Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70958
Title: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทย : ศึกษากรณีปัจจัยที่ทำให้การประท้วงมีความยาวนาน
Other Titles: Political participation of the Thais : factors affecting the prolonged demonstration
Authors: พงศกร รอดชมภู
Advisors: สุจิต บุญบงการ
พรศักดิ้ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การมีส่วนร่วมทางการเมือง
สิทธิของพลเมืองในการเดินขบวน
การเดินขบวน
Political participation
Civil rights demonstrations
Demonstrations
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เรื่องนี้มุ่งศึกษาแบบแผนการตัดสินใจไป หรือ ไม่ไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการใช่ความรุนแรง โดยการประท้วงว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งเสริมหรือเหนี่ยวรั้งให้เกิดการตัดสินใจเช่นนั้น โดยจำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่การรักษาองค์กรประท้วงให้มีความต่อเนื่องยาวนาน สมมติฐานในการทดสอบมีดังต่อไปนี้คือ ปัจจัยด้านอุดมการณ์ ความหลากหลายของกลุ่มสมาชิก ขอบเขตความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นความจำเป็นที่จะต้องมีแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะความสามารถในการเสนอแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะนั้น ประสิทธิผลของแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะนั้น อัตราความสำเร็จที่มีมาก่อน การจัดองค์การและการระดมก่อนหน้านี้ ความสามารถในการระแวดระวัง ประสิทธิภาพของการระดม ความเห็นพ้องในเรื่องวิธีการ ความรู้ไนเรื่องเทคนิคการประท้วง ระดับความเหนื่อยล้า ทรัพยากรที่ฝ่ายประท้วงมีอยู่ในปัจจุบัน ความสามารถในการคาดคะเนการตอบสนองของฝ่ายต่อต้านการประท้วง ต้นทุนของการมีส่วนร่วมความรู้ว่าฝ่ายต่อต้านการประท้วง มีเป้าหมายและทรัพยากรขนาดไหน พฤติกรรมของฝ่ายต่อต้านการประท้วงที่ผ่านมา อัตราความต้องการความสำเร็จ ที่มีต่อตัวแปรตามระดับของการระดมและการรักษาไว้ซึ่งสมาชิก ประชากรวิจัย เป็นผู้ที่เคยเข้าร่วมทำการประท้วงจากทุกภาคของประเทศไทยระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2535-2539 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในปี พ.ศ. 2539 และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามด้วยการวิเคราะห์เส้นอิทธิพล จากการทดสอบสมมติฐานข้างต้นพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ตัวแปรความสามารถในการระแวดระวัง (0.147) การจัดองค์การและการระดมก่อนหน้านี้ (0.084) ความรู้ในเรื่องเทคนิคการประท้วง (0.0602) อัตรา ความสำเร็จที่มีมาก่อน (-0.415) ความเห็นพ้องในเรื่องวิธีการ (-0.328) ความหลากหลายของกลุ่มสมาชิก (-0.1656) ขอบเขตความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น (-0.1149) ปัจจัยด้านอุดมการณ์ (-0.059) พฤติกรรมของฝ่ายต่อต้านการประท้วงที่ผ่านมา (-0.0395) ส่วนตัวแปรที่ไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ตัวแปร ความจำเป็นที่จะต้องมีแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะความสามารถในการเสนอแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะนั้น ประสิทธิผลของแรงจูงใจที่เลือกสรรโดยเฉพาะนั้น ประสิทธิภาพของการระดม ระดับความเหนื่อยล้า ทรัพยากรที่ฝ่ายประท้วงมีอยู่ในปัจจุบัน ความสามารถในการคาดคะเนการตอบสนองของฝ่ายต่อต้านการประท้วง ต้นทุนของการมีส่วนร่วม ความรู้ว่าฝ่ายต่อต้านการประท้วงมีเป้าหมายและทรัพยากรขนาดไหน อัตราความต้องการความสำเร็จ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนมีแรงจูงใจให้เข้าร่วมทำการประท้วงจาก องค์การที่นำการประท้วงซึ่งควรจะมีชื่อเสียงดีหรือประสบความสำเร็จมาก่อน ร่วมด้วยความรู้ว่าจะประท้วงอย่างไรจะป้องกันตนเองอย่างไร เป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันนั้นความสำเร็จที่กลุ่มนำมีมาก่อนถ้าไม่สอดคล้องกับกลุ่มตนก็จะไม่เข้าร่วมด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องความเห็นพ้องต้องกันว่าจะชูประเด็นการประท้วงเรื่องอะไร ในอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเป็นเรื่องของ ปัจจัยด้านอุดมการณ์และความหลากหลายของกลุ่มสมาชิกที่ต่างมีผลทางลบต่อการระดมสมาชิกทั้งคู่ ซึ่งหมายความว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อในเรื่องอุดมการณ์ร่วมกันน้อย และมีความหลากหลายของกลุ่มสมาชิกไม่มาก