Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73106
Title: บริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์ของมารดาในภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Food habit during pregnancy of mothers in the Northern region of Thailand
Authors: วรรษา โชติธนานันท์
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: มารดาและทารก
ครรภ์ -- แง่โภชนาการ
บริโภคนิสัย
Mother and infant
Pregnancy -- Nutritional aspects
Food habits
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์ โดยส่วนรวมและรายด้านของมารดาในภาคเหนือของประเทศไทยจำแนกตามอายุ ที่อยู่อาศัยขนาดของครอบครัว จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และความเชื่อเกี่ยวกับอาหารในระยะตั้งครรภ์ โดยมีสมมติฐานของการวิจัยว่า มารดาที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอายุ ที่อยู่อาศัย ขนาดของครอบครัว จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และความเชื่อเกี่ยวกับอาหารในระยะตั้งครรภ์ มีบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์แตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไปที่มารับบริการตรวจและฝากครรภ์ที่แผนกสูติกรรมของโรงพยาบาล 4 แห่งในภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีแนวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยนำแบบสัมภาษณ์ไปหาความตรงตามเนื้อหากับผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์การเตรียมและการปรุงอาหารตามแบบคูเคอร์ ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .64 ค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ชนิดและปริมาณอาหารที่บริโภค วิธีปฏิบัติในการรับประทานอาหาร และความเชื่อเกี่ยวกับอาหารในระยะตั้งครรภ์ตามแบบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach) เท่ากับ .81, .73 และ .91 ตามลำดับ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเปอร์เซนไตล์ อัตราส่วนร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาในภาคเหนือส่วนใหญ่ที่บริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์ถูกต้องปานกลางและมีความเชื่อเกี่ยวกับอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และผลการวิเคราะห์ความเชื่อโดยส่วนรวม เป็นรายข้อ ปรากฏว่า มารดาส่วนใหญ่มีความเห็นต่อความเชื่อประเภทที่ส่งเสริมสุขภาพในระดับถูกต้องปานกลาง และมีความเห็นต่อความเชื่อที่ให้โทษในระดับถูกต้องมาเป็นส่วนใหญ่ 2. มารดาที่แตกต่างกันในเรื่องอายุ ที่อยู่อาศัย และความเชื่อเกี่ยวกับอาหารในระยะตั้งครรภ์ มีบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์โดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยมารดาที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยของบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์สูงกว่ามารดาที่อายุระหว่าง 13-20 ปี มารดาที่อยู่ในเมืองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์ถูกต้องมีค่าคะแนนเฉลี่ยของบริโภคนิสัยสูงกว่ามารดาที่มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง 3. มารดาที่แตกต่างกันในเรื่องขนาดของครอบครัว และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ มีบริโภคนิสัยในระยะตั้งครรภ์โดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4. มารดาที่แตกต่างกันในเรื่องอายุ ที่อยู่อาศัย และความเชื่อเกี่ยวกับอาหารในระยะตั้งครรภ์ มีวิธีปฏิบัติในการรับประทานอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่การเตรียมและการปรุงอาหาร กับชนิดและปริมาณอาหารที่บริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมารดาที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการเตรียมและการปรุงอาหาร กับชนิดและปริมาณอาหารที่บริโภคสูงกว่ามารดาที่มีอายุระหว่าง 13-20 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมารดาที่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการและการปรุงอาหารสูงกว่ามารดาที่มีอายุระหว่าง 13-20 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were to study food habit during pregnancy of mothers in the Northern region of Thailand, and to compere this food habit according to the age, residence, family size, number of pregnancy and food believes of those mothers. It was hypothesized that : There would be significant difference between the food habit during pregnancy of mothers : (1) who were in different age groups, (2) who lived in different residence area, (3) who were from family of family size, (4) who were different in the number of pregnancy, and (5) who held different food believes. The research subjects, obtained by simple random sampling, consisted of 180 pregnant women in the third trimester who were attending prenatal clinics from 4 selected hospitals in the Northern region of Thailand. The instruments used in this study, were interviewing questionnaires, one for measuring the food habit and the other for measuring the food believes, which were constructed by the researcher based upon extensive analysis of related literature and the consultation with experts prior to the pretest. The reliability of each parts of the food habit questionnaires, which composed of four parts, one of these consisted of fill in the blank items, were .64, .81 and .73. The food believes questionnaire’s reliability was .91. The data were then analyzed by using the following statistical procedures; percentile, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and one way analysis of variance. The research findings were as follow: 1. The food habit during pregnancy of mothers was at average as compared to the scale for this study. The majority of mothers held incorrect food believes. However, the analysis of food believes’ score in detail demonstrated that the majority of mothers held the in between correct and incorrect believes towards the food believes contributing to their health, and that they held the correct believes towards the food believes harming to their health. 2. There was significant difference at the level of .01 between the means of the total scores of food habit of mothers who were in different age groups, residence and food believes. Thus, hypotheses 1, 2 and 5 were substantiated. In addition, the statistical difference between the means of the total scores of food habit of mothers who were in 21-30 year of age and 13-20 year of age, was found, in which that of the former group was higher than that of the latter one. That is, mothers who lived in the metropolitan area had better food habit than those who lived in the rural area, Also, mothers who held correct food believes had better food habit than those who held the incorrect one