Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69667
Title: ภาพพิมพ์ : การบันทึกอารมณ์รูปแบบไดอารี่
Other Titles: Printmaking : emotional diary
Authors: กนต์ธร สัจจีกูล
Advisors: กมล เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยจากการตั้งข้อสังเกตถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในเรื่องของสภาวะปัจจัยทางด้านอารมณ์และความรู้สึก ไปจนถึงกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อนำมาซึ่งผลของการวิเคราะห์ให้เกิดผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ นำสื่อศิลปะภาพพิมพ์เป็นเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีที่มาจากการทำงานในชีวิตประจำวันที่ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานกับศิลปิน อารมณ์ร่วมถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการสร้างสรรค์ผลงาน ความปรวนแปรอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของผลงานได้ การจัดการสภาวะอารมณ์จึงเป็นเรื่องที่ผู้สร้างสรรค์จำเป็นที่จะต้องจัดการกับตนเองในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดผลงานที่ดีที่สุดออกมาในแต่ละชิ้นงาน ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ผู้วิจัยนำสภาวะอารมณ์มาเป็นข้อสังเกตต่อการทำงานวิจัยไปจนถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานโดยมีสื่อศิลปะภาพพิมพ์เป็นเทคนิคในการสร้างสรรค์  จากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้ง สภาวะอารมณ์ จิตวิทยา รวมถึงผลงานศิลปกรรมที่มีปัจจัยทางอารมณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์และสร้างแนวทางการวิจัยออกมาเป็นรูปแบบผลงานดังนี้ 1.การศึกษาและเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบการทำงานของ Process Art โดยเป็นวิธีการทำงานแบบเก็บข้อมูลจากการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ประจำวัน (Daily Life) เพื่อสร้างชุดข้อมูลในการวิเคราะห์ปัจจัยในสัมพันธภาพระหว่าง อารมณ์ในแต่ละวัน : การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2.นำเสนอผลงานด้วยวิธีการ Appropriation Art โดยใช้รูปแบบการสร้างสรรค์ของศิลปะ Abstract Expressionism ที่มีวิธีการทำงานเพื่อมุ่งเน้นทางด้านแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดดังกล่าวสร้างเป็นผลงานวิจัย เปรียบเสมือนเป็นการจดบันทึกอารมณ์ เนื้อหา-เรื่องราว และประสบการณ์สร้างเป็นผลงานในแต่ละวัน จากนั้นนำชุดข้อมูลจากผลที่ได้มาศึกษา , สังเกต และวิเคราะห์ถึงรูปแบบของผลงานที่ปรากฏออกมาในแต่ละชิ้น หาปัจจัยของความแตกต่างในแต่ละผลงานเพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบที่แสดงถึงปัจจัยทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกแสดงออกมาว่ามีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไร ใช้วิธีการจดบันทึกสภาวะอารมณ์ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ โดยหยิบยืมรูปแบบ Abstract Expressionism ถ่ายทอดสภาวะของอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แสดงให้เห็นถึงวิธีการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง ผลงานที่ปรากฎจากการบันทึกเป็นเสมือนการเล่าเรื่อง บอกเนื้อหา ถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้วิจัยด้วยผลงานที่สร้างขึ้นในแต่ละวันที่มีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป
Other Abstract: The aim of the research is to be able to gain insight into the creation of art in terms of emotional and sensational factors.  This leads to the creative processes and brings the apparent results.  “Printmaking” is the main technique of the researcher who gathered the results by daily working and getting involved with other artists for the primary data. The main findings are: 1) Emotional involvement is one of the main factors of art creation. 2) Temperamental changes influence on pieces of art. 3) Emotional self-management is essential for artists to create the best of works. By this research, secondary data were collected through various articles on the relevant subject areas; the theories of emotional subject, psychology, fine art’s works related to the emotional factors in creating works.  The results of hypothesis testing revealed that the emotional and sensational factors have affected to art creation. 1) Model of ‘Process Art’ is proved to have a more impact on art creation. This model would be most effective for studying and collecting data on daily work and would also be able to provide the appropriate data set for analyzing various factors in terms of the relationship between emotions on daily basis. 2) ‘Appropriation Art’ is emphasized on the same form of ‘Abstract Expressionism’ as a good way of presenting works.  This method aims to focus on the expression of emotions and feeling through the creation of art.  The researcher takes this concept to conclude the results of study by taking notes of emotional content, story and experience on each day.  After that, the received data sets of works would be educated, observed and analyzed one by one in order to find each style, difference and emotional expression affecting to the creation of art.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69667
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1338
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786834335.pdf13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.