Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70139
Title: การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงงานระเหยน้ำกากส่า
Other Titles: Energy efficiency improvement for vinasse evaporation plant
Authors: สิริรัตน์ เนติพัติ
Advisors: สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โรงงาน -- การใช้พลังงาน
การใช้พลังงานไฟฟ้า
Factories -- Energy consumption
Electric power consumption
Issue Date: 2562
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานระเหยน้ำกากส่า โดยใช้ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (Specific Energy Consumption, SEC) และเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ แผนภูมิการกระจาย, การวิเคราะห์การถดถอย และการสร้างกราฟผลต่างของค่าจริงกับค่าอ้างอิงหรือค่าฐาน (Difference, DIFF) และค่าผลรวมสะสมของผลต่าง (Cumulative Summation of Difference, CUSUM) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานที่ผ่านมา เพื่อใช้กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อไป ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและปริมาณผลผลิตในช่วงปี 2560-2561 พบว่าปี 2561 มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำกว่าปี 2560 เนื่องจากมีค่า SEC ที่สูงกว่า โดยปี 2560 มีค่า SEC เท่ากับ 250.37  กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร ส่วนปี 2561 มีค่า SEC เท่ากับ 269.04 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร และการใช้กราฟ CUSUM พบว่าปี 2560 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานร้อยละ 21.82-31.14 ในขณะที่ปี 2561 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานสูงถึงร้อยละ 68.86-78.17 เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานจึงประเมินจากศักยภาพของการประหยัดพลังงานรวมปี 2560-2561 มีร้อยละผลประหยัดเฉลี่ย 8.64 โดยมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เลือกมานำเสนอ ได้แก่ มาตรการลดความเร็วรอบของปั๊ม Effect 1-4, Finisher A และ B และพัดลม MVR 1 และ MVR 2 ด้วย VSD และมาตรการลดขนาดปั๊มน้ำหอหล่อเย็น (Cooling Tower Pump) A และ B
Other Abstract: The objective of this research is to analyze the energy efficiency of a vinasse evaporation plant by using SEC and the statistical process control tools such as Scatter Diagram, Regression Analysis and DIFF & CUSUM. From the past data, it is found that the energy efficiency of year 2017 is better than that of year 2018 due to the lower SEC of 250.37 kWh/m3 comparing with that of 269.04 kWh/m3 in 2018. In addition, from CUSUM plot, it can be seen that the energy saving potential in 2017 is in the range 21.82-31.14%, while the value in 2018 is 68.86-78.17%. The energy driving plans are evaluated from the potential of energy saving score of year 2017-2018 which is 8.64% average. Some proposed measures to achieve the energy saving target include using the VSD to reduce the pumping speed effect 1-4, finisher A and B and the MVR 1 fan and MVR 2 fan and reducing the size of the cooling tower pump A and B.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70139
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.91
metadata.dc.identifier.DOI: /10.58837/CHULA.IS.2019.91
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187555120.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.