Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69047
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี |
Other Titles: | Factors related to regularity of follow up among diabetic patients in community hospital, Kanchanaburi province |
Authors: | อนันต์ สอนพวง |
Advisors: | พรณรงค์ โชติวรรณ ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ผู้ป่วยเบาหวาน |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการมารับการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้จำนวนตัวอย่าง 518 ราย จากโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง และ จากการแจงนับข้อมูลจากทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2541 - มกราคม 2542 ข้อมูลที่ ได้นำมาวิเคราะห์หาร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi - square test, Pearson Correlation Coefficient และเปรียบเทียบความแตกต่างโดย Unpaired t – test ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานมารับการรักษาสม่ำเสมอร้อยละ 69.9 เหตุผลของการขาดการรักษาคือ ติดธุระและลืมวันนัด ร้อยละ 45.9 และ 13.6 ตามลำดับโดยขาดการรักษาเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.4 มีอายุเฉลี่ย 57.83 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมร้อยละ 72.6 และไม่ได้ทำงาน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,011.9 บาท เขตที่อยู่อาศัยห่างจากโรงพยาบาล ระยะทางเฉลี่ย 12.6 กม. และอาศัยอยู่กับครอบครัว มีระยะเวลาการป่วยเป็นโรคและรับการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน เฉลี่ย 5.54 ปี การควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ไม่ดีร้อยละ 53.6 มีการเปลี่ยนขนาดยาร้อยละ 84.9 อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาล ร้อยละ 90 การนัดมารักษาทุก 4 สัปดาห์เป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 78.8 ผู้ป่วย ได้รับบริการสุขศึกษารายกลุ่มร้อยละ 55.3 เมื่อขาดการรักษาไม่มีการติดตามร้อยละ 43.6 ไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องร้อยละ 86.2 สันพันธภาพที่ดีจากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 90.9 และมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความเชื่อด้านสุขภาพ การดูแลตนเองและความพึงพอใจต่อการบริการอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับการรักษา สม่ำเสมออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.05 ) ได้แก่ อาชีพ, รายได้, ระยะทางเขตที่อยู่อาศัย, การมีผู้ดูแล, ระยะ เวลาการเป็นโรค, ระยะเวลารักษาแผนปัจจุบัน, จำนวนชนิดยา, การได้รับบริการสุขศึกษา และ ความพึงพอใจการ บริการผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าควรจัดระบบบริการในคลินิกเบาหวานให้ครอบคลุมทุกด้านและเหมาะสม กับผู้ป่วยในชุมชนเพื่อให้เกิดการติดตามได้อย่างต่อเนื่อง |
Other Abstract: | The purposes of this study were to examine factors related to regularity follow up among diabetic patients in community hospitals Karnchanaburi province . Cross- sectional descriptive study were carried on 518 diabetic patients who visited 4 diabetic clinics by simple random sampling. The study was conducted during October 1998 - January 1999 by interview questionnaires. Data were analyzed by percentage, Means, Medain, SD, Chi-square test, Pearson Correlation Coefficient and Unpaired t - test. The result of the study show that regularity of follow up rate was 69.9 %. Cause of lost to follow up was busily cause 45.9% and forgetfulness 13.6%. Most diabetic patient were female 79.4%, mean age was 57.83 years and low education. Mean of their income per month was 5,011.9 bath. Patient’s location far away from hospital mean was 12.6 km and stayed with their family. Duration of illness and treatment mean was 5.54 years. Most patient had poor diabetic control 53.6 % and dose of drug were change 84.9 %. They had financial 90 %. Most frequency of appointment were every 4 week 78.8 % and health education were take by group 55.3 %. Lost of follow up group were not follow 43.6 % and no refer to continue monitoring 86.2 %. The score of knowledge, health belief, diabetic self- care were middle level group. Significant differences were found for occupation, income, patient’s area of residence, family’s support, duration of illness and treatment, amount of drug, health education and service’s satisfaction . These finding indicate that diabetic clinic and referal system should be appropriately managed for patients in community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69047 |
ISBN: | 9743320504 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anun_so_front_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_ch1_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_ch2_p.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_ch3_p.pdf | 923.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_ch4_p.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_ch5_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anun_so_back_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.