Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70975
Title: | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปชาย ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ |
Other Titles: | Pharmaceutical care for general surgical male patients in Chiang Rai Regional Hospital |
Authors: | เปรมจิตต์ จริยพงศ์ไพบูลย์ |
Advisors: | ประภาพักตร์ ศิลปโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การบริบาลทางเภสัชกรรม Pharmaceutical services |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบและศึกษาผลในการดำเนินงานการบริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปชาย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ช่วงเดือนมกราคม ถึง เมษายน 2539 โดยเภสัชกรสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อทราบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ติดตามแต่ละขั้นตอนในกระบวนการใช้ยา ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั่งผู้ป่วย เพื่อแก้ไขหรือเฝ้าระวังปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ติดตามผลของการประสานงาน และสำรวจทัศนคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน ในช่วงที่ทำการศึกษาสามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป จำนวน 351 คน จากรูปแบบการที่กำหนดสามารถค้นพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 237 ปัญหา ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาการสั่งใช้ยา จำนวน 120 ปัญหา (ร้อยละ 50.6) ปัญหาที่พบรองลงมา ได้แก่ ปัญหาการบริหารยา จำนวน 53 ปัญหา (ร้อยละ 22.4) ปัญหาการจ่ายยา จำนวน 24 ปัญหา (ร้อยละ 10.1) ปัญหาการตอบสนองต่อยา จำนวน 24 ปัญหา (ร้อยละ 10.1) และปัญหาการติดตามผลการใช้ยา จำนวน 16 ปัญหา (ร้อยละ 6.8) จากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 237 ปัญหา เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข 214 ปัญหา (ร้อยละ 90.3) เภสัชกรได้ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามสาเหตุของปัญหา ผลการดำเนินงานพบปัญหาได้รับการแก้ไขตามข้อเสนอของ 183 ปัญหา, ได้รับการแก้ไขแต่ไม่ตรงตามที่เภสัชกรเสนอ 6 ปัญหา และไม่มีการแก้ไข 25 ปัญหา และเป็นปัญหาเฝ้าระวังอีก 23 ปัญหา ซึ่งปัญหาเหล่านี้แก้ไขโดยคำแนะนำและการติดตามอยางใกล้ชิด สำหรับผลของการดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนดเป็นที่น่าพอใจ เพราะนอกจากจะทำให้พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแล้ว ปัญหาที่แก้ไขได้ส่วนมากได้รับการแก้ไขตามข้อเสนอของเภสัชกร อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดี ต่อการดำเนินงาน กล่าวคือเห็นสมควรให้เภสัชกรติดตามการใช้ยาในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการใช้ยา และรูปแบบการดำเนินงานก่อให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานกัน ทั้งนี้เป็นการเพิ่มคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย |
Other Abstract: | The purposes of this study were to implement and evaluate the pharmaceutical care process done by a pharmacist for general surgical patients in the general surgical male ward at Chiang Rai Regional Hospital during January - April 1996. Primarily, the pharmacist interviewed each targeted patient, collected the patient's medication history, monitored each step in drug therapy process, and coordinated with other health care staff and the patients in order to resolve or prevent drug-related problems (DRP). Then, the outcomes of each resolution or prevention were followed up. Eventually, the model was evaluated in term of its impacts on the working of health care staff done by using questionnaires. Over the studying period. 351 targeted patients received pharmaceutical care. The results show that this model could detect 237 DRP. The most commonly found DRP were 120 (50.6%) prescribing problems, followed by 53 (22.4%) administrating problems. 24 (10.1%) patient drug responsive problems. 24 (10.1%) dispensing problems, and 16 (6.8%) drug therapy monitoring problems. According to the detected 237 problems, upto 214 resolute problems were solved by using the suitable means for each problem. Basically, the outcomes show that 183 (85.5%) problems were solved according to pharmacist's recommendations. 6 (28 %) were partial accepted, and 25 (11.7%) were rejected. And also there were 23 (9.7%) problems which could be prevented by providing the patients and staff counseling and monitoring. Based on the evaluation of the pharmaceutical care model mentioned above, it has been found that the model was satisfied because DRP could be detected and most resolute problems were solved according to pharmacist's recommendation. Finally, it can be concluded that the model was successful as almost disciplines agreed with each steps of drug use process monitored by the pharmacist and provided the excellent cooperation and coordination in order to increase the quality of patient's care. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมโรงพยาบาลและคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70975 |
ISBN: | 9746351192 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Premjit_ja_front_p.pdf | 934.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_ch1_p.pdf | 789.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_ch2_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_ch3_p.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_ch4_p.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_ch5_p.pdf | 768.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premjit_ja_back_p.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.