Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/686
Title: | การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ของเทศบาลนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547 |
Other Titles: | The politics of elections : a case study of the Chiang Mai mayoral election campaign 2004 |
Authors: | เพียงกมล มานะรัตน์, 2521- |
Advisors: | ตระกูล มีชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเลือกตั้ง--ไทย--เชียงใหม่ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง--ไทย--เชียงใหม่ นายกเทศมนตรี--การเลือกตั้ง |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษากระบวนการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กฎหมายต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่ในหลายแง่มุม เช่น วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นจากการเลือกตั้งโดยอ้อมมาเป็นการเลือกตั้งโดยตรง ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องขององค์กรที่เข้ามาดูแลควบคุมจัดการการเลือกตั้ง จากกระทรวงมหาดไทยมาเป็นคณะกรรมการเลือกตั้ง และความเปลี่ยนแปลงในด้านความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ที่มีมาตรการลงโทษอย่างจริงจัง เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า 1) การจัดตั้งองค์กรหาเสียง วิธีการ-ยุทธวิธี และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง หัวคะแนน และประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ โดยมีผลประโยชน์เป็นตัวเชื่อมทั้งสามฝ่ายเข้าด้วยกัน แต่ในอีกส่วนหนึ่งได้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครฯ หัวคะแนนและประชาชน โดยไม่ได้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ทั้งสามฝ่ายมิได้มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใดๆ ระหว่างกัน 2) กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกส่งผลให้กระบวนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกระบวนการรณรงค์หาเสียงเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ แง่ลบคือ เกิดการปรับตัวด้านกลยุทธ/วิธีการหาเสียงที่ไม่สุจริตต่างๆ ให้แยบยลซับซ้อนมากขึ้นจนกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้ ส่วนในแง่บวกคือ เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของเทศบาลที่นโยบาย ได้เข้ามามีบทบาทในการรณรงค์หาเสียง ในฐานะส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธหาเสียงด้วยวิธีการเดิมๆ |
Other Abstract: | To examine the process of campaigning in the election of the mayor of Chiang Mai Municipality on February 1, 2004, the first direct laws and regulations. This brought important changes, namely direct rather than indirect election of the mayor, the supervision of the election by the Election Commission in place of the Ministry of Interior and the strictness in the application of laws through sanctions. The study found that 1) campaign organization and strategies, as well as the relationships between the candidates, the canvassers and the majority of the electorate in the main involued interpersonal relationship of a patron-client kind, though other kinds of relationships also exhibited themselves; 2) the electoral laws beeing used for the first time made for changes in the electoral process, especially in election campaigning in both negative and positive directions. Negatively, dishonest campaigning methods became more complex such that the arm of the law failed to bring culprits to justice. Positively, campaigning involved the use of policy as an important vote - getting tool in conjunction with other long - standing methods. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/686 |
ISBN: | 9741768443 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phengkamon.pdf | 12.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.