Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72320
Title: | ภาวะของการผลิตไบโอพอลิเมอร์จาก Aureobasidium pullulans |
Other Titles: | Production conditions of biopolymer from Aureobasidium pullulans |
Authors: | พงษ์ศักดิ์ ละไมพิศ |
Advisors: | หรรษา ปุณณะพยัคฆ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โพลิเมอร์ชีวภาพ -- การผลิต เชื้อรา -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ Biopolymers -- Production Fungi -- Cultures and culture media Pullulanase |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Aureobasidium pullulans ที่เลือกใช้สำหรับการวิจัยคือ สายพันธุ์ NRRL 6992 และ ATCC 42023 เมื่อเลี้ยงในอาหารสูตร PDB ที่อุณหภูมิ 30℃ พบรูปร่างหลายแบบจาก 2 สายพันธุ์ประกอบด้วย รูปร่างแบบบลาสโตสปอร์ (blastospore) คลาไมโดสปอร์ (chlamydospore) เซลล์พอง (swollen cell) และรูปร่างแบบเส้นใย (hyphae) การสร้างเม็ดสีเมลานินจะเกิดขึ้นภายในเซลล์ และหลั่งออกภายนอกเซลล์ พบการสร้างเม็ดสีเมลานินเฉพาะสายพันธุ์ ATCC 42023 แต่ไม่พบกับสายพันธุ์ NRRL 6992 ชนิดของแหล่งไนโตรเจนมีอิทธิพลต่อสีของเม็ดสีที่เกิดขึ้นโดยเม็ดสีเหลืองจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ (NH₄)₂SO₄ หรือ NH₄NO₃ เป็นแหล่งไนโตรเจนแต่จะเปลี่ยนเป็นเม็ดสีดำเมื่อใช้เปบโตนเป็นแหล่งไนโตรเจน ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอพอลิเมอร์พูลลูแลนจาก Aureobasidium pullulans สายพันธุ์ NRRL 6992 พบว่า ให้ผลผลิตสูงสุด 0.310 กรัม/กรัมของแหล่งคาร์บอน เมื่อระดับ pH เริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อคือ 6.5 ที่อุณหภูมิ 30℃ โดยมีซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอน และ (NH₄)₂SO₄ เป็นแหล่งไนโตรเจนมีปริมาณผลผลิตต่ำกว่าสายพันธุ์ ATCC 42023 อย่างมีนัยสำคัญซึ่งให้ผลผลิตพูลลูแลนสูงสุด 0.520 กรัม/กรัมของแหล่งคาร์บอน เมื่อระดับ pH เริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อคือ 6.5 ที่อุณหภูมิ 30℃ โดยมีซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอน และ (NH₄)₂SO₄ เป็นแหล่งไนโตรเจน การศึกษาเปรียบเทียบการสลายตัวของพูลลูแลนบนผิวดินเป็นเวลานาน 9 วัน พบว่า พูลลูแลนที่ผลิตจากสายพันธุ์ NRRL 6992 มีการสลายตัวได้ดีกว่าพูลลูแลนที่ผลิตจากสายพันธุ์ ATCC 42023 |
Other Abstract: | Two strains of Aureobasidium pullulans, NRRL 6992 and ATCC 42023, were selected for the investigation. Both exhibited pleomorphic natures of the yeast comprising of blastospores, chlamydospores, swollen cells and hyphae. The ATCC 42023 strain produced melanin pigments inside the cell and excreted outside while the NRRL 6992 did not produce the melanin. Nitrogen sources have some influences on the melanin production. Yellow pigments occurred when either (NH₄)₂SO₄ or NH₄NO₃ was used as a nitrogen source. Black pigments were produced when peptone was used instead. The optimized conditions for the production of pullulan biopolymer from both strains were found to be at 30℃, pH 6.5, with sucrose and (NH₄)₂SO₄ as the preferred carbon and nitrogen sources, respectively. The pullulan yield from ATCC 42023 was significantly higher (0.52 g/g C-source) than NRRL 6992 (0.31 g/g C-source). Comparison of the degradation of pullulan sticks prepared from each strain under natural environments revealed that the NRRL 6992 polymer sticks were naturally degraded more rapidly than the others. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72320 |
ISBN: | 9746385798 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongsak_la_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 755.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 992.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 430.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 592.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 220.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pongsak_la_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 817.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.