Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7045
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ | - |
dc.contributor.author | อารียา นะสานี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-28T07:58:48Z | - |
dc.date.available | 2008-05-28T07:58:48Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741437757 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7045 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ตัวอย่างประชากรคือครูวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 10 คน ที่ทำการสอนในปีการศึกษา 2547 และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ พบว่า ด้านการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ครูใช้ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติของนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 60 โดยกิจกรรมที่ครูใช้มากคือ การปฏิบัติการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 18 ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้พบว่า ครูร้อยละ 100 ใช้สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ใบความรู้และใบงาน ประกอบการปฏิบัติทดลอง ครูเพียงร้อยละ 30 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ในด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูร้อยละ 100 ใช้วิธีการทดสอบด้วยแบบทดสอบปรนัย โดยครูเป็นผู้ทำการประเมิน ช่วงเวลาที่ทำการประเมินคือกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ครูเพียงร้อยละ 20 ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิค วิธีสอน ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ปัญหาที่พบมากคือ การขาดแคลนสื่อ วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และงบประมาณในการจัดหาสื่อ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูขาดความรู้ในการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนพบว่าครูส่วนใหญ่มีความสนใจในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3. การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ครูแก้ปัญหาโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง และการเข้ารับการอบรม ส่วนในด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ผู้บริหารแก้ปัญหาโดยการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น และครูจัดหาสื่อบางประเภทด้วยตนเอง | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study state, problems and solutions of teachers in science instruction according to the learning reform in the Islamic private schools in Bangkok Metropolis and Nonthaburi Province. The research sample were 10 science teachers who taught scientific subjects in 2004 academic year and 4 school administrators. The research instruments were observation and structured interview form. The collected data was analyzed by means of frequency and content analysis. The research findings were as follows: 1. State of science instruction according to the learning reform. It was found that 60% of science teachers assigned students to do various activities. Among those activities were doing experiment as instructed (18%). In using medias and learning resources, all the teachers (100%) used printed medias such as science text books, resource sheets and work sheets. However, information and communication technology and local learning resource were used by only 30% of science teachers. Inmeasurement and evaluation, 100% of science teachers used multiple choice test developed by themselves, and conducted at the midterm and final examination. And only 20% of science teachers did the classroom action research. 2. In the aspect of problems of science instruction, it was found that most of science teachers lacked of knowledge and understanding in techniques and teaching methods. For the media and learning resource, the problems were the lack of science instruction aids and budget. For measurement and evaluation, science teachers were also lack of knowledge and understanding in developing measurement instruments. However, most of science teachers were interested in doing classroom action research but they did not understanding about it. 3. Problems concerning science instruction activities, measurement and evaluation and the classroom action research, science teachers solved the problems by self study and attending the training. In the aspect of instruction media, the school administrators solvedthis problem by providing budget as needed and some teachers used their own expenses in preparing and developing instructional media. | en |
dc.format.extent | 1378645 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.841 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | ปอเนาะ | en |
dc.title | การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี | en |
dc.title.alternative | A study of state, problems and solutions of science instruction of teachers according to the learning reform in the islamic private schools in Bangkok metropolis and Nonthapuri province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาวิทยาศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.841 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
areeya.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.