Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72433
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.advisor | ธิดารัตน์ บุญนุช | - |
dc.contributor.author | เฉลิมชัย มนูเสวต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-25T07:07:12Z | - |
dc.date.available | 2021-02-25T07:07:12Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9740300863 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72433 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริการชุมชน ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พัฒนารูปแบบวิชาที่ใช้การเรียนการสอนเชิงบริการและศึกษาผลของการใช้รูปแบบวิชาที่ใช้การเรียนการสอนเชิงบริการ ที่มีต่อพัฒนาการขอนักศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบวิชาที่ใช้การเรียนการสอนเชิงบริการ และทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นนักศึกษาวิทยาลัยโยนกที่เรียนวิชาสังคมวิทยา จำนวน 20 คน ทดสอบก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดพัฒนาการด้านต่างๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การเห็นคุณค่าของตนเอง ภาวะผู้นำ แบบสอบถามความคิดเห็นและประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบริการ ใช้เวลาทำการทดลอง 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริการชุมชน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบทศึกษา ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักสูตร ที่เป็นวิชากลุ่มศึกษาทั่วไป วิชาเอก และวิชาเลือก โดยภาพรวมรูปแบบการเรียนการสอนยังเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนมากกว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 2. รูปแบบวิชาที่พัฒนาขึ้น เป็นการบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรมนักศึกษา ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยมุ่งพัฒนานักศึกษาทั้งในด้านองค์ความรู้ และบุคลิกภาพ จัดการเรียนการสอนเป็นภาคทฤษฎี 30% ภาคทฤษฎีและกิจกรรม 50% ภาคกิจกรรมบริการชุมชน 20% เนื้อหาวิชามี 2 ส่วน คือ เนื้อหาในรายวิชานั้น ๆ กับเนื้อหาที่เกี่ยวกับกิจกรรมการบริการชุมชน การประเมินผลประเมินจากความรู้ในเนื้อหาวิชาและการสะท้อนผลการเรียนรู้จากการบริการชุมชน 3. หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงบริการ นักศึกษามีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งในด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การเห็นคุณค่าในตนเอง ภาวะผู้นำ และการแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ของตนเอง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study and analyze a service learning course model in higher education institutions under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs. In addition, the research aims to develop a service-learning course model and to study the impact of the course on the development of the students. The samples were 20 students of Yonok College, studying in the principles of sociology. The researcher conducted pre-test and post-test on the students' development on various aspects such as interpersonal relations, interpersonal communication, self -esteem, and leadership. The questionnaire was used to explore the students' opinion and experience with the service-learning course. The experiment took 10 weeks and the descriptive statistics such as mean, standard deviation, and percentage were used to derive the conclusions. The study revealed the following results. 1. Contents of most of the community - service related courses, as appearing in the curriculum, mostly involve sub-urban studies. The courses mainly were in the foundation courses, and also in major and elective courses. Overall, the courses were conducted in classrooms rather than in the field. 2. The model was developed as an integration of classroom lecture, student activities, other curriculum-related activities, and performance measurement. The model can developed a body of knowledge and personality development for student. 3. After the treatment, the students' performance was obviously improved in all of the observed aspects: interpersonal relation, interpersonal communication, self-esteem, leadership, and personal opinion expression. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บริการสังคม | en_US |
dc.subject | การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง | en_US |
dc.subject | ค่ายพัฒนาชนบท | en_US |
dc.subject | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา | en_US |
dc.subject | ชนบทศึกษา | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบวิชาที่ใช้การเรียนการสอนเชิงบริการในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title.alternative | A development of service learning course model in higher education institutions under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chalermchai_ma_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 801.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 794.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 947.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chalermchai_ma_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.