Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71702
Title: | Fungi in the deterioration of ancient woodcarving in the National Museum, Bangkok |
Other Titles: | ราที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของไม้จำหลักโบราณ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
Authors: | Chainamm Prempreechakul |
Advisors: | Suthep Thaniyavarn Chiraporn Aranyanak |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] No information provided |
Subjects: | Wood-carving Fungi เชื้อรา เครื่องไม้จำหลัก |
Issue Date: | 1997 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้กระทำเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางจุลชีพ อันได้แก่ ราที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของไม้ซึ่งอยู่ในมุขเด็จด้านตะวันตกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยตัวอย่างราจะถูกเก็บทุกสองสัปดาห์ระหว่างเวลา 9.00-12.00 น.ตลอดทั้งปีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ถึงเดือนมกราคม 2541 สำหรับราในอากาศจะถูกเก็บด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศ (Burkard portable air sampler for agar plates) ส่วนการเก็บราบนพื้นผิวของไม้จำหลักนั้นใช้วิธีการป้ายด้วยไม้พันสำลี โดยอาหารที่ใช้สำหรับการคัดแยกคือ Rose Bengal Potato Dextrose Agar ที่ ผสม Streptomycin นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาทุกวันยังได้ทำการบันทึกอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศด้วยเครื่องบันทึกแบบอัตโนมัติ (Data Loggers) ซึ่งค่าเฉลี่ยตลอดปีของอุณหภูมิและความชื้น สัมพัทธ์ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดีเท่ากับ 29.3 องศาเซลเซียสและ 71.1 เปอร์เซนต์ ส่วนในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวกมีค่าเห่ากับ 29.1 องศาเซลเซียสและ 71.8 เปอร์เซนต์ตามลำดับ และยังพบว่าทั้งสองบริเวณมีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ ปริมาณเฉลี่ยตลอดปีของราในอากาศและราบนพื้นผิวไม้เท่ากับ 1,222.1 หน่วยโคโลนีต่อลูกบาศก์เมตรและ 117.4 หน่วยโคโลนีต่อตารางเดซิเมตรตามลำดับ โดยในฤดูฝนปริมาณของราจะมีค่าสูงที่สุด จากการศึกษา พบรา 13 สกุลในอากาศและ 12 สกุลบนพื้นผิวไม้ โดยชนิดที่เด่นในอากาศได้แก่ Aspergillus spp. (69.9 เปอร์เซนต์) และ Pénicillium spp. (17.2 เปอร์เซนต์) ส่วนราชนิดที่เด่นบนพื้นผิวไม้ได้แก่ Aspergillus spp. (51.7 เปอร์เซนต์) และ Fusarium spp. (23.9 เปอร์เซนต์) ราส่วนใหญ่ที่คัด แยกได้นั้นก่อให้เกิดวงใสรอบโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Carboxymethyl Cellulose Agar ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงนัยที่ว่าราอาจมีอิทธิพลต่อการเสื่อมสภาพของไม้ |
Other Abstract: | The present study was conducted in order to establish relationship between environmental factors and that of microbiological factors such as wood-deterioration fungi at the Western Hall in the Bangkok National Museum. Samples were collected biweekly between 9.00 hours to 12.00 hours up to one year, from February 1997 to January 1998. Burkard portable air sampler for agar plates was used for sampling airborne fungi, while swab technique was employed for collecting fungi on woodcarving surface. Rose Bengal Potato Dextrose Agar with streptomycin was used as isolating medium. Atmospheric temperature and relative humidity were recorded by Data Loggers daily. It was found that the average annual temperature and relative humidity at well-ventilated area were 29.3°c and 71.1%, and at poor-ventilated area were 29.1°c and 71.8%, respectively, statistical analysis revealed significant difference between two areas at 95% confidence. The average annual quantity of total airborne fungi and surface fungi were 1,222.1 CFU/m3 and 117.4 CFU/dm2, respectively. Number of fungi was found peaked in rainy season with a total of thirteen genera was recorded in air and twelve genera were found on wood surface. The dominant fungi in air were Aspergillus spp. (69.9%) and Pénicillium spp. (17.2%), and those on wood surface were Aspergillus spp. (51.7%) and Fusarium spp. (23.9%). Most of the fungal isolates gave clear zone around the colonies on Carboxymethyl Cellulose Agar indicating cellulase producing fungi. Such results suggested that fungi may exert the cellulolytic effect for wood deterioration. |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1997 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Environmental Science (Inter-Department) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71702 |
ISBN: | 9746389599 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chainamm_pr_front.pdf | Cover and abstract | 340.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_ch1.pdf | Chapter 1 | 135.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_ch2.pdf | Chapter 2 | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_ch3.pdf | Chapter 3 | 493.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_ch4.pdf | Chapter 4 | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_ch5.pdf | Chapter 5 | 55.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chainamm_pr_back.pdf | Reference and appendix | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.