Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68753
Title: การวิเคราะห์ภาพลักษณ์กิจการไปรษณีย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่นำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์
Other Titles: An analysis of the communications Authority of Thailand's postal images reflected in the newspapers
Authors: ชมพูนุท สรรคบุรานุรักษ์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไปรษณีย์
ภาพลักษณ์องค์การ
การวิเคราะห์เนื้อหา
Postal service
Corporate image
Content analysis (Communication)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาข่าวตัดที่ให้ภาพลักษณ์กิจการไปรษณีย์ของ กสท. ที่นำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ และเพื่อศึกษาการดำเนินงานของบุคลากร กสท. ในการเผยแพร่ ตอบโต้ ชี้แจง ต่อเนื้อหาที่ให้ภาพลักษณ์กิจการไปรษณีย์ ที่สะท้อนผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ รูปแบบการวิจัยจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวตัดในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์บุคลากรผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาพลักษณ์ โดยใช้แนวคิดเรื่องภาพลักษณ์ การกำหนดวาระ และการสร้างวาระ ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์กิจการไปรษณีย์ที่หนังสือพิมพ์นำเสนอเป็นไปในทิศทางบวกถึง ร้อยละ 57.63 ทั้งนี้ สามารถจัดลำดับการนำเสนอตามองค์ประกอบขององค์กรจากมากไปหาน้อย ซึ่งปรากฏภาพลักษณ์ในมิติต่าง ๆ ดังนี้ 1. สินค้าและบริการ ปรากฎภาพลักษณ์เชิงบวกมากกว่าลบ ในด้านของสินค้าที่มีคุณค่าได้มาตรฐาน บริการหลากหลาย สะดวกรวดเร็ว ภาพลักษณ์เชิงลบได้แก่ ความล่าช้า ความไม่ปลอดภัย 2. ตัวองค์กร พบภาพลักษณ์เชิงบวกมากกว่าลบในเรื่องการพัฒนาระบบงานให้ก้าวหน้าทันสมัย ศักยภาพของ บริการ พัฒนาการด้านธุรกิจ ภาพลักษณ์เชิงลบได้แก่ การเป็นกิจการที่ไม่ทำกำไร 3. กิจกรรม ปรากฎภาพลักษณ์เชิงบวกมากที่สุดในด้านการเป็นผู้บอกกล่าววาระสำคัญของชาติ การส่งเสริม สร้างสรรค์สังคม การให้ความรู้ การคืนกำไรแก่สังคม 4. บุคลากร พบภาพลักษณ์ในทางลบมากกว่าทางบวก คือ การสื่อสารในองค์กรมีน้อย ผู้บริหารไม่ค่อยให้ข่าว การประท้วงเรียกร้อง ภาพด้านบวกที่พบคือ บุคลากรทั้งผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ความ สามารถ พนักงานขยัน รับผิดชอบ และจงรักภักดีต่อองค์กร ภาพลักษณ์กิจการไปรษณีย์ที่สะท้อนผ่านสื่อหนังสือพิมพ์นั้นเกิดการกำหนดวาระโดยสื่อหนังสือพิมพ์มากกว่าการ สร้างวาระของ กสท. ในเรื่องการกำหนดวาระจากหนังสือพิมพ์พบว่า หนังสือพิมพ์ทั่วไปนำเสนอเนื้อหาเชิงปริมาณความถี่และเนื้อที่มากกว่าหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ในส่วนของการสร้างวาระโดยองค์กรพบว่า กสท. ได้จัดส่งข่าวแจกที่เนื้อหาแสดงจุดยืนและแนวนโยบายของกิจการ ไปรษณีย์ไปให้หนังสือพิมพ์ประมาณเดือนละ 7-8 รายเรื่อง ส่วนการตอบชี้แจงนั้นเน้นการชี้แจงกับผู้ร้องเรียนโดยตรงมากกว่าตอบชี้แจง ผ่านสื่อ ประเด็นที่เลือกตอบผ่านสื่อคือเรื่องที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กร นอกจากนี้ยังพบว่า สัมพันธภาพระหว่าง กสท. กับหนังสือพิมพ์ มีผลต่อปริมาณความถี่และเนื้อที่ในการตีพิมพ์ข่าวที่เกี่ยวกับ กสท.
Other Abstract: The objectives of the research are to find the postal images of The Communications Authority of Thailand (CAT) reflected in newspapers and to study the procedure of image-building publicity and image-restoring clarification to complaints appeared in image-reflected news content. The research methodologies concerned are the content analysis of press clippings in criteria of quantity (space and frequency) and quality (content and direction) and the interview with CAT staff involved in image projection, framing the concept of image, agenda setting and agenda building. The result proves that the postal image of CAT reflected in newspaper appears to be positive up to 57.63%. However, the dimension of the image diverges when studying organizational compositions separately as shown here according to the quality of content from high to low. 1. Product and Service carries positive image as product of standard and fast and convenient [diverse] services whereas delay and liability to damage bring about the negative image. 2. Organization tends to have positive image in respect of modern working scheme development, service potentiality and development in business aspect. The reverse image, caused by being the unprofitable public enterprise. 3. Activity holds the most positive image with regard to being the announcer of national occasions and knowledge provider as well as taking part in social enhancement and contribution. 4. Human Resource is found to have negative image concerning protest and the administrative personnel being unlikely to volunteer information. Nevertheless, the positive point of view is dawn from qualified staff with the operational personnel being hard working, responsible and loyal to organization. The postal image reflected by newspapers tends to occur from agenda setting of newspapers rather than agenda building of CAT. Moreover, comparing between 2 types of newspapers, image-reflected in general newspaper appears higher in quantity than that in business newspaper. As regards agenda building, CAT sends press releases concerning its standpoint and policy to newspapers 7-8 articles a month. Most complaints, however are directly replied to persons who launch them. Only issues that give rise to strong negative impact on organization are likely to be responded through newspaper. The study finds that the relationship between CAT and newspapers have an influence on frequency and space of CAT’s news printed in newspaper.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68753
ISBN: 9746397931
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chomphoonut_sa_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ916.61 kBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch1_p.pdfบทที่ 11.4 MBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.33 MBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch3_p.pdfบทที่ 3986.58 kBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.04 MBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch5_p.pdfบทที่ 52.92 MBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_ch6_p.pdfบทที่ 6941.14 kBAdobe PDFView/Open
Chomphoonut_sa_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.