Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69162
Title: การหาขนาดยาวาร์ฟารินที่เหมาะสมในผู้ป่วยนอกหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ที่โรงพยาบาลราชวิถี
Other Titles: Optimal maintenance dose of warfarin therapy in outpatients with mechanical prosthetic heart valve replacement at Rajvithi Hospital
Authors: สุอาภา พลอยเลื่อมแสง
Advisors: เรวดี ธรรมอุปกรณ์
สันต์ ใจยอดศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: วาร์ฟาริน
การใช้ยา
ลิ้นหัวใจเทียม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาผู้ป่วยนอกที'ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมจากสถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งได้รับยาวาร์ฟาริน และมารับการติดตามการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก สถาบันโรคหัวใจโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 106 ราย สามารถติดตามผู้ป่วยจนได้ข้อมูลครบ 95 ราย (n = 95) พบผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 37.6 ปี เป็นชาย 46 ราย และหญิง 49 ราย การควบคุมขนาดยาวาร์ฟารินใช้ค่า INR เป็นเกณฑ์ในช่วง 2.0-3.0 จากการติดตามทั้งลิ้น 28.4 สัปดาห์ต่อราย มีการวัดค่า INR 699 ครั้ง พบค่า INR ที่ต่ำกว่า 2.0 ร้อยละ 29.8 และร้อยละ 4.9 มีค่า INR สูงกว่า 3.0 ค่า INR ของผู้ป่วยเมื่อคงที่แล้วมีค่าเฉลี่ยเป็น 2.30 ± 0.19 ภาวะแทรกซ้อนมีเลือดออกผิดปกติชนิดไม่รุนแรงเกิด 8 ครั้ง ในผู้ป่วย 8 ราย และเกิดภาวะแทรกซ้อนมีลิjมเลือดอุดตันในเส้นเลือด 1 ครั้งในผู้ป่วย 1 ราย ขนาดยาเฉลี่ยที่ใช้คงฤทธิ์ยาวาร์ฟารินคือ 3.34 ± 0.94 มีลลิกรัมต่อวัน โดยผู้ป่วย ร้อยละ 80 มีความต้องการขนาดยา 2.5-3.75 มีลลิกรัมต่อวัน เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งของขนาดยาวาร์ฟารินแต่ละขนาดที่ทำให้ค่า INR ต่ำกว่า 2.0 พบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นขนาดที่ต่ำกว่า 2.5 มีลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ขนาดยา ที่ทำให้ค่า INR สูงกว่า 3.0 ได้บ่อยครั้งจะเป็นขนาดยาที่สูงกว่า 3.75 มีลลิกรัมต่อวันเป็นส่วนใหญ่ สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ที่ควรคำนึงถึงคืออายุของผู้ป่วย (r = -0.371, P < 0.001) ซึ่งเมื่อผู้ป่วยมีอายุสูงขึ้น ความต้องการยาวาร์ฟารินจะมีขนาดยาที่น้อยลง (p = 0.039) ส่วนน้ำหนักร่างกายจะไม่มีผลต่อขนาดยาวาร์ฟาริน (r = 0.095, P = 0.35) จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ขนาดยาที่ใช้คงฤทธิ์ยาวาร์ฟารินโดยเฉลี่ยในผู้ป่วยไทยผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมน่าจะมีขนาด 3.34 ± 0.94 มิลลิกรัมต่อวัน โดยขนาดยาที่ทำให้ค่า INR อยู่ในช่วง 2.0-3.0 ได้ร้อยละ 65.4 นั้นอยู่ในช่วง 1.5-8.0 มีลลิกรัมต่อวัน ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นขนาด 2.5-3.75 มิลลิกรัมต่อวัน โดยขนาด 2.5 มีลลิกรัมต่อวันทำให้ ค่า INR อยู่ในช่วงดังกล่าวได้ร้อยละ 14.4, ขนาด 3.0 มีลลิกรัมต่อวันร้อยละ 23.5 และขนาด 3.75 มีลลิกรัมต่อวัน ร้อยละ 15.9 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังคงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ดังนั้นยังคงจำเป็นจะต้องใช้ค่า INR เป็นเกณฑ์วัด หรือตัวติดตามผู้ป่วย อีกทั้งควรคำนึงถึงความต้องการยาวาร์ฟารินกับอายุของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ และการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาอื่นกับยาวาร์ฟารินด้วย ซึ่งการตรวจเลือด 1 ครั้งต่อเดือนในช่วงที่ค่า INR ยังไม่คงที่อาจจะ ไม่เพียงพอ แต่เมื่อค่า INR คงที่แล้วการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 1 เดือนน่าจะเพียงพอที่จะลดการเกิดภาวะ แทรกซ้อนจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ นอกจากนี้จากข้อมูลยังพบว่าค่า INR ของผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะอยู่ในช่วง 2.0-2.5 ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่าค่า INR ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไทยน่าจะมีค่า 2.0-2.5
Other Abstract: One hundred and six outpatients of mechanical prosthetic heart valve replacement with warfarin therapy in the Institute of Cardiovascular Disease, Rajvithi Hospital, were studied. Adequate information was obtained in 95 patients. (n = 95) The patients had an average age of 37.6 years. There were 46 males and 49 females. Doses of warfarin were adjusted according to INR level (INR = 2.0- 3.0). We followed 95 patients for 28.4 weeks per case and among 699 test of INR showed was 29.8% of the results were less than INR 2.0 and 4.9% of the test results were higher than ENR 3.0. Mean stability of INR was 2.30 ± 0.19. There were 8 episodes of minor bleeding complications in 8 patients. There were 1 episode of thromboembolism complication in 1 patient. Mean daily warfarin requirement was 3.34 ± 0.94. 80% of patients used 2.5-3.75 mg/day. Warfarin dose which was less than 2.5 mg/day often made INR less than 2.0 while the dose which was more than 3.75 mg/day gave INR higher than 3.0. The most important determinant was age (r = -0.371. p < 0.001), with progressively lower warfarin requirement with increasing age. (p = 0.039) There was a less association with body weight, (r = 0.095, p = 0.35). Data suggested that the mean maintenance dose of warfarin therapy in Thai patients with mechanical prosthetic heart valve replacement might be 3.34 ± 0.94 mg/day. Optimal dose range which achieve INR 2.0-3.0, the percentage was 65.4, was 1.5-8.0 mg/day. The dose range of most patients was 2.5-3.75 mg/day; i.e., 2.5 mg/day which was 14.4%, 3.0 mg/day which was 23.5% and 3.75 mg/day which was 15.9%. There were complications, therefore regular blood test to determine complication for each individual patient is obligatory. The age of the patient is important determinant of warfarin requirement, especially the elderly, and drug interaction may alter response to warfarin. Having blood checked once a month while INR was unstable may not be enough. If INR was stable, the frequency of testing could reduce to once a month. In addition to data, it suggested that optimal oral anticoagulant intensities for prevention thromboembolism in Thai patients with mechanical prosthetic heart valve replacement might be INR 2.0-2.5, because at this range complications were low.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69162
ISBN: 9746395599
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Su-arpa_pl_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_ch1_p.pdf818.98 kBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_ch2_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_ch3_p.pdf834.42 kBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_ch4_p.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_ch5_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Su-arpa_pl_back_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.