Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68863
Title: | ความแปรปรวนที่ได้จากการชักนำด้วยสารเอทิลมีเทนซัลโฟเนต และจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคำฝอย Carthamus tinctorius Linn |
Other Titles: | Ethylmethanesulphonate induced variation and somaclonal variation of safflower carthamus Linn. tissue culture |
Authors: | ปวีณา นวมเจริญ |
Advisors: | นลิน นิลอุบล ชลิดา เล็กสมบูรณ์ อมร เพชรสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | คำฝอย (พืช) การกลายพันธุ์ เอทิลมีเทนซัลโฟเนต |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมของการใช้สาร EMS (Ethylmethanesulphonate) เพื่อชักนำให้คำฝอย Carthamus tinctorius Linn.) เกิดการกลายพันธุ์ในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ การใช้สาร EMS ความเข้มข้น 0.8% ซึ่งเตรียมในอาหารเหลวสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโต ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.7 ร่วมกับสารตัวพา คือ DMSO (Dimethylsulfoxide) ความเข้มข้น 4.0% เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ในการศึกษา ความแปรปรวนของคำฝอยที่ผ่านการชักนำด้วยสาร EMS ในช่วงความเข้มข้น 0.2-1.0% พบว่า ยอดคำฝอยที่พัฒนามา จากแคลลัสของใบเลี้ยงที่ผ่านการชักนำด้วยสาร EMS มีความแปรปรวนของลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างไปจากต้นปกติเป็นปริมาณมากกว่ายอดที่ไม่ได้ผ่านการชักนำด้วยสาร EMS โดยมีความแปรปรวนของลักษณะการยืดยาวของ ลำต้น การอวบน้ำของใบ รูปร่างใบ และความยาวหนามที่ใบ จากการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความแปรปรวนทาง พันธุกรรมในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนพืช อายุของชิ้นส่วนพืช สูตรอาหาร สารควบคุมการเจริญเติบโต และแหล่งคาร์บอน มีผลต่อการชักนำให้เกิดความแปรปรวนของลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยมีรูปแบบความแปรปรวนคล้ายคลึงกัน การศึกษาความแปรปรวนของการผลิตน้ำมันและกรดไขมันในแคลลัสคำฝอยที่ผ่านการซักนำด้วยสาร EMS และแคลลัสที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟี พบว่า แคลลัสของใบเลี้ยงที่ได้รับสาร EMS มีปริมาณน้ำมันสูงกว่าแคลลัสของใบเลี้ยงที่ไม่ได้รับสาร EMS และไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของกรดไขมัน หลัก คือ กรดปาล์มีติก (C16:0), กรดสเตียริก (C18:0), กรดโอเลอิก (C18:1) และกรดไลโนเลอิก (C18:2) ซึ่งการให้สาร EMS มีผลทำให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ กรดโอเลอิก (C18:1) และกรดไลโนเลอิก (C18:2) มีปริมาณสูงขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัว คอ กรดปาล์มีติก (C16:0) และ กรดสเตียริก (C18:0) มีปริมาณลดลง ในการศึกษาอิทธิพลของอายุชิ้นส่วนพืช อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สารควบคุมการเจริญเติบโต และแหล่งคาร์บอน พบว่า ปัจจัยเหล่านี้สามารถชักนำ ให้เกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำมันและกรดไขมันในแคลลัสได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของกรดไขมันหลัก กล่าวคือ กรดไขมันส่วนใหญ่จะมีปริมาณสูงที่สุดเมื่อใช้ใบเลี้ยงอายุ 1 สัปดาห์ เพาะเลี้ยงด้วยอาหารแข็งสูตร MS โดย เสริมอาหารด้วย IBA ร่วมกับ BA และเสริมซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอนในอาหาร |
Other Abstract: | Conditions for EMS (Ethylmethanesulphonate) induced mutation of safflower (Carthamus tinctorius Linn.) tissue were optimized. The optimal condition was treating cotyledons for 3 hours in hormone-free MS liquid medium containing 0.8% EMS and 4.0% DMSO (Dimethylsulfoxide), pH 5.7. The morphological variations of regenerated shoots from calli of cotyledons treated with 0.2-1.0% EMS were higher than those of the untreated one. The variations included the length of internodes, the succulent of leaves, leaf-shape and the length of leaf-spine. Somaclonal variations of morphological characteristics were affected by the sources and ages of explants, culture media, growth regulators and carbon sources. Total lipid content and fatty acid compositions of the EMS-treated and untreated calli were analyzed by gas chromatography. The total lipid content of the EMS-treated calli was higher than that of untreated one although their major fatty acid compositions were similar. The major fatty acids were palmitic acid (C16:0), stearic acid (C18:0), oleic acid (C18:1) and linoleic acid (C18:2). In the EMS-treated cell, the content of unsaturated fatty acids (C18:1 and C18:2) was increased while that of the saturated fatty acids (C16:0 and C18:0) was decreased. Furthermore, it was observed that the age of explants, culture media, growth regulators and carbon sources affected the contents of both total lipid and major fatty acids with no effected on fatty acid compositions. The highest of major fatty acids were found with 1-week old cotyledon cultivated on solid MS medium containing sucrose as a carbon source and supplement with IBA and BA. |
Description: | วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68863 |
ISBN: | 9743322353 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paweena_nu_front_p.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paweena_nu_ch1_p.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paweena_nu_ch2_p.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paweena_nu_ch3_p.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paweena_nu_ch4_p.pdf | 937.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paweena_nu_back_p.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.