Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69167
Title: | พฤติกรรมการอยู่อาศัยในสถานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวพำนักรยะยาว : กรณีศึกษา โครงการสแกนดิเนเวียน วิลเลจ จ.ชลบุรี |
Other Titles: | Behavior of living in longstay accomodation : a case study of Scandinavian Village, Chon Buri Province |
Authors: | บัณฑิตา พิลึกดีเดช |
Advisors: | เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย การย้ายที่อยู่อาศัย Housing -- Resident satisfaction Older people -- Dwellings Relocation (Housing) |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยพิจารณาจากขนาดอุปสงค์ตลาดผู้สูงอายุโลกเพิ่มขึ้น และนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่เดินทางมายังประเทศไทยมีอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวียน ทำให้เกิด คำถามว่า การดำเนินชีวิตของชาวสแกนดิเนเวียนมีคุณภาพดีแล้วจริงหรือ? และปัจจุบันมีโครงการสแกนดิเนเวียน วิลเลจ จ.ชลบุรี เป็นที่พักอาศัยรองรับกลุ่มชาวสแกนดิเนเวียน ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) เป็นบริษัท ชาวต่างชาติแห่งเดียวที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในขณะนี้ยังมิได้มีการทำมาตรฐานมาควบคุมดูแลด้านที่พักในอนาคต คาดว่าน่าจะมีโครงการเฉพาะกลุ่มเกิดขึ้นอีกหลายโครงการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)พฤติกรรมการพักอาศัย (2)ความคาดหวัง และ (3)ปัญหาการอยู่อาศัย โดยมีสมมุติฐานว่า ชาว สแกนดิเนเวียนที่เข้ามาพักอาศัยแบบไม่ถาวรและอยู่อาศัยเป็นระยะเวลายาวไม่น้อยกว่า 1 เดือน มีความพอใจต้องการพักอาศัยใน โครงการที่จัดขึ้นโดยเฉพาะที่เป็นสถานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว จากผลการศึกษา พิสูจน์แล้วว่า เป็นจริง โดยต้องการพัก อาศัยเฉพาะชาวสแกนดิเนเวียน, รองลงมา ต้องการพักอาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ ตามลำดับ การดำเนินงานวิจัย เก็บข้อมูลเดือน ต.ค.-ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในรอบปี โดยทำการสัมภาษณ์ และใช้แบบสอบถาม กับผู้ที่อยู่อาศัยเกิน 1 เดือนขึ้นไป ผลการศึกษา ทั้งหมด จะสะท้อนให้เห็นความต้องการในอนาคตของที่พักอาศัยประเภทท่องเที่ยวพำนักระยะยาว เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง กิจกรรมและพื้นที่ใช้สอยเดิมให้ตอบสนองต่อความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อคุณภาพชีวิตและเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากการศึกษาพฤติกรรมการพักอาศัย พบว่า เป็นผู้มีการศึกษาดี ร่างกายแข็งแรง เพื่อนเยอะ มีประสบการณ์การท่องเที่ยวสูง สนใจวิถีชีวิต ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมไทย เลือกพักที่ประเทศไทย เพราะ คนไทยมีน้ำใจ, ค่าครองชีพต่ำ, ภูมิอากาศอบอุ่น, และท้องถิ่น ที่มีความเป็นเมืองและชนบทผสมกันอยู่ มีนิสัยเรียบง่าย สันโดษ เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ใช้เงินไม่ฟุ่มเฟือย รักการอ่าน การออกกำลังกาย และชอบเดิน กีฬาที่นิยมเล่นภายในโครงการคือ อาบแดด ว่ายน้ำ เปรตอง และเข้าสโมสรกีฬา ผู้อยู่อาศัยไม่ชอบการงีบหลับ กีฬาที่ชอบ ไปเล่นข้างนอกคือ กอล์ฟ, ตกปลา, และขี่จักรยาน วันที่ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก คือ วันจันทร์-วันศุกร์ ด้านงานเทศกาลรื่นเริง งาน ประเพณี ชอบให้จัดสม่ำเสมอทุกปี การศึกษาความคาดหวังเรื่องที่พักอาศัย พบว่า ต้องการที่พัก ใกล้ทะเล ใกล้ชุมชน ใกล้โรงพยาบาล สิ่งที่ขาดไม่ได้ในสถานที่พักนอกเหนือไปจากสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน คือ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ส่วนบัตรเครดิตพวกเขา จะมีติดตัวกันมาอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ถ้าจะใช้จ่ายในประเทศไทยจะใช้เงินสดกันมากกว่า ปัญหาที่พบ คือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และมี ภาษาสวีดิส, ความหลากหลายของอาหาร และโปรแกรมออกกำลังกาย, เรื่องสวนต้องการเพิ่มไม้ดอกกลิ่นหอม ผลไม้ ไม้ยืนต้น และมุม ในสวนสำหรับนั่งจิบกาแฟ กลางแจ้ง สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลของประเทศไทยสนับสนุน คือ ต้องการให้ปรับปรุงเรื่องกฎระเบียบของวีซ่า ให้ ขออนุญาตได้ง่าย, ขยายเวลา, ลดขั้นตอนต่างๆลง จากการศึกษาพบว่า ผู้พักอาศัยที่เดินทางออกนอกประเทศ เพราะ เรื่องต่อวีซ่าทั้งสิ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการอยู่อาศัย 4 เดือน จึงไม่สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อกลุ่มประชากรนี้ ที่ต้องออกนอกประเทศทุก 3 เดือน ข้อเสนอแนะ (1) รัฐบาล เรื่องกฎหมายการควบคุม, การเลือกตลาดเป้าหมาย (2) ภาคเอกชน เรื่องการทำสัญญาเช่าระยะ ยาว, ทางเลือกในการบริการการท่องเที่ยว, ข้อคำนึงถึงในการสร้างโครงการในอนาคต ด้านความสามารถในการจ่ายเงิน พฤติกรรม การ ออกแบบ และปัจจัยส่งเสริม ข้อเสนอแนะทำวิจัยครั้งต่อไป คือ ศึกษาพฤติกรรมชาวสแกนดิเนเวียที่อยู่อาศัยในโครงการประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่งคาดว่าจะค้นพบความต้องการที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก และทัศนคติอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป |
