Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7116
Title: การดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 3 และ 4
Other Titles: Operation and problems of school-based curriculum development in the social studies, religion and culture subject group at the secondary education level
Authors: กิตติศักดิ์ ลักษณา
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การวางแผนหลักสูตร -- ไทย
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ในโรงเรียนที่เริ่มใช้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในปีการศึกษา 2546 โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้ากลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. การดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษาฯ พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่จัดทำหลักสูตรพร้อมกันในทุกระดับชั้น โดยใช้ ระยะเวลา 1-6 เดือน ในการพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด มีครูในกลุ่มสาระมีส่วนร่วมมากที่สุดในทุก ขั้นตอนของการจัดทำสาระของหลักสูตร ส่วนหัวหน้ากลุ่มสาระมีส่วนร่วมมากที่สุดในการเตรียม ความพร้อมและการตรวจสอบหลักสูตร 1.1 ด้านการเตรียมความพร้อม โรงเรียนส่วนใหญ่มี การเตรียมความพร้อมโดยการวางแผนการดำเนินงานการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการ พัฒนาหลักสูตร การสำรวจสนเทศพื้นฐาน และการสร้างแรงจูงใจ 1.2 ด้านการจัดทำสาระของ หลักสูตร โรงเรียนเกือบทุกโรงมีการจัดทำสาระของหลักสูตรตามขั้นตอนที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนด ไว้โดยปรับใช้จากเอกสารรายละเอียดสาระการเรียนรู้แกนกลาง รวมทั้งนำเรื่องชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำเป็น สาระการเรียนรู้ มีการกำหนดเวลาและจำนวนหน่วยกิตตามที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยในระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนจัดชั่วโมงเรียนขั้นต่ำของกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษาฯ อย่างน้อย 160 ชั่วโมงต่อปี มากที่สุด ส่วนในระดับช่วงชั้นที่ 4 จัดหน่วยกิต ขั้นต่ำของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ แผนการเรียนทางวิทย์เฉลี่ย 10.48 หน่วยกิจ แผนการ เรียนทางศิลป์เฉลี่ย 13.02 หน่วยกิต โรงเรียนจัดสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรรายวิชาในช่วงชั้นที่ 3 ในลักษณะรวมทั้ง 5 สาระในวิชาเดียวกันมากที่สุด ส่วนในช่วงชั้นที่ 4 จัดสาระการเรียนรู้ในลักษณะ จัดแยกเป็นรายวิชาตามสาระ ทั้ง 5 มากที่สุด โรงเรียนส่วนใหญ่มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ทั้งแบบ แยกตามสาระ บูรณาการในกลุ่มสาระ และระหว่างกลุ่มสาระ อีกทั้งมีการจัดทำแผนการจัดการเรียน รู้และมีการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ 1.3 ด้านการตรวจ สอบหลักสูตร โรงเรียนส่วนใหญ่มี การตรวจสอบความครบถ้วนและความเชื่อมโยงของหลักสูตรตามมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาหลักสูตร 2. ปัญหาการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ พบว่า โรงเรียนประสบปัญหามากในการเตรียมความพร้อมและการตรวจสอบหลักสูตร ส่วนด้านการจัดทำสาระของหลักสูตรเป็นปัญหาน้อย
Other Abstract: The purpose of this research was to study operation and problems of school-based curriculum development in the social studies, religion and culture subject group at the secondary education level in school implementing Basic Education Curriculum B.E 2544 in B.E 2546 academic year. The samples who were the informants were 278 heads of social studies subject group. The research instrument was a set of questionnaire. The collected data were analyzed by frequencies, percentage, means of arithmetic and standard devation. The results of the research were as follows: 1. Operation of school-based curriculum development in the social studies, religion and culture subject group: it was found that most of the schools developed curriculum at all levels at the same time and spent 1-6 months in the process of curriculum development. Teachers had involved in every stage of curriculum organization process. Heads of social studies subject group involved mostly in stage of curriculum preparation and curriculum evaluation. 1.1 The curriculum preparation stage: most of the schools prepared for curriculum development by planning, developing staff's curriculum development competencies, survey of basic information and stimulating motivation. 1.2 The curriculum organization stage: most of the schools organized curriculum content in accordance with the procedures of the Ministry of Education. Schools adapted core curriculum content to be implemented in school social studies and community and local wisdom were included in school-based curriculum. Time allocation and numbers of credits are fixed according to the Ministry of Education: 160 hours per year and minimum credits for science and arts programs were 10.48 and 13.02 credits consequently. Most of the schools organized curriculum content by combining 5 substances at lower secondary level while separate subject based on 5 substances were organized at upper secondary level. Units of teaching were organized in various approaches: separate discipline, integration within discipline and across-discipline areas. Lesson-plans were designed in advance and then follow-up by the improvement of lesson-plans. 1.3 The curriculum evaluation stage: most of the schools evaluated the completion and alignment of social studies school-based curriculum with social studies learning standards and including content reliability. 2. The problems of the operation of school-based curriculum development in the social studies, religion and culture subject group: there were most problem in the curriculum preparation and curriculum evaluation stages but there was less problem in curriculum organization
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7116
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.709
ISBN: 9745325929
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.709
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittisak.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.