Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7133
Title: ภูมิทัศน์ท้องถิ่นกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดน่าน
Other Titles: The local landscape and sufficient economy concept in Nan province
Authors: พลัง สิทธิถาวร
Advisors: พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาที่ยั่งยืน
การออกแบบภูมิทัศน์ -- ไทย -- น่าน
สถาปัตยกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- น่าน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี และเป็นปรัชญานำทางการพัฒนา ของประเทศไทย ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ จังหวัดน่านเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะ กายภาพ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตปัจจัยพื้นฐานของประชาชน ดังนั้นการพัฒนาโดยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาด้วยเงื่อนไขด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การศึกษาการพัฒนาจังหวัดน่าน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงอาจเป็นต้นแบบแก่ การพัฒนาจังหวัดอื่นๆ อย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ในการวิจัยได้ดำเนินการศึกษาเรื่ององค์ประกอบ ทางภูมิทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและทำการสำรวจพื้นที่เพื่อแสวงหาหมู่บ้านที่ มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันมาเป็นตัวแทนในการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์กับแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ท้องถิ่นในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเพื่อพัฒนาจังหวัดต่อไป จากการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นส่วนหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการด้านปัจจัยสี่ และแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นองค์ประกอบ ทางภูมิทัศน์ที่ตอบสนองต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นก็คือองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่ตอบสนองต่อแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน โดยองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ ภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการรักษาโรค พบว่าองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีความพอเพียงต่อความต้องการในระดับครอบครัวและระดับชุมชน จึงสรุปไดว่า องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับอาหารยังคงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่าแนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ได้ขยายความไปมากกว่าการผลิตปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยัง หมายความถึงการประกอบอาชีพ และการเพิ่มผลผลิต มาแลกเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อนำมาใช้ในการ แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยพื้นฐานได้อย่างพอเพียงแทน
Other Abstract: Sufficient Economy (SE) is a philosophy bestowed by His Majesty the King to his people and the country through royal remarks on many occasions over the past three decades. This philosophy applies to practical ways of living for the families, communities, as well as the nation in development and administration. In Nan Province, there have been changes in the landscape feature of the province which inevitably affected local productivity of basic needs of the people. The concept of SE which incorporates the cleverness of folk wisdom has been employed as method of learning and development of a community under the conditions of natural resources and environment. The study of a development of Nan Province under the concept of SE may serve as a model for developmental scheme for other provinces. The research was conducted by acquiring the geographical and managerial information of the communities in Nan Province with different landscape characteristics. The data were analyzed under the framework of SE in order to apply and adapt a surrounding environmental resources and geographical characteristic for a future economical development of Nan Province. The results revealed that the SE is a part of a local folk wisdom because it is related to the 4 basic needs of mankind which are food, clothes, shelter, and medicine. In addition, the concept itself is also applicable to everyday life problem. Food in particular, appeared to be sufficient for local need of living for the families and communities. The various elements of geographical characteristic and environmental resources in the communities are corresponded with folk wisdoms which are in turn complied with the concept of SE. The concept of Sufficient Economic is not only confined to production of the fundamental needs of life but to generate other products which in turn creates more job and increased income. This surplus income can then be used to acquire the deficient fundamental needs of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7133
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.450
ISBN: 9741746458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.450
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
palang.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.