Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71700
Title: | กรอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับองค์กรกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคม |
Other Titles: | Conceptual framework and theory about telecommunication regulatory body |
Authors: | อรดา เทพยายน |
Advisors: | สุธรรม อยู่ในธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | นโยบายโทรคมนาคม โทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ โทรคมนาคม -- ปริมาณการใช้ Telecommunication policy Telecommunication -- Law and legislation Telecommunication -- Traffic |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคม โดยเน้นศึกษาถึงการกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคมในรูปขององค์กรว่ามีแนวคิดอย่างไร การศึกษาวิจัยเน้นถึงแนวโน้มและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแข่งขันขึ้นในภาคการให้บริการ โทรคมนาคม และศึกษาหลักการในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาท และข้อจำกัดของผู้กำกับดูแล นอกจากนี้ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะขององค์กรกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคมของ ประเทศต่าง ๆ และหลักการจากความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อค้นพบแนวความคิดและมาตรฐาน ทางกฎเกณฑ์ขององค์กรกำกับดูแลที่สามารถจะนำมาปรับใช้กับกรณีของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคมเกิดขึ้นจากความล้มเหลวของการกำกับดูแลในรูปแบบของกลไกตลาด และหน่วยงานราชการ ซึ่งก่อให้เกิดการกำกับดูแล ที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน ในตลาดการให้บริการโทรคมนาคม ผลสรุปของการศึกษาได้เสนอแนะถึงกรณีประเทศไทยว่า ในการที่จะก่อให้เกิดการกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคม ที่สร้างความเป็นธรรมต่อกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ จะต้องมีมาตรการ ดังต่อไปนี้ 1. ตรากฎหมายว่าด้วยกิจการโทรคมนาคม 2. จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งหลักการพื้นฐานทางกฎหมาย ที่จะควบคุมการทำงานขององค์กรดังกล่าวจะต้องประกอบไปด้วยหลักการสำคัญคือ หลักความเป็นอิสระ หลักความโปร่งใส หลักความเป็นกลาง และหลักความรับผิดชอบที่สอบทานได้หรือหลักการ ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ |
Other Abstract: | The purpose of this Thesis is to study telecommunication services regulation especially the legal theory relating to telecommunication regulatory body. The author analyzes trends and factors which foster competition in telecommunication sector. The author also studies legal principles which deal with the role and limit of regulator. Further the author undertakes comparative study of various foreign telecommunication regulatory agencies and international agreements in order to find norm and standard that can be adapted to Thai context. The author finds that the telecommunication regulatory body is prompted by failure of market and bureaucracy which result in inefficiency and unfair rules for competition in a market for telecommunication service. It is proposed that Thailand undertake the following measures : 1. Adopt Telecommunication Act 2. Establish a telecommunication regulatory agency. The main legal principles that governs the work of such a regulator should be Independence, Transparency, Impartiality and Accountability or Check & Balance of authority. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71700 |
ISBN: | 9746385607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Orada_te_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 544.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch1.pdf | บทที่ 1 | 207.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch2.pdf | บทที่ 2 | 699.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch3.pdf | บทที่ 3 | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch4.pdf | บทที่ 4 | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch5.pdf | บทที่ 5 | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_ch6.pdf | บทที่ 6 | 549.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Orada_te_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 476.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.