Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71465
Title: การประเมินการใช้ยาพ่นจมูกของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
Other Titles: Evaluation of the use of nasal sprays in patients with respiratory diseases
Authors: ธนรุตต์ สมะพงษ์
พิมพ์ชนก ศรีเสมอ
ภริดา โทนุสินธ์
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ทางเดินหายใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
การให้ยาทางจมูก
การรักษาทางเดินหายใจ
สเตียรอยด์
Issue Date: 2560
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก (intranasal corticosteroid) จึงมีการสั่งใช้มากขึ้นแต่เนื่องจากยารูปแบบนี้มีขั้นตอนการใช้ยาที่ซับซ้อนและทุกขั้นตอนมีผลต่อประสิทธิภาพหรือผลข้างเคียง ดังนั้นการให้คาปรึกษาโดยเภสัชกรเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คาปรึกษาในด้านความรู้และปัญหาด้านขั้นตอนการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ด้วย Wilcoxon signed rank test โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยนอกแผนกโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจำนวน 93 รายที่ได้รับการสั่งจ่ายยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ พบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 3.1 ที่สามารถใช้ยาพ่นจมูกได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอนก่อนการให้ความรู้และมีความถูกต้องในการใช้เฉลี่ยร้อยละ 75.96 โดยขั้นตอนที่มักทำผิดมากที่สุดคือขั้นตอนการหันส่วนปลายของหัวพ่นยาออกทางด้านข้างของจมูก ให้ห่างจากจุดกึ่งกลางของสันจมูก (ร้อยละ 35.7) จากการติดตามหลังการให้ความรู้ในครั้งที่ 1 เป็นระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์พบว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาพ่นจมูกได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีความถูกต้องในการใช้เฉลี่ยร้อยละ 89.69 ซึ่งเพิ่มจากก่อนการให้ความรู้ร้อยละ 13.73 อย่างไรก็ตามหลังการให้ความรู้ในครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์พบว่าสามารถเพิ่มร้อยละความถูกต้องในการใช้เฉลี่ยได้ 5.99 ดังนั้นการให้ความรู้จึงช่วยเพิ่มความถูกต้องของขั้นตอนการใช้ยาได้หลายขั้นตอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.1) เช่น ขั้นตอนที่ 5, 7, 9 และ 10 ที่สามารถเพิ่มความถูกต้องได้ตั้งแต่การให้ความรู้ในครั้งแรกและขั้นตอนที่ 9 สามารถเพิ่มความถูกต้องได้ในการให้ความรู้ครั้งที่ 2 จากการสังเกตเพิ่มเติมพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 55 ปีมีแนวโน้มที่จะทำผิดซ้ำในข้อเดิม ดังนั้นเภสัชกรอาจต้องให้ความสำคัญในการให้ความรู้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ
Other Abstract: Nowadays, there are many patients suffering with respiratory diseases, therefore intranasal corticosteroids are being used widely to reduce symptoms. The right usage of this medication is quite complicated to use associated with its safety and efficacy. This study was to evaluate patients' knowledge and understanding of using nasal sprays comparing between before and after education session by the researchers. The objective of this research was to study whether education could improve the correct usage of nasal spray. Results were reported as percentage and p-value using Wilcoxon signed rank test. Ninety-three outpatients in Otalaryngologic Clinics at Chulalongkorn Hospital were interviewed about their steps of using intranasal steroid using the closed-ended questionnaires. We found that before the education there was only 3.1% of patients were able to follow all the steps correctly and the average of the corrected usage was 75.96%. The step that patients did wrong the most was to insert the tip of nasal spray into nostril but away from the nasal septum (35.7%). However, after the first follow-up education session which had the duration of 2-4 weeks, patients who missed these steps were able to correct them significantly (p=0.1). All steps were corrected in 89.69% of patients after the first follow-up education session (13.73% higher). Moreover 5.99% of patients improved after the second follow-up education session. There were 4 steps (step 5, 7, 9 and 10) that were done correctly significantly (p=0.1) after only one education. Step 9 was the only step that patients can improve more if there was more than one education session. Furthermore, patients with ages over 55 years old tended to fail the same steps more than other populations. Therefore, pharmacists should pay more attention to these patients.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71465
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_2560_1.pdfไฟล์โครงงานปริญญานิพนธ์ฉบับเต็ม769 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.