปลเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตัวบทอรรถกถาชาดกจึงเป็นคาสนนิทานที่คนไทยรู้จักมานานและเป็นวรรณคดีไทยที่ได้ต้นเรื่องจากภาษาบาลี อรรถกถาชาดกมีสาระคำสอนที่ไม่ได้มุ่งเป็นคำสอนแก่บรรพชิต แต่มุ่งสอนคนทั่วไปทุกระดับตั้งแต่ชนชั้นปกครองจนถึงทาส และมีเนื้อหาคำสอนครอบคลุมถึงการปฏิบัติตนและการปฏิบัติต่อผู้อื่น ซึ่งประกอบด้วยคำสอนที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและคำสอนปลีกย่อย คำสอนที่เป็นหลักสำคัญได้แก่ หลักในการดำเนินชีวิต การปฏิบัติตนต่อผู้อื่นการครองเรือน การปกครองและการรับราชการ สาระคำสอนเหล่านี้ตรงกับสาระในวรรณคดีคำสอนของไทย อรรถกถาชาดกยังมีลักษณะเด่นในด้านการสร้างเรื่องเพื่อสอนโดยเฉพาะการแสดงหลักธรรมที่เป็นเรื่องเปรียบเทียบหรือเป็นอุทาหรณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเป็นนิทานสาธกในวรรณคดีคำสอนเรื่องอื่น อรรถกถาชาดกจึงมีความสำคัญต่อวรรณคดีคำสอนของไทย และจัดเป็นวรรณคดีคำสอนของไทยเรื่องหนึ่ง อรรถกถาชาดกมีคุณค่าและความสำคัญต่อวรรณคดีไทยหลายด้าน ได้แก่ ด้านที่เป็นวรรณคดีคำสอน ซึ่งเป็นแหล่งรวมคำสอนที่เน้นให้ประพฤติตนเป็นคนดีและให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม อันสอดคล้องกับหลัก "กรรม" ของพุทธศาสนา คำสอนดังกล่าวได้อบรมกล่อมเกลาจริยธรรมแก่คนทุกระดับในสังคมไทยด้วยกลวิธีการสอนแบบนิทาน อรรถกถาชาดกยังมีคุณค่าในด้านที่เป็นต้นแบบของวรรณคดีชาดกที่แต่งในประเทศไทย รวมทั้งชาดกพื้นบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั้งรูปแบบและเนื้อหาการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ และยังมีความสำคัญในด้านที่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบของวรรณคดี โดยเฉพาะเนื้อเรื่อง อนุภาคต่าง ๆ และตัวละครให้แก่การสร้างสรรค์วรรณคดีไทยอีกด้วย อรรถกถาชาดกนับเป็นวรรณคดีคำสอนของไทย ที่อธิบายความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม อย่างเป็นเหตุและผล ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อความคิดและความเชื่อของคนในสังคมไทยมาตลอดจนถึงปัจจุบัน | - |
dc.description.abstractalternative | The thesis aims at studying Atthakhatha Jataka (Jatakatthakatha) as Thai didactic literature in order to see its value and significance as well as its relation to other Thai texts of didactic literature. The result of this study reveals that Atthakhatha Jataka has been widely known since the Dvaravati period. The stone engraving of the stories from Jataka with explanation is also found during the Sukhothai period. By the Ayutthaya period, it is found that the most popular jatakas are "vessantarajataka" and the other stories in “Dasajataka” (the last ten jatakas) from Atthakhatha Jataka. Their popularity continues upto the Ratanakosin period. The complete translation of Atthakhatha Jataka of the National Library version was done during the reign of King Ananda Mahidol in 1940. Then Atthakhatha Jataka is widely known among the Thais as religious stories which become Thai literature from Pali origin. The stories in Atthakhatha Jataka aim at teaching people the principles of living, of treating others, of family life, of ruling and serving the country. These principles are likewise emphasized in several Thai didactic texts. The outstanding feature of Atthakhatha Jataka is the use of various kinds of parables that teach and explain Dharma. This characteristic has a great influence on the creation of demonstrative tales in other Thai texts of didactic literature. As a Thai didactic text, Atthakhatha Jataka is most valuable as a thesaurus of didactic tales which are influential for all Thais at all time, especially the teaching at the code of behaviour in Thai society which is in accordance with the principle of “Karma” in Buddhism. Moreover, Atthakhatha Jataka is also the prototype of other jatakas originated in Thailand. Atthakhatha Jataka is also rich resource of Thai literary creation both for the stories, the characters and the main ideas. The explanation of the principle of Karma which is very prominent in the Atthakhatha Jataka has made this text one of the most important literary texts cherished by the Thais upto the present time. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ชาดก | - |
dc.subject | อรรถกถา | - |
dc.subject | วรรณคดีกับคติชนวิทยา | - |
dc.subject | วรรณคดีเปรียบเทียบ | - |
dc.subject | วรรณกรรมคำสอน | - |
dc.title | อรรถกถาชาดก : การศึกษาในฐานะวรรณคดีคำสอนของไทย และความสัมพันธ์กับวรรณคดีคำสอนเรื่องอื่น | - |
dc.title.alternative | Atthakhatha Jataka : a study as Thai didactic text and the relation to other didactic literatures | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saiwaroon_no_front_p.pdf | 938.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch1_p.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch2_p.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch3_p.pdf | 5.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch4_p.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch5_p.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch6_p.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_ch7_p.pdf | 784.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saiwaroon_no_back_p.pdf | 7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.