Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68806
Title: Properties of rice flour and effects of sucrose and coconut milk on properties of rice flour
Other Titles: สมบัติของแป้งข้าวเจ้า และผลของน้ำตาลซูโครส และกะทิต่อสมบัติของแป้งข้าวเจ้า
Authors: Duangrutai Thumrongchote
Email: No information provinded
Advisors: Kanoktip Packdibamrung
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: Rice flour
Sucrose
แป้งข้าวเจ้า
น้ำตาลซูโครส
กะทิ
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research consists of three parts. The first part aimed to investigate the physicochemical (chemical composition, amylose content, % damaged starch, flour particle size, and % crystallinity), functional (water absorption index, water solubility index, and swelling power), thermal, pasting and gel textural properties of flours from 6 varieties of non-waxy Thai rice, i.e. Pathum Thani 1 (P1), Hawm Suphan Buri (HS), Suphan Buri 1 (S1), Suphan Buri 2 (S2), Suphan Buri 3 (S3), and Suphan Buri 60 (S60). Second part aimed to study the effects of sugar and coconut milk on thermal, pasting, gel textural properties, and retrogradation of P1 flour. Third part involved the study of the effect of sucrose (0-20%, w/w) on the gelatinization of rice flour treated under the high hydrostatic pressure (HHP). The results showed that flours from 6 varieties had different properties, i.e. amylose content 18.64-34.19%, damaged starch 2.52-6.38%, onset temperature (Tonset) 70.48-77.72°C, % crystallinity 23.14-31.30, and hardness 24.87-61.15 gf. Based on these properties the flour samples could be divided into 2 groups: flours from P1, HS, S2, and S60 having amylose content of 18-22% had Tonset 70°C, % retrogradation 32-40, and low final viscosity and setback; second group was flours from S1 and S3 having amylose content of 28-33% had Tonset 77°C, % retrogradation 55-59, and high final viscosity and setback. In the second part it was found that adding sucrose increased thermal properties (Tonset, Tpeak, Tend) of flour suspensions in both water and coconut milk systems. From pasting measurement it showed that sucrose and coconut milk increased setback from 893 cP (flour in water system) to 1796 cP and 1359 cP (flours with 50% sucrose in coconut milk and in water). After storage the gels at 4°C for 30 days, it was found that coconut milk retarded retrogradation while sucrose accelerated the process. The rate constants (k) of rice gel in coconut milk and gel in water with 50% sucrose were 0.308 and 0.419 day-1 which were different from k of flour in water (0.355 day-1). The SEM micrographs of the gels stored at 4°C for 15 days showed that there was noticeable difference between the surfaces of the gels in water and coconut milk. Lastly, HHP at 600 MPa and 40°C for 30 minutes could gelatinize 20% (w/w) flour suspensions completely. Addition of sucrose would retard the gelatinization process. From the polarized light micrographs it showed that HHP gelatinized the flour without destroying starch structure.
