Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68919
Title: | การวิเคราะห์ความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปัญหาเอดส์ ของจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | The analysis of economic loss of HIV/AIDS in Phayao |
Authors: | รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ |
Advisors: | ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ พุทธกาล รัชธร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | โรคเอดส์ ต้นทุนและประสิทธิผล ความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและขนาดของความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่อง มาจากปัญหาเอดส์ของจังหวัดพะเยาทั้งที่สามารถประเมินค่าได้และไม่สามารถประเมินค่าได้ วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย บริการของโรงพยาบาลพะเยา และวิเคราะห์หาสัดส่วนของความสูญเสียจากปัญหาเอดส์ต่อผลผลิตมวลรวมของจังหวัด พะเยา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในปี พ.ศ. 2541 การวิเคราะห์ความสูญเสียที่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ ทำการวิเคราะห์โดยใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุน ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนทางตรงหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และต้นทุนทางอ้อมหรือต้นทุนที่มองไม่เห็น ต้นทุนทางตรงจะประกอบด้วย ต้นทุนของระบบซึ่งเป็นต้นทุนที่สังคมต้องเสียเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ และต้นทุนในการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ทั้งการรักษาโดยเป็นผู้ป่วยในและการรักษาโดยเป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งต้นทุนในการรักษาพยาบาล จะประกอบด้วย ต้นทุนที่โรงพยาบาลพะเยาเป็นผู้รับภาระหรือต้นทุนภายใน และต้นทุนที่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัวเป็น ผู้รับภาระหรือต้นทุนภายนอก ต้นทุนทางอ้อมคือ รายได้ในอนาคตที่ถูญเสียไปจากการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรของ ผู้ป่วยเอดส์ ส่วนการวิเคราะห์ความสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 2 ส่วนคือ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเอดส์และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในชุมชน และการรวบรวมแนวคิดจากงานวิจัยต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าความสูญเสียที่สามารถประเมินค่าได้เฉพาะที่เกิดขึ้นจริงในกรณีที่อาคารมีอายุการใช้งาน 35 ปีมีค่าเท่ากับ 1,071,384,833 บาท คิดเป็น 5.88% ของผลผลิตรวมของจังหวัด โดย 97% เป็นต้นทุนในการรักษา และถ้ารวมต้นทุนทางอ้อมหรือต้นทุนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงจะได้ความสูญเสียที่สามารถประเมินค่าได้มีเท่ากับ 1,644,426,814 บาท คิดเป็น 9.02 % ของผลผลิตรวมของจังหวัด นอกจากนั้นต้นทุนต่อรายต่อวันนอนของผู้ป่วยในมีค่า เท่ากับ 685.74 บาท และต้นทุนต่อรายของผู้ป่วยนอกเท่ากับ 239.37 บาท จากการศึกษาพบว่าความสูญเสียส่วนใหญ่เป็นความสูญเสียที่ไม่สามารถควบคุมขนาดของความสูญเสีย ได้ยกเว้นต้นทุนของระบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ซึ่งมีสัดส่วนต่อต้นทุนรวมค่อนข้างต่ำ หากมีการเพิ่ม ประสิทธิภาพและทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จะทำให้สามารถป้องกันประชากรส่วน หนึ่งไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ได้ซึ่งจะทำให้องค์ประกอบอื่นซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของความสูญเสียลดลงไปด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการวิเคราะห์ความสูญเสียที่สามารถประเมินค่าได้และความสูญเสียที่ไม่สามารถประเมินค่าได้พบว่าโรคเอดส์ ได้สร้างความสูญเสียทั้งต่อผู้ติดเชื้อ, ครอบครัว, ชุมชน, หน่วยธุรกิจ, ผู้บริโภค, รัฐบาล และสังคม |
Other Abstract: | The objective of this study is to analyze the components and degree of economic loss due to HIV/AIDS in Phayao province and to analyze the unit cost of Phayao hospital and the proportion of economic loss of HIV/AIDS in relation to Gross Provincial Product, descriptive study was made as a quantitative analysis in 1998. Predictable loss value was done by cost analysis which consisted of direct cost (actual cost) and indirect cost (invisible cost). The direct cost includes the system cost and health care cost (inpatient and outpatient). The health care cost consisted of internal cost (cost spent by the hospital) and external cost which spent by AIDS patients and their families. Indirect cost is the income of the AIDS patient lost prior to death. Unpredictable loss was analyzed from data AIDS patient interviews and from government service people in the community and data collected from a variety past research work. The result was that predictable loss with actual value in case of building has been used for the past 35 years was estimated at 1,071,384,833 baht or 5.88% of GPP, 97% of loss was health care cost. If indirect cost was considered, the estimated loss was 1,644,426,814 baht or 9.02% of GPP. The loss estimation of predictable value made unit cost of each inpatient 685.74 baht per day and the unit cost of each outpatient 239.37 baht. The study found that the majority of predictable loss cannot be controlled with the exception of system cost which represents the minority. If the efficacy of resource for HIV/AIDS prevention and control is increased, it will prevent part of population from being infected by HIV/AIDS and majority component of loss will also be decreased. In addition the analysis of predictable and non-predictable loss value, it was determined there was a loss for infected patients 1their families, communities, business firms, consumers, government and society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68919 |
ISBN: | 9743325859 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rugphong_vo_front_p.pdf | 992.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_ch1_p.pdf | 988.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_ch2_p.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_ch3_p.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_ch4_p.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_ch5_p.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rugphong_vo_back_p.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.