Other Abstract: | With reference to the tourism industry support policy of The Thai government, it is considered that the supply market of the elderly and longstay tourist in Thailand is continually increasing. The question has arisen as to whether the Scandinavian life style is qualified for what? There exists a project “Scandinavian Village in Chonburi Province” which has provided accommodation for the more than 55 years to Scandinavian nationals. It is subsidized by the Board of Investment (BOI) and only one company has been legally authorized the propriety rights. However, accommodation control has still not been standardized. In the future, it is expected that such specific projects will be increased. The objectives of this study are (1) to study the accommodation behavior, (2) to study the expectations and (3) to study the accommodation problems. It is assumed that members of the Scandinavian community, who stay in Thailand on non-permanent and longstay for more than 1 month, are content staying in a specific project providing longstay accommodation. From the result of this study, it was proved that the Scandinavians need to stay in accommodation supplied to Scandinavians and the elderly in order. As concerns the methodology, data was collected during October – February, which was the peak time of tourism. The survey was implemented by conducting interviews and questionnaires with the Scandinavian who has stayed in Thailand for more than 1 month. The study result shows the requirements concerning longstay accommodation in the future; also, it states suggestions for activity improvements in order to provide the requirements directly, to improve the life quality and to make Thailand more well-known. As regards the study, it was found that the characteristics of the target group were generally as follows: welleducated, healthy, friendly, experienced in tourism, and interested in nature, Thai culture and lifestyle. Moreover, they selected Thailand to stay because of the friendly people, low living cost, warm climate, mixed urban and rural lifestyle. The members are also undemanding, conservative, and economical; they loved to read books, exercise and walk, sunbathe, swim, etc. They don’t like to sleep during the day; they like outdoor sports such as golf, fishing and riding bicycles. The outdoor activities always take place during Monday – Friday, and annual festivals are often held. As concerns study of expectation, it was found that they required accommodation nearby the sea, near community, hospital, and basic conveniences such as mobile phone and internet. Most already have a credit card, but they prefer to pay by cash in Thailand. Most of the problems are high speeds internet, language communication, the variety of food, and exercise programs. Furthermore, they need aromatic flowers, fruit and any corner in the garden for outdoor coffee breaks. They, also, need the support from The Thai government especially in visa applications, extensions, and a reduction. As in regards the related processes the study, the target group, the individuals stay in Thailand 4 months on average, must leave Thailand for visa applications every 3 months which is not convenient for them. There are 2 recommendations of this study. First is the law concerning accommodation control, and target market selection. Second, the private section would involve the long term contract, and the tourism service alternative. Also, it would be realize on the project structure in the future, payment ability, behavior, design and support factors. Further study is suggested on the behavior of Scandinavians who live in a single house it which could find the different requirements of accommodation, convenience and attitude. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69167 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.721 |
ISSN: | 9745328243 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.721 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bantita_pi_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Bantita_pi_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.