Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72454
Title: | ผลของการระบายน้ำที่มีต่อการเปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าวชนิดนาสวน |
Other Titles: | Effect of water drainage on methane emission from lowland rice crop |
Authors: | ศุภสุข ประดับศุข |
Advisors: | อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | มีเทน ข้าว -- การเจริญเติบโต Methane Rice -- Growth |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นาข้าวประมาณนาน้ำขังเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของกิจกรรมมนุษย์ในการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ สำคัญ ข้านาสวนมีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงเนื่องจากมีการขังน้ำไว้ในนาตลอดช่วงการเพาะปลูก แนวทางในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวมีหลายวิธี เช่น การจัดการน้ำ การใส่ปุ๋ย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวและวิธีการเพาะปลูก ทั้งนี้การจัดการน้ำเป็นวิธีการที่สามารถรักษาระดับผลผลิตข้าวได้ โดยการปลูกข้าวในระดับน้ำตื้น และการระบายน้ำออกจากนาในช่วงสั้น ๆ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี่จึงมุ่งเน้นไปที่การระบายน้ำและปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าวชนิดนาสวน โดยศึกษาวิจัยในกระถางในเรือนเพาะชำที่บางเขน และสถานนีทดลองข้าวชัยนาท ด้วยแผนการทดลองแบบ 2 Factors Factorial in Randomize Complete Block Design ทำ 3 ช้ำ ประกอบด้วย พันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ (ชัยนาท 1 และขาวดอกมะลิ 105 ) และการระบายน้ำจากระดับน้ำ 20 ซม. ใน 3 ช่วงเวลาหลังปักดำ (30 วัน 60 วัน และ30กับ 60 วัน) ดินที่ใช้ คือ ชุดดินนครปฐม กำหนดให้สถานที่ตั้งของการทดลองเป็นจำนวนซ้ำของชุดหน่วยทดลอง หนึ่งหน่วยทดลอง คือ กระถางขนาด 0.6x0.6x0.6 ม. เก็บตัวอย่างตามระยะการเจริญเติบโตของข้าวและช่วงเวลาการระบายน้ำ ด้วยตู้ครอบขนาด 0.6x0.6x0.5 ม. ที่เพิ่มขึ้นตามความสูงของต้นข้าว วิเคราะหืปริมาณก๊าซมีเทนด้วยวิธี Gas Chromatography (FID) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า อัตราเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และขาวดอกมะลิ 105 เท่ากับ 13.12 และ 5.73 มก/ตร.มซม. อัตราการปล่อยก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของข้าว โดยมีอัตราสูงสุดที่ระยะเมล็ดน้ำนมในขณะที่ดินขังน้ำโดยไม่ปลูกข้าวมีอัตราเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซมีเทนเท่ากับ 5.12 มก./ตร.ม./ซม. ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศของแต่ละที่ตั้งการทดลองมีอิทธิพลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนเฉพาะในช่วงที่ขังน้ำในการปลูกข้าว มวลชีวภาพของต้นข้าวไม่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทน ปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทน คือ พันธุ์ข้าว ระยะการเจริญของข้าว ความสูงและจำนวนต้นต่อกระถาง สภาพภูมิอากาศของที่ตั้งการทดลอง จังหวะและช่วงเวลาการระบายน้ำ ระดับและความยาวนานในการขังน้ำ การขังน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูกมีผลให้ ดินไม่ปลูกข้าวมีอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดินที่ปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดินที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 แต่ภายหลังการระบายน้ำเพื่อเก็บเกี่ยว ดินไม่ปลูกข้าวกลับมีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงกว่าดินที่ปลูกข้าวทั่งสองพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การระบายน้ำในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว ส่งผลให้อัตราการปล่อยก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 4 ของการระบายน้ำ แล้วลดลงอย่างมากและรวดเร็ว การระบายน้ำในช่วง 30 วันหลังปักดำไม่ส่งผลทันทีต่อการลดปริมาณก๊าซมีเทน ในขณะที่การระบายน้ำในช่วง 60 วันหลังปักดำ ส่งผลให้เกิดการลดลงของปริมาณก๊าซมีเทนในการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ผลของการระบายน้ำต่อการปล่อยก๊าซมีเทนตลอดฤดูกาลเพาะปลูก พบว่าการปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ระบายน้ำในช่วง 30 วัน : 60 วัน : 30,60 วันหลังปักดำ มีอัตราเฉลี่ยการปล่อยก๊าซมีแทนกับ 11.30, 9.20 และ 7.52 มก/ตร.ม/ซม. ตามลำดับ ส่วนการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีอัตราเฉลี่ยการปล่อยก๊าซมีเทนเท่ากับ 5.50, 5.24 และ 4.60 มก./ตรม./ซม. ตามลำดับ โดยที่การระบายน้ำไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างของการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรักษาระดับน้ำในการปลูกข้าวทั้งสองพันธุ์ ทั้งนี้ปริมาณก๊าซมีเทนในดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเจริญเติบโตของข้าว โดยไม่พบว่าว่ามีความต่างระหว่างผลผลิตข้าวพันธุ์เดียวกันที่ได้รับจากการปลูกข้าวที่มีเงื่อนไขการจัดการน้ำต่างกัน |
Other Abstract: | Flooded rice fields are considered to be among higest hyperemic source of atmospheric methane. One of important greenhouse gases. The mitigation options for methane emission from rice paddy fields are water management, fertilizer application, rice cultivars and cultural practices. Concerning water management enabled the decreasing of methane with shollow water regime lead to the study on drainage and factors affected on methane emission from lowland rice crop. Pot experiment was carried out at greenhouses of Bangkhen and Chainat by using of 2 factors in randomized complete block design with 3 replications for 2 rice varieties (CNT1 and KDML 105 ) and 3 times drainage (30 day: 30, 60 day after transplanting) with Nakorn Pathom soil series. Replications were locations. One experimental unit is pot size 0.6x0.6x0.6m³ Sampling period followed rice growth stages and during drainage by 0.6x0.6x0.5 m³ closed chamber corresponded to the height of rice plants. Gas chromatography (FD) was the technique for analyzed methane gas. The results showed that average methane emission rate fo rice varieties CNT1 and KDL 105 were 13.12 and 5.73 mg/m³/hr. Milkgrain stage is the highest methane emission rate of rice plant. Average methane emission of standing water in non planted rice soil was 5.12 mg/m³/hr. Temperature of location had the effect on methane emission only in flooding period. Biomass of rice plant had no effect on methane emission. Factors affecting the methane emission rate were rice variety .growth of rice plant, the rice height. The number of rice plant per pot. The temperature of location. Timing of drainage, and time of standing water. Continuous flooding resulted in lower methane emission from non planted rice than soil planted with CNT1 singnificantly, but no significant difference when compared with soil planted with KMDL 105. In contrast. After post harvest drainge, methane emission from non planted rice soil was higher than planted rice soil singnificantly. Drainage during cultivation period resulted in the highest methane emission at the fourth day of drainage and rapid decrease later on. After reflooding the decrease fo methane did not respond to drainage and rapid decrease later on .After reflooding the decrease of methane emission did not respond to drainage at 30 day after transplanting immiediately. The drainage at 60 day after transplanting decreased methane of soil planted with CNT1. Where as KMDL 105 did not appear this effect. An averaqe methane emission rate after drained at 30 day: 60 day: 30,60 day of transplanting were 11.30, 9.20, 7.52 mg/m³/ht for the soil planted with CNT1, and 5.50, 5.24, 4.60 mg/m³/hr for the soil planted with KMDL 105. In addition, methane production in soil was significant influenced on growth stage of rice. Drainage did not emit methane significantly different from continuous flooding of planting both of rice varieties. The different in water management did not signiflcantly effect on rice productivity of CNT1 and KMDL 105. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72454 |
ISBN: | 9743347526 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suphasuk_pr_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 782.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 372.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 849.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 436.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suphasuk_pr_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.