ส่วนขอบเขตความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับพฤติกรรมของฝ่ายต่อต้านการประท้วงที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีความเกรงกลัวว่าหากประท้วงสำเร็จแล้วตนเองจะเดือดร้อนอีกครั้งหนึ่ง หมายถึงหากมีการกระทำจากฝ่ายต่อต้านการประท้วงสูง ก็คงมีผู้เข้าร่วมน้อยลง ในทางกลับกันถ้าฝ่ายต่อต้านการประท้วงไม่กลั่นแกล้ง ไม่กดดัน ประชาชนจะมีการเข้าร่วมการประท้วงได้มากขึ้น นอกจากนั้น การวิจัยยังได้สร้างตัวแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยด้วยการประท้วง จากข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการวิจัยนี้เป็นการเพิ่มเติมด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to study the pattern of political participation, especially factors affecting the prolonged demonstration. Hypothesis testing reveal that : Ideological factors, Heterogeneity of Membership, Extensiveness of Grievances, Need for Selective Incentives, Ability to Supply Selective Incentives, Effectiveness of Selective Incentives, Prior Success Rate, Prior Organization and Mobilization, Surveillance Capability, Efficiency of Mobilization, Consensus on Means, Technical Knowledge, Fatigue Level, Current Resources, Ability to Predict Y’s Response, Costs of . Participation, Knowledge of Y's Goal and Resources, Y’s Past Behaviors and Percent Needed for Success that Influence Degree of Mobilization and Ability to Sustain. Research population are the Thais who had ever involved in demonstration between 1992-1996. Research samplings are 400. Field data collection were gathered in 1996. Path analysis was used เท order to find the relationship between independent and dependent variables. Findings : Independent variables that have significant influence to dependent variable are Surveillance Capability (0.147), Prior Organization and Mobilization (0.084), Technical Knowledge (0.0602), Prior Success Rate (-0.415), Consensus on Means (-0.328), Heterogeneity of Membership (-0.1656), Extensiveness of Grievances (-0.1149), Ideological factors (-0.059), Y’s Past Behaviors (-0.0395) and variables that have no significant influence to dependent variable are Need for Selective Incentives, Ability to Supply Selective Incentives, Effectiveness of Selective Incentives, Efficiency of Mobilization, Fatigue Level, Current Resources, Ability to Predict Y's Response, Costs of Participation, Knowledge of Y's Goal and Resources, and Percent Needed for Success. The motivation which induces the people to join demonstration are the successful or popularity of the leading organization together with the Technical Knowledge. However, the prior success rate of the leading organization may reduce number of the member if their benefits are not matched. The groups have less common Ideology and Heterogeneity of Membership. They are afraid of Grievances both before and after demonstration. If They have a bad experience they would not join demonstration. On the contrary, if the opposition has not suppressed then the people would join more in demonstration. This research also include the full model of political participation of the Thais.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70958
ISSN: 9746383248
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongskorn_ro_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ551 kBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch1.pdfบทที่ 1551.01 kBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch2.pdfบทที่ 22.86 MBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch3.pdfบทที่ 3530.57 kBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch4.pdfบทที่ 41.75 MBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch5.pdfบทที่ 53.49 MBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_ch6.pdfบทที่ 61.64 MBAdobe PDFView/Open
Pongskorn_ro_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.