Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69367
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลพิชญ์ โภไคยอุดม-
dc.contributor.authorชยภัทร สุนทรนนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2020-11-11T09:30:23Z-
dc.date.available2020-11-11T09:30:23Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69367-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ตตามตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี กลุ่มวิชาที่ศึกษา และ รายรับต่อเดือนวิธีการดำเนินงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีใน ปีการศึกษา2562 จำนวน 420 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าในการเปรียบเทียบรายคู่ และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดี่ยวโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย ความคิดเห็นด้านต่างๆ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยสูงที่สุดคือ ความคิดเห็นด้านการใช้เวลาว่าง รองลงมาคือด้านลักษณะนิสัยการทำงาน ด้านการประกอบอาชีพ และมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ตามลำดับ ในส่วนของความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นที่มีต่ออีสปอร์ต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นที่มีอีสปอร์ต แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่แตกต่างกัน และมีรายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สรุปผลการวิจัย ภาพรวมความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต โดยรวม จำแนกตาม เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และด้านชั้นปีที่ศึกษา รายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันมีความแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05-
dc.description.abstractalternativePurpose  The research aimed to study the opinions of Chulalongkorn University students towards E-Sport. The research also aimed to compare of Chulalongkorn University students classified by gender, age, year of study, subject group and income/monthMethods The samples were 420 Chulalongkorn University students, who studied in undergraduate level in the academic year 2019. Questionnaires were adopted as the method to collect data with IOC of 0.95 and coefficient alpha equal 0.86. Data were processed by applying descriptive statistics which were frequency, percentage, mean and standard deviation. The research also was analysed by t-test and One-Way ANOVA with statistical significance at 0.05. Results  Opinions of Chulalongkorn University students towards E-sport was high overall. The highest opinion is in leisure, followed by the opinion in work habits respectively and the opinion about the impact on life. According to the different demographic characteristics and opinions on E-Sport, it revealed that the respondents who have different gender, age, education level and income had different opinions towards E-Sport with statistical significance at 0.05. However, comparing by the differences in subject group and income/month, there was different opinions in the impact on life towards E-Sport with statistical significance at 0.05. Conclusion  Opinions of Chulalongkorn University students towards E-Sport was high in overall and the respondents with differences in gender, age, subject of study had different opinions towards E-Sport at the statistical significance level of  0.05. At the same time, the respondents with differences in subject group and income/month had different opinions in the impact on life towards E-Sport at the statistical significance level of  0.05.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1112-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต-
dc.title.alternativeOpinions of Chulalongkorn university students towards e-sport-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1112-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178302239.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.