Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72442
Title: การพัฒนาแบบจำลองสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ชนิดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเบดนิ่ง
Other Titles: Model development for a fixed-bed catalytic reactor
Authors: ประวิทย์ คงจันทร์
Advisors: ธราธร มงคลศรี
ศิริพล คุณาธิปพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยา
จลนศาสตร์
Catalysts
Kinematics
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยที่นำเสนอในรายงานนี้นั้นเป็นการศึกษาทางทฤษฏีและการคำนาณเพื่อสร้างแบบจำลองของเครื่องปฏิกรร์สำหรับทำนายโพรไฟลืของอุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์ชนิดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเบดนิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมโดยที่ผลการคำนวณที่ได้มาจากแบบจำลองนั้นจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการปฏิบัติการจริงของเครื่องปฏิกรณ์ ปฏิกิริยาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือปฏิกิริยาออกซิเดชันบางส่วนของ o-xylene ไปเป็น phthalic anhydride ในเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต phthalic anhydride 9000 ท่อ, เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อ 25 มม., ความยาวท่อ 3.2 ม.) ซึ่งถูกบรรจุไว้ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาชนิด V₂O₅/TiO₂ โดยมีความยาวชั้นเบด 2.75 ม. ที่มีค่าความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาต่างกันเป็นสองชั้นเบดดังนี้ ชั้นเบดบนมีค่าความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาต่ำกว่าเพื่อหลีกเลียงการเกิดอุณหภูมิที่จุดร้อนจัดสูงเกินไปส่วนชั้นเบดล่างมีค่าความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาสูงกว่าเพื่อให้ o-xylene เกิดปฏิกิริยาประมาณ 99-100 % สำหรับความร้อนจากปฏิกิริยาจะถูกระบายออกโดยใช้เกลือหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 354 ℃แบบจำลองของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเบดนิ่งชนิด two-dimensional pseudo-homogeneous ที่สภาวะคงตัว ที่มีการคิดจลนพลศาสตร์การเสื่อมของตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผันกลับได้ ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา โดยใช้การแก้ปัญหาเชิงตัวเลขของระเบียบวิธีผลต่างสืบเนื่องและระเบียบวิธีรุงเงขคุตตา จากการจำลองแบบจำลองเครื่องปฏิกรณ์พบว่าจำเป็นต้องมีการปรับตัวแปรต่างๆที่สำคัญเพื่อให้แบบจำลองสามารถทำนายโพรไฟล์ของอุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์ได้ใกล้เคียงกับโพรไฟล์ของอุณหภูมิที่ได้จากการปฏิบัติการจริงของเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ได้แก่ 1) ค่า Biot Number 20 ค่า Radial Number of Heat Tranferและ 3) ค่าจลนพลศาสตร์การเลื่อมของตัวเร่งปฏิกิริยา (k₁.₀) นอกจากนี้แล้วแบบจำลองที่มีการปรับตัวแปรต่างๆ ให้เหมาะสมกับเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ยังสามารถทำนายโพรไฟล์ของอุณหภูมิที่สภาวะปฏิกิริยาอื่นในสภาวะคงตัวได้ใกล้เคียงกับโพรไฟล์ของอุณหภูมิที่ได้จากการปฏิบัติการจริงของเครื่องปฏิกรณ์ โดยค่าอุณหภูมิที่จุดร้อนจัดที่ได้จากการทำนายจะมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการปฏิบัติการจริงประมาณ โดยแบบจำลองสามารถทำนายตำแหน่งของอุณหภูมิที่จุดร้อนจัดได้ตรงกับที่ได้จากการปฏบัติการจริง ในขณะที่อุณหภูมิที่จุดร้อนจัดที่ได้จากการทำนายจะมีค่าสุงกว่าที่ได้จากการปฏิบัติการจริงประมาณ 1- 3 ℃
Other Abstract: The research presented in this thesis is a theoretical and computational study on development of a fixed-bed catalytic reactor model for prediction steady state temperature profile within an industrial reactor. The prediction results are compared with those which have been measured experimentally. The reaction studied in this work is the partial oxidation of 0-xylene to phthalic anhydride in an industrial fixed-ded catalytic reactor (9000 tubex25 mm. ID x 3.2 m.long) The bed height is 2.75 m. packed with two layers of V₂O₅/TiO₂ catalyst with different activity. The upper layer catalyst exhibits lower activity, so as to avoid excessive hot spot, The higher activity of the bottom layer catalyst ensures conversions of 99-100%. The heat of reaction was removed by molten salt bath at temperature about 354 ℃. A two dimensional pseudo-homogeneous steady state model of a fixed-bed catalytic reactor with a reversible deactivation kinetic was developed and solved by finite difference and Runge-Kutta. From simulation, it was found that the following model parameters 1) Biot number 2) Radial peclet number for heat transfer and 3) Deactivation kinetic parameter (k₁.₀) were needed to be adjust. It is found that a good agreement is obtain between the predicted and experimentally observe steady state temperature profiles. The reactor model, which already abjust such parameters also can predict the temperature profile, that can fit with the temperature profile obtained experimentally very well at several operating conditions tested. The same position of hot spot temperature can obtain from both predicted model and observed experiment whereas the predicted hot spot temperature is higher than the experimentally observe hot spot temperature about 1-3 ℃.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72442
ISBN: 9743330755
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prawit_ko_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ682.45 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1525.96 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.59 MBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch4_p.pdfบทที่ 4764.37 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.48 MBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_ch6_p.pdfบทที่ 6344.21 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.