Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69155
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ | - |
dc.contributor.author | สมเกียรติ ลิ้มเทียมเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-06T03:04:38Z | - |
dc.date.available | 2020-11-06T03:04:38Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743314636 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69155 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงบทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย โดยได้ศึกษาถึงกระบวนการในการ นำเสนอ การพิจารณา และอนุมัติกฎหมาย ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตรากฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 19 มีนาคม 2526 โดยเริ่มตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2526 ซึ่งเป็นวันที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการตรากฎหมายของรัฐสภาไทยในระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 19 มีนาคม 2526 ขึ้นอยู่กับบริบททางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในขณะนั้น โดยบริบททางด้านการเมืองและสังคมมี อิทธิพลสูงในช่วงระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 และบริบททางด้านการเมืองมีอิทธิพลสูงมากภายหลัง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งในปี 2522 จึงมีอิทธิพลลดน้อยลงในขณะที่บริบททางด้าน เศรษฐกิจเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นหลังจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยอีกหลายประการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตรากฎหมายในช่วงเวลาดังกล่าว โดยกลุ่มข้าราชการ เทคโนแครต (Technocrat) ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชำนาญการ มีบทบาทมากต่อสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และวุฒิสภา ในขณะที่พรรคการเมือง สมาชิกสภาและกลุ่มผลประโยชน์ จะมีบทบาทต่อสภาผู้แทนราษฎร สำหรับรัฐต่างประเทศและองค์กร ระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทในช่วงที่มีการผู้ยืมเงินมาใช้ในการบริหารประเทศ โครงสร้างอำนาจทางการมืองและกระบวนการในการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติมีความผันผวนไปตาม บริบททางด้านการเมือง โดยหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 กระบวนการตัดสินใจของ สมาชิกสภามีความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการออกกฎหมายเพื่อภารพัฒนาสังคมมากขึ้น แต่ทหารก็ได้ใช้กำลังเข้า ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง และกำหนดกลไกในการตรากฎหมายให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจครอบงำรัฐสภา ทำให้ในช่วงภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กฎหมายที่ตราออกมาจึงมีลักษณะที่เป็นการขยายฐานอำนาจของทางราชการ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติราชการและสนองนโยบายของรัฐบาลมากกว่าจะออกมาเพื่อแก้ปัญหาความเดือนร้อนของลังคม ซึ่งถึงแม้ว่าฝ่ายทหารจะยินยอมให้มีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งในเวลาต่อมา แต่ก็ยังคงอำนาจ ของตนเองไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 โดยใช้วุฒิสภาคานอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร ในการออกกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายที่ตราออกมามีเนื้อหาและวัตถุประสงค์เป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารต้องการ การศึกษานี้ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมและบทบาทของรัฐสภาในการออกกฎหมายในอดีตซึ่งสามารถนำข้อบกพร่องมาแก้ไขและปรับปรุงใช้กับรัฐสภาในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis puts a focus on the role of Thai Parliament in Legislative process. A study has been completed. From the process of introduction, consideration and all other factor which have influence on law legislation during October 14, 1973 to March 19, 1983 commencing from tragic October 14, 1973 until March 19, 1983 when General Prem Tinasulanont decided to dissolve the House of Representative. It is found out that law legislative during such period depends on political, economic and social setting of that time. Social and political settings have high influence during October 14,1973 until October 6, 1976 whereas Political setting gets higher influence after the event of October 6, 1976 and declines after the election in 1979. Economic influence increases after General Prem Tinasulanont take office. A port from this, there are many other factors influencing the legislation during this period. Government officials, technocrats, specialists and experts have more roles เท the Senate. While political parties, members of Parliament and those who gain benefits have influence on House of Representatives. Foreign Countries and International Organizations take a port when loan is done. The structure of political power and legislative decision fluctuate according to the politic setting. After political change in October 1973 decision of members of Parliament becomes more independent. This leads to more social development law. However, Militaries attack administration by coup d'etat and back up administration to overpower the Parliament. This leads to more law providing administration with more power over the Parliament. As a result, after October 6, 1976 this can be seem that law issued to provide Convenience in governmental process and its strategy rather than to solve problems of the society. Although Militaries encourage the Constitutional legislation and the election of members of House of Representative, they still hold their power in the provisional part of the 1978 Constitution. Having members of senate balance power of members of the House of Representative in legislation. This study gives a bread scope of Parliament’s behavior and its role in legislation in the past. Understanding its defaults with bring a bout on proper alteration in Parliament and make it real Representative of people. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2516-2526 | en_US |
dc.subject | นิติบัญญัติ -- ไทย | en_US |
dc.subject | สภานิติบัญญัติ -- ไทย | en_US |
dc.subject | รัฐสภา -- ไทย | en_US |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ -- ไทย | en_US |
dc.subject | Legislation -- Thailand | en_US |
dc.subject | Legislative councils -- Thailand | en_US |
dc.subject | Legislative bodies -- Thailand | en_US |
dc.subject | Constitutions -- Thailand | en_US |
dc.title | บทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย : ศึกษากระบวนการนิติบัญญัติไทยในระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 19 มีนาคม 2526 | en_US |
dc.title.alternative | The role of Thai parliament in the making of law : a study of legislative process from October 1973, 14 to March 1983, 19 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somkiat_li_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 996.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 892.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_li_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.