Other Abstract: งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพ (ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี ปริมาณอะมิโลส ร้อยละการเสียหายของแป้ง ขนาดของเม็ดแป้ง และร้อยละของโครงสร้างผลึกในแป้ง) สมบัติเชิงหน้าที่ (ได้แก่ ดัชนีการดูดซับน้ำ ดัชนีการละลายน้ำ และกำลังการพองตัวของแป้ง) สมบัติทางความร้อน สมบัติทางด้านเพส และลักษณะเนื้อสัมผัสของ เจลของแป้งจากข้าวเจ้าไทย 6 พันธุ์ คือ ปทุมธานี 1 (P1) ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี(HS) สุพรรณบุรี 1 (S1) สุพรรณบุรี2 (S2) สุพรรณบุรี3 (S3) และสุพรรณบุรี 60 (S60) ส่วนที่สองศึกษาผลของการเติมน้ำตาลซูโครสและกะทิต่อสมบัติทางความร้อน สมบัติทางด้านเพส ลักษณะเนื้อสัมผัสของเจล และการเกิดรีโทรเกรเดชันของแป้งข้าวเจ้า P1 และส่วนที่สามศึกษาผลของน้ำตาลซูโครส (0-20%, w/w) ต่อการเกิดการเจลาติไนเซชันของแป้งข้าวโดยใช้ความดันสูง (High hydrostatic pressure, HHP) ผลการศึกษาพบว่า แป้งจากข้าวเจ้าทั้ง 6 พันธุ์ มีสมบัติแตกต่างกัน คือ มีปริมาณอะมิโลส 18.64 - 34.19% ปริมาณ damaged starch 2.52 - 6.38% อุณหภูมิเริ่มต้นในการสุกของแป้ง (Tonset) 70.48 - 77.72 องศาเซลเซียส มีร้อยละของโครงสร้างผลึก (%crystallinity) อยู่ในช่วง 23.14 - 31.30 และมีค่าความแข็งของ เจลแป้ง 24.87 - 61.15 กรัมแรง จากสมบัติที่ศึกษาสามารถแบ่งแป้งข้าวเจ้าทั้ง 6 พันธุ์ ได้เป็น 2 กลุ่ม ตามปริมาณอะมิโลส สมบัติทางความร้อน และสมบัติทางด้านเพส คือกลุ่มที่มีปริมาณอะมิโลส 18-22% ได้แก่แป้งข้าว P1, HS, S2, S60 ซึ่งมี Tonset ประมาณ 70 °C, % รีโทรเกรเดชัน 32 – 40 และมีค่าความหนืดสุดท้าย และค่าคืนตัวของแป้งสุก (setback) ต่ำ และกลุ่มที่มีปริมาณอะมิโลส 28-33% ได้แก่ แป้งข้าว S1 และ S3 ซึ่งมี Tonset ประมาณ 77 °C,% รีโทรเกรเดชัน 55 – 59 และมีค่าความหนืดสุดท้ายและการคืนตัวของแป้งสุกสูง ในขั้นที่สองพบว่าการเติมน้ำตาลทำให้สมบัติทางความร้อนของแป้งที่วัดด้วยเครื่อง DSC (Tonset, Tpeak, Tend) เพิ่มขึ้นทั้งในระบบของแป้งในน้ำ และระบบของแป้งในกะทิ สำหรับสมบัติทางด้านเพสของแป้งที่วัดด้วย RVA พบว่าน้ำตาลและกะทิมีผลต่อค่าการคืนตัวของแป้งสุก โดยในระบบกะทิ และในระบบน้ำที่เติมน้ำตาล 50% มีค่าการคืนตัวของแป้งสุกเท่ากับ 1796 cP และ 1359 cP ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าการคืนตัวของแป้งสุกในระบบน้ำ (893 Cp) จากการเก็บเจลแป้งสุกที่ 4°C นาน 30 วัน และใช้โมเดล Avrami ในการศึกษาการเกิดรีโทรเกรเดชันของเจลแป้งข้าว พบว่ากะทิชะลอการเกิดรีโทรเกรเดชันของเจลแป้งข้าว ในขณะที่น้ำตาลซูโครสเร่งกระบวนการเกิดรีโทรเกรเดชัน โดยมีอัตราค่าคงที่ (k) ของเจลแป้งข้าวในกะทิที่ไม่เติมน้ำตาลเท่ากับ 0.308 วัน-1 ในขณะที่เจลแป้งข้าวในน้ำที่เติมน้ำตาล 50% (w/w ของน้ำหนักแป้ง) มีค่าเท่ากับ 0.419 วัน-1 ซึ่งต่างจาก ค่า k ของเจลแป้งข้าวในน้ำที่มีค่า เท่ากับ 0.355 วัน-1 และจากการเก็บเจลแป้งข้าวไว้นาน 15 วัน ที่ 40°C และตรวจสอบลักษณะโครงสร้างพื้นผิวของเจลแป้งข้าวโดยใช้ SEM พบว่าลักษณะพื้นผิวของเจลแป้งในระบบกะทิแตกต่างจากเจลแป้งในระบบน้ำ ในส่วนที่สามพบว่า น้ำแป้งความเข้มข้น 20%(w/w) สามารถเกิดการสุกที่สมบูรณ์ เมื่อผ่านกระบวนการ HHP ที่ความดัน 600 MPa อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที การเติมน้ำตาลสามารถชะลอการสุกของแป้ง และจากภาพถ่ายโดยกล้องบิดระนาบแสง (polarized light microscope) พบว่ากระบวนการ HHP ทำให้แป้งข้าวเจ้าเกิดการสุกโดยไม่ทำลายโครงสร้างของเม็ดแป้ง
Description: Thesis (Ph.D)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Food Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68806
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4873882023_2010.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.