Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์-
dc.contributor.authorณัฐพล สุขเกษม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-27T09:02:20Z-
dc.date.available2020-10-27T09:02:20Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68781-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractในงานนี้ สมบัติเชิงกลและเสถียรภาพทางความร้อนของพลาสติไซส์พอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) ได้ถูกปรับปรุงด้วยการเติมนาโนซิลิกา พอลิเมทิลเมทาคริเลตที่มีอนุภาคระดับนาโนเมตร และนาโนซิลิกาห่อหุ้มด้วยพอลิเมทิลเมทาคริเลต โดยพอลิเมทิลเมทาคริเลตที่มีอนุภาคระดับนาโน- เมตร และนาโนซิลิกาห่อหุ้มด้วยพอลิเมทิลเมทาคริเลตถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการเกิดพอลิ-เมอร์แบบดิฟเฟอเรนเชียลไมโครอิมัลชันที่ใช้อะโซบิสบิวทิโรไนไทรล์และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตเป็นสารเริ่มปฏิกิริยาและสารลดแรงตึงผิว ตามลำดับ พลาสติไซส์พีวีซีที่ประกอบด้วยพีวีซีเรซินทางการค้า (100 ส่วน) พลาสติไซเซอร์ (40 ส่วน) สารเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อน (2 ส่วน) และสารหล่อลื่น (0.2 ส่วน) ถูกนำมาผสมแบบหลอมเหลวกับนาโนฟิลเลอร์แต่ละประเภทที่ปริมาณต่างๆ (3, 5, 7 และ 9 ส่วน) ด้วยเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง ตามด้วยการอัดแบบให้เป็นแผ่นหนา 3 มิลลิเมตร ชิ้นทดสอบที่เตรียมได้ถูกนำไปทดสอบสมบัติเชิงกล (ความทนแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด ยังส์มอดุลัส และความทนแรงฉีกขาด) เสถียรภาพทางความร้อน และสัณฐานวิทยาด้วยเครื่องทดสอบยูนิเวอร์แซล เครื่องวิเคราะห์น้ำหนักภายใต้ความร้อน (ทีจีเอ) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความทนแรงดึงของพลาสติไซส์พอลิไวนิลคลอไรด์นาโนคอมพอสิตที่เตรียมได้ถูกปรับปรุงโดยการเติมพอลิเมทิลเมทาคริเลตที่มีอนุภาคระดับนาโนเมตรในปริมาณ 7 และ 9 ส่วน ในขณะที่ ยังส์มอดุลัส ความทนแรงฉีกขาด และเสถียรภาพทางความร้อนได้รับการปรับปรุงเมื่อเติมนาโนฟิลเลอร์ทุกประเภท โดยขึ้นกับปริมาณนาโนฟิลเลอร์ที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตาม การยืดตัว ณ จุดขาดมีค่าลดลงเมื่อเติมนาโนฟิลเลอร์ทุกประเภทเข้าไปในนาโนคอมพอสิต นอกจากนี้ ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นผิวของนาโนคอมพอสิตที่มีความหยาบ ซึ่งเป็นลักษณะของชิ้นทดสอบที่มีความอ่อนเหนียวen_US
dc.description.abstractalternativeIn this study, mechanical properties and thermal stability of plasticized poly(vinyl chloride) (PVC) were improved by the incorporation of nanosilica (nSiO₂), nanosized poly(methyl methacrylate) (nPMMA) and PMMA-encapsulated nSiO₂ (PMMA-nSiO₂). The nPMMA and PMMA-nSiO₂ were synthesized by differential microemulsion polymerization using azobisisobutyronitrile and sodium dodecyl sulfate as initiator and surfactant, respectively. Plasticized PVC, composed of commercial PVC resin (100 parts), plasticizer (40 parts), heat stabilizer (2 parts) and lubricant (0.2 parts) was melt mixed with varied loadings (3, 5, 7 and 9 parts) of each nanofiller on a two-roll mill, followed by compression molding into 3-mm sheet. The prepared specimens were examined for their mechanical properties (tensile strength, elongation at break, Young's modulus and tear strength), thermal stability and morphology using universal testing machine, thermogravimetric analyzer (TGA) and scanning electron microscope (SEM), respectively. The results showed that the tensile strength of the prepared plasticized PVC nanocomposites was improved by the addition of nanosized PMMA at 7 and 9 phr, whilst the Young's modulus, tear strength and thermal stability were improved by all nanofillers in a dose dependent manner. However, the elongation at break of the nanocomposites was deteriorated by the addition of nanofillers into the nanocomposites. Moreover, SEM images of all the nanocomposites illustrated rough surfaces, caused by the ductile characteristic of the specimens.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซิลิกาen_US
dc.subjectSilicaen_US
dc.titleการปรับปรุงสมบัติของพลาสติไซส์พอลิไวนิลคลอไรด์ด้วยอนุภาคระดับนาโนเมตรของพอลิเมทิลเมทาคริเลตและซิลิกาen_US
dc.title.alternativeProperty improvement of plasticized poly(viny chloride) by poly(methyl methacrylate) and silica nanoparticlesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5272700023.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.