Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7214
Title: | การรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยจากสิ่งแวดล้อมของผู้พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Environmental exposure to volatile organic compouds (VOCs) of Bangkok metropolitan residents |
Authors: | สาวิตรี พูลมา |
Advisors: | ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ ตุลวิทย์ สถาปนจารุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- แง่สิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ -- ไทย -- กรุงเทพฯ สารอินทรีย์ระเหย |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) จากสิ่งแวดล้อมของผู้พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการเก็บตัวอย่างสาร VOCs บริเวณริมถนน (Roadside) และพื้นที่ทั่วไป (Non-Roadside) ใน 9 เขต พื้นที่ ได้แก่ เขตพระโขนง ยานนาวา จตุจักร ราชเทวี บางกะปิ บางกอกน้อย บางแค ประเวศ และคันนา ยาวในระหว่างวันที่ 20-27 กรกฎาคม 2548 ทำการเก็บตัวอย่าง VOCs โดยใช้หลอดเก็บตัวอย่าง passive gas tube เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละจุดเก็บตัวอย่างทำการเก็บตัวอย่าง 3 ลักษณะ คือ ภายนอกอาคาร (outdoor) ภายในอาคาร (indoor) และที่บุคคลได้รับสัมผัส (personal) ตัวอย่างที่เก็บได้นำมาสกัดด้วย สารละลาย CS[subscript2] และวิเคราะห์หาชนิด และปริมาณโดย GC/MS จากการศึกษาพบ VOCs จำนวน 16 ชนิด ซึ่งในทุกพื้นที่ศึกษาจะพบ VOCs 6 ชนิดเป็นหลัก ได้แก่ Benzene, Toluene, Ethylbenzene, m-Xylene, p-Xylene และ o-Xylene และ มีปริมาณเฉลี่ยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 18.9 76.1, 60.2 213.7, 2.6 15.9, 5.7 26.2, 4.1 21.5 และ 3.7 18.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการเก็บตัวอย่างสาร VOCs ทั้ง 3 ลักษณะ พบว่า ปริมาณ VOCs ทุกชนิดที่พบบริเวณริมถนนสูงกว่าพื้นที่ทั่วไป ยกเว้น สาร Limonene ที่พบว่า บริเวณพื้นที่ทั่วไปสูงกว่าบริเวณริมถนน จากการเปรียบเทียบปริมาณ VOCs ภายนอกอาคารในแต่ละพื้นที่ ศึกษาพบปริมาณสาร VOCs ปริมาณสูงในเขตพระโขนง (ถนนสุขุมวิท) และ เขตจตุจักร (ถนนพหลโยธิน) และต่ำที่เขตประเวศ (ถนนศรีนครินทร์) และเขตบางแค (ถนนเพชรเกษม) แต่ปริมาณ VOSs ภายในอาคาร และที่บุคคลได้รับสัมผัสพบว่า มีแนวโน้มที่ไม่สอดคล้องกับ VOCs ที่ปรากฎภายนอกอาคาร เนื่องจาก ความแตกต่างของลักษณะบ้าน และกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย สัดส่วนปริมาณความเข้มขัน VOCs ภายใน อาคารเทียบกับภายนอกอาคาร (I/O ration) ที่พบทั้งหมดของที่พักอาศัยบริเวณริมถนน และพื้นที่ทั่วไป มีค่าประมาณ 0.6 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ VOCs ที่ปรากฎบริเวณพื้นที่ภายนอก อาคาร ภายในอาคาร และที่บุคคลทั่วไปได้รับ พบว่า ปริมาณสาร VOCs เกือบทุกชนิดที่ตรวจวัดภายใน อาคารมีความสัมพันธ์กับบุคคลได้รับสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญ การคาดคะเนปริมาณ VOCs ที่บุคคลได้รับ สัมผัสจากสมการ Time Weight Average พบว่าค่าจริงที่ได้จากการตรวจวัดเทียบกับค่าที่ได้จากการ คาดคะเน (Po/Pi) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5-0.8 ยกเว้น สาร Limonene |
Other Abstract: | Environmental exposure to volatile organic compounds (VOCs) of Bangkok metropolitan residents was assigned to study in roadside and non-roadside areas of nine selected districts including Phakhanong, Yannawa, Chatuchak, Rajthavee, Bangkapi, Bangkok Noi, Bangkhae, Prawet and Khanna Yao. The sampling was performed during 20 to 27 July 2005. At each sampling site, three categories of samples were collected, outdoor, indoor and personal. VOCs samples were collected for 24 hours using passive gas tube. Each sample was taken to extracted with CS[subscript 2] and to qualitative and quantitative analysis by GC/Ms. Sixteen target VOCs could be found and six of those such as Benzene, Toluene, Ethylbenzene, m-Xylene, p-Xylene and o-Xylene were mainly observed in all study areas with the ranges of 18.9 76.1, 60.2 213.7, 2.6 15.9, 5.7 26.2, 4.1 21.5 and 3.7-18.9 us/m[superscript 3] respectively. For all samples categories, the results show that VOCs concentrations measured at roadside were relatively higher than those at non-roadside, except limonene which was found at non - roadside higher than at roadside. When compared outdoor VOCs concentration between of all study areas, high level of VOCs was found in Phakhanong (Sukumvit Rd.) and Chatuchak (Phaholyotin Rd.), while the concentration observed at Prawet (Srinakarin Rd.) and Bangkhae (Phetkasem Rd.) was low. However, indoor and personal VOCs concentration were not concoid with those presented at outdoor because difference of house characteristics and residents activity. Indoor/outdoor (I/O) ratios VOCs concentation of all residential in roadside and non-roadside areas were about 0.6 From analysis on correlation of average VOCs concentration of personal exposure to indoor and to outdoor, statistical significant coorelation of personal exposure to indoor was obtained. Predicted personal exposure level (Pi) using Time Weight Average equation showed relatively higher than those observe (Po) which was expressed as Po/Pi with the values of 0.5-0.8, except limonene. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7214 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1023 |
ISBN: | 9745329789 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.1023 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sawithree.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.