Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69205
Title: Use of sodium carboxymethyl starch as extrusion aid in the production of pellet by extrusion and spheronization process
Other Titles: การใช้แป้งโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล เป็นสารช่วยเอ๊กซ์ทรูชันในการผลิตเพลเลต โดยการะบวนการเอ็กซ์ทรูชันและสเฟียโรไนเซชัน
Authors: Supattra Niyomthamaki
Advisors: Poj Kulvanich
Wichien Thanindratarn
Other author: Chulalongkorn University
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: Extrusion process
Substitution reactions
กระบวนการอัดผ่านขึ้นรูป
ปฏิกิริยาการแทนที่
Issue Date: 1998
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: การวิจัยนี้ใด้ทำการดัดแปรแป้งข้าวเหนียวที่ได้จากธรรมชาติด้วยปฏิกิริยาแทนที่ทางเคมี เพื่อให้ใด้แป้ง โซเดียมคาร์บอกซีเมทิลที่มีระดับการแทนที่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมแตกต่างกัน 3 ระดับ เพื่อนำมาประเมินคุณสมบัติในการใช้เป็นสารช่วยในการผลิตเพลเลตด้วยเทคนิคเอ๊กซ์ทรูชัน/สเฟียโรไนเซชัน ได้ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเพลเลต ที่เตรียมขึ้นโดยใช้สารตั้งต้นหลักแตกต่างกัน 3 ชนิดคือ ซูโครส แลคโตส และไดแคลเซียมฟอสเฟต ไดไฮเดรต ร่วมกับ แป้งโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล เปรียบเทียบกับเพลเลตที่ไม่มีแป้งดัดแปรนี้เป็นส่วนประกอบ จากผลการทดลองพบว่า ใน สูตรตำรับเพลเลตที่ใช้ซูโครสมีลักษณะเป็นแท่งไม่เป็นอนุภาคทรงกลม ในสูตรตำรับเพลเลตของแลคโตสและไดแคลเซียม ฟอสเฟตที่ใช้แป้งดัดแปรเป็นส่วนประกอบมีคุณสมบัติของเพลเลตดีขึ้นกว่าสูตรตำรับเพลเลตที่ไม่ใช้แป้งดัดแปร และพบว่าการใช้แป้งดัดแปรในสูตรตำรับทำให้การใช้ไมโครคริสตัลไลน์ เซลลูโลส ซึ่งมักใช้เป็นสารช่วยในการทำเพลเลตมี ปริมาณที่ใช้ต่ำลง เพลเลตซึ่งเตรียมโดยใช้แป้งดัดแปรร่วมด้วยนี้จะมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยใหญ่ขึ้น ความแข็งและความกลมมากขึ้น มีการเกาะกลุ่มกันระหว่างอนุภาคลดลงและมีพื้นผิวที่เรียบกว่าเพลเลตที่ไม่มีแป้งดัดแปร ระดับการแทนที่ของแป้งดัดแปรที่แตกต่างกันไม่มีอิทธิพลที่มีนัยสำคัญต่อคุณสมบัติทางกายภาพโดยทั่วไป ของเพลเลต แต่มีผลที่สำคัญต่อความแข็งและลักษณะพื้นผิว พบว่าเพลเลตของแลคโตสซึ่งประกอบด้วยแป้งดัดแปรที่มี ระดับการแทนที่ 0.26 จะมีความแข็งสูงสุด ขณะที่เพลเลตของไดแคลเซียมฟอสเฟตจะมีความแข็งมากที่สุดเมื่อใช้แป้ง ดัดแปรที่มีระดับการแทนที่ 0.16 และ 0.32 นอกจากนี้การใช้แป้งดัดแปรที่มีระดับการแทนที่ 0.16 ในสูตรตำรับของ ไดแคลเซียมฟอสเฟต จะทำให้เกิดเพลเลตที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบกว่าการใช้แป้งดัดแปรซึ่งมีระดับการแทนที่อื่น ๆ พบว่าปริมาณน้ำมีอิทธิพลที่สำคัญในกระบวนการเอ๊กช์ทรูชันและสเฟียโรไนเซชัน ปริมาณนี้าที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิด เพลเลตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ความแข็งและความกลมเพิ่มขึ้น แต่ให้ลักษณะพื้นผิวที่ขรุขระมากขึ้น เมื่อปริมาณแป้งดัดแปรที่ ใช้ในสูตรตำรับเพิ่มขึ้นจาก 0.3% ถึง 0.8% โดยน้ำหนัก จะทำให้คุณสมบัติบางประการของเพลเลตดีขึ้นกล่าวคือ ความแข็งและความเรียบของพื้นผิวมากขึ้น ผลจากการศึกษาความพรุนของเพลเลตแสดงให้เห็นว่าการใช้แป้งดัดแปร ในสูตรตำรับแลคโตสไม่มีผลต่อความพรุน แต่ทำให้ความพรุนของเพลเลตไดแคลเซียมฟอสเฟตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรตำรับที่ไม่ได้ใช้แป้งดัดแปร และพบว่าความพรุนของเพลเลตแลคโตสสูงกว่าของเพลเลตไดแคลเซียมฟอสเฟต
Other Abstract: Native glutinous rice Starch was chemically modified by etherification reaction to obtain sodium carboxymethyl starch with three different degrees of substitution and evaluated for their properties as the aid in pellet formulations produced by extrusion/spheronization technique. The physical properties of pellets prepared using three different pellet bases (sucrose , hydrous lactose and dicalcium phosphate dihydrate) in combination with this modified starch were characterized in comparison with blank pellets without adding modified starch. It was found that only rod shaped particles were generated in sucrose formulations prepared with modified starch. The improvable physical properties of lactose and dicalcium phosphate pellets employing modified starch could be obtained and the amount of microcrystalline cellulose which commonly used as the extrusion aid in pellet formulation could be decreased. Lactose and dicalcium phosphate pellets prepared with modified starches were larger in size 1 harder 1 more spherical 1 with less agglomeration and smoother surface than blank pellets. The degrees of substitution of modified starch had a negligibly effect on the physical properties of pellets except hardness and surface characteristic. Among various degrees of substitution 1 the highest hardness of lactose pellets was yielded by using 0.26 degree of substitution whereas the hardest dicalcium phosphate pellets was obtained when using 0.16 and 0.32 degree of substitution. Moreover , modified starch at 0.16 degree of substitution produced dicalcium phosphate pellets with smoother surface than the others. The amount of added water played a critical role in extrusion/spheronization process. Increasing the amount of water imparted the greater size , hardness , sphericity and surface roughness. Using the higher amount of modified starch (increased from 0.3% to 0.8% w/w) could improve some pellet properties , i.e. more hardness and surface smoothness. For porosity of pellets 1 the result showed that modified starch did not affect the porosity of lactose pellets while the porosity of dicalcium phosphate pellets using modified starch was higher than that of blank pellets. It was found that the porosity of lactose pellets was higher than that of dicalcium phosphate pellets.
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn University, 1998
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69205
ISBN: 9746388584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattra_ni_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.59 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_ni_ch1_p.pdfบทที่ 11.37 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_ni_ch2_p.pdfบทที่ 21.65 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_ni_ch3_p.pdfบทที่ 315.56 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_ni_ch4_p.pdfบทที่ 4647.8 kBAdobe PDFView/Open
Supattra_ni_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.