Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72605
Title: Application of low molar mass thermotropic liquid crystals as an additive for polymers
Other Titles: การประยุกต์ใช้ผลึกเหลวชนิดเทอร์โมทรอปิกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเพื่อใช้เป็นสารเติมแต่งสำหรับพอลิเมอร์
Authors: Suraphan Powanusorn
Advisors: Supakanok Thongyai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: Polymers -- Additives
Polypropylene
Thermoplastics
โพลิเมอร์ -- สารเติมแต่ง
โพลิโพรพิลีน
เทอร์โมพลาสติก
Issue Date: 2000
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research is involved in the applications of low molar mass thermotropic liquid crystals as an additive for several base polymers, including engineering polymers, such as polyamide, polyamide, polyacetal and commodity plastics, such as polyethylene and polypropylene. Melt mixing was the preparation method for blending liquid crystal and base polymers together at 0.1, 0.2 and 0.4 percent by weight of LC. The rheological, thermal and mechanical properties of the blends are investigated in order to compare with the base polymer that absence of liquid crystal. The results show that liquid crystal may improve the processability of the polymer by reducing the melt viscosity of the base polymer while the LCs did not affect the thermal and mechanical properties of the base polymer. So the blends may be applied by using the liquid crystal to increase the capacity of polymer processing process, improve processability of engineering polymer or reduce the energy consumption of polymer processing process. This work also include the preliminary investigation the ternary blend of polymer alloys SAN/PMMA at percent composition of 80/20, 60/40 40/60 and 20/80 weight percent of SAN/PMMA with the ternary component of low molar mass liquid crystal with their binary blend properties. The results of 80/20, 60/40, and 40/60 percent of SAN that represent the partially miscible blend at the studying temperature are as same as the study in the first part that the LC can be reduce the melt viscosity, while not affect the other properties, but at 20/80 percent of SAN, the investigating temperature might be in the phase separation limit which the study temperature might be affected by the two phase blend when added the liquid crystal.
Other Abstract: งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ผลิกเหลวที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (low molar mass liquid crystals) เพื่อเป็นสารเติมแต่งสำหรับวัสดุพอลิเมอร์หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกเชิงวิศวกรรม เช่น ไนลอน หรือพิลิอะซิทัล และ พลาสติกเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้กันทั่วไป เช่น พอลิเอทธีลีน หรืด พอลิโพรพีลีน เป็นต้นของผสมระหว่างผลึกเหลวและพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ถูกเตรียมโดยวิธีการผสมหลอมเหลวด้วยความร้อน (melt-mixing) ที่อัตราส่วนผสม 0.1, 0.2 และ 0.4 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของผลึกเหลว พอลิเมอร์ผสมที่ได้ถูกนำไปทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ทั้งคุณสมบัติทางรีโอโลยี (rheological properties) โดยการศึกษาความหนืด, คุณสมบัติทางความร้อนโดยการศึกษาอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วและจุดหลอมเหลว (Tg and Tm) และคุณสมบัติทางกลโดยการศึกษาความแข็งแรงทางแรงดึง (tensile strength) เปรียบเทียบกับพอลิเมอร์บริสุทธิ์ ผลที่ได้พบว่าพอลิเมอร์ผสมที่เติมผลึกเหลวเป็นสารเติมแต่งจะมีความหนืดลดลงตั้งแต่ 20% ขึ้นไปสำหรับพอลิเอทธีลีน และตั้งแต่ 50% ถึงมากกว่า 80% ขึ้นไปสำหรับพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ ในขณะที่คุณสมบัติทางกลและทางความร้อนแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การใช้ผลึกเหลวที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเป็นสารเติมแต่งจึงอาจทำได้โดยอาจพิจารณาใช้ได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการไหลทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก, สามาถขึ้นรูปพลาสติกเชิงวิศวกรรมที่มีความยุ่งยากมากให้ง่านขึ้น หรือสามาถลดการใช้พลังงานในการขึ้นรูปพลาสติกได้ ในงานวิจัยนี้ยังได้ทำการศึกษาเบื้องต้นถึงระบบพอลิเมอร์ผสมของสไตรีนอคริโลไนไตรโคพอลิเมอร์(SAN) และ พอลิเมทธิลเมธาคริเลต (PMMA) ที่อัตราส่วนผสม 80/20, 60/40, และ 20/80% โดยน้ำหนักและผลของการเติมผลึกเหลวที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเป็นเฟสที่สาม ที่อุณหภูมิที่ใช้ในการศึกษาคือ 200 องศาเซลเซียสพบว่าที่อัตราส่วน 20/80 เปอร์เซ็นต์ของ SAN ระบบมีคุณสมบัติเป็นของผสมที่ไม่เข้ากันคือเกิดการแยกเฟส (phase separation) ทำให้ระบบนี้มีค่าความหนืดต่ำที่สุดและเมื่อเติมผลึกเหลวไปอาจส่งผลในการเพิ่มความเข้ากันได้ของระบบพอลิเมอร์ผสมทำให้ความหนืดของระบบนี้เพิ่มขึ้น แตกต่างจากระบบอื่นๆ คือ 80/20, 60/40 และ 40/60 ซึ่งระบบมีความเข้ากันได้ในช่วงอุณหภูมิที่ศึกษาและเมื่อเติมผลึกเหลวลงไปส่งผลในการลดความหนืดเช่นเดียวกันกับการศึกษาพิลิเมอร์เดี่ยวในส่วนแรก
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2000
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemical Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72605
ISBN: 9741301685
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suraphan_po_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch1_p.pdfบทที่ 1349.39 kBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch2_p.pdfบทที่ 2676.54 kBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch3_p.pdfบทที่ 32.15 MBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch4_p.pdfบทที่ 41.53 MBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch5_p.pdfบทที่ 52.16 MBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_ch6_p.pdfบทที่ 6293.43 kBAdobe PDFView/Open
Suraphan_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.