Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69226
Title: | การเตรียมวัสดุเชิงประกอบคล้ายไม้จากพอลิเอสเทอร์เรซินชนิดไม่อิ่มตัว/ยางธรรมชาติกราฟต์สไตรีน/เถ้าแกลบ |
Other Titles: | Preparation of wood-liked composite materials from unsaturated polyester resin/natural rubber graft styrene/rice husk ash |
Authors: | เพชรี ศรีรัตอำไพ |
Advisors: | เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | วัสดุเชิงประกอบโพลิเมอร์ พอลิเอสเทอร์เรซิน ขี้เถ้าแกลบ อิมัลชันโพลิเมอไรเซชัน Polymeric composites Polyester resin Rice hull ash Emulsion polymerization |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมวัสดุเชิงประกอบคล้ายไม้จากพอลิเอสเทอร์เรซินชนิดไม่อิ่มตัว ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีน และเถ้าแกลบ โดยยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนถูกสังเคราะห์ด้วย กระบวนการโคพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชันด้วยอัตราส่วนโดยโมลของยางธรรมชาติ/สไตรีนมอนอเมอร์เท่ากับ 80/20 และใช้ TBHPO/TEPA เป็นสารเริ่มปฏิกิริยา ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนที่เตรียมได้มีเปอร์เซ็นต์การ กราฟต์ประมาณ 54% ชิ้นงานถูกเตรียมโดยการผสมพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัวกับเถ้าแกลบในอัตราส่วน 100/30 100/40 และ 100/50 จากนั้นจึงนำสารผสมที่ได้ไปผสมกับยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนในปริมาณ 5 10 และ 15 ส่วนต่อพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัว 100 ส่วน ภายหลังการบ่ม ชิ้นงานที่ขึ้นรูปโดยการหล่อแบบถูกนำไป ตรวจสอบสมบัติเชิงกล การดูดซึมน้ำ พฤติกรรมทางความร้อน และสัณฐานวิทยา จากการทดลอง พบว่า วัสดุเชิง ประกอบที่เตรียมจากพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัว/ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีน/เถ้าแกลบในอัตราส่วน 100/5/30 มีความต้านแรงดัดโค้งและความต้านแรงกระแทกสูงที่สุด และมีการปรับปรุงสมบัติเหล่านี้อย่างเห็นได้ ชัด ในขณะที่ชิ้นงานมีความแข็งใกล้เคียงกับของพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัว นอกจากนี้ วัสดุเชิงประกอบมีการดูด ซึมน้ำเพิ่มขึ้นตามปริมาณยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนและเถ้าแกลบที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงสร้างมีความ บกพร่องและปริมาณหมู่ไฮดรอกซิลจำนวนมากในเถ้าแกลบ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิ่งคาลอริมิทรี แสดงให้เห็นว่าปริมาณยาง ธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนและเถ้าแกลบที่ใส่เข้าไปในพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัวมีผลต่ออุณหภูมิกลาสแทรน ซิชันของชิ้นงานน้อยมาก การตรวจสอบสมบัติทางความร้อนของวัสดุเชิงประกอบที่เตรียมจากพอลิเอสเทอร์ชนิด ไม่อิ่มตัว/ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีน/เถ้าแกลบในอัตราส่วน 100/5/30 ด้วยเทคนิค TMA แสดงให้เห็นว่า ชิ้นงานมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำมาก คือ ประมาณ 0.00005 mm/mm.°C การตรวจสอบสัณฐานวิทยาของวัสดุเชิงประกอบด้วยเทคนิค SEM แสดงให้เห็นการกระจายตัวที่ดีของ ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนในพอลิเอสเทอร์ชนิดไม่อิ่มตัว ขณะที่เถ้าแกลบจับตัวกันเป็นอนุภาคขนาดใหญ่ และถ้าปริมาณยางธรรมชาติกราฟต์พอลิสไตรีนเพิ่มขึ้น การจับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบมีความหนืดสูงมาก |
Other Abstract: | The aim of this research is to produce wood-liked composite materials from unsaturated polyester (UPE) resin, natural rubber graft polystyrene (NR-g-PS) and rice husk ash (RHA). NR-g-PS was synthesized by emulsion copolymerization with NR/PS in a mole ratio of 80/20 using ter-butyl hydroperoxide/tetraethylene pentamide (TBHPO/TEPA) as an initiator. The percent grafting of the obtained copolymer was about 54%. UPE resin was blended with RHA at UPE/RHA ratio of 100/30, 100/40 and 100/50 by wt. Each blend was subsequently mixed with NR-g-PS at the amount of 5, 10 and 15 parts per hundred of UPE. After curing, the cast specimens were examined for their mechanical properties, water absorption, thermal behaviors, and morphology. From the results, it was found that the composite of 100 UPE/5 NR-g-PS/30 RHA exhibited highest flexural and impact strength with substantially improved in these properties, whereas the hardness was comparable to a UPE sample. Furthermore, water absorption of the composites was increased at high loading of NR-g-PS and RHA due to the imperfections in the structures and the high amount of hydroxyl groups in RHA. DSC thermograms showed insignificant effect of both NR-g-PS and RHA on Tg of the composites. In addition, the thermal expansion coefficient of 100 UPE/5 NR-g-PS/30 RHA composite characterized by TMA technique was as low as 0.00005 mm/mm.°C . Morphology of the composites was investigated by SEM technique. SEM micrographs revealed that NR-g-PS particles were well dispersed in the UPE matrix whereas RHA agglomerated into coarse particles. The higher amount of the NR-g-PS the more agglomeration of RHA in the composite due to the very high viscosity of the system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69226 |
ISSN: | 9741422555 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pecharee_sr_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 672.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 650.81 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pecharee_sr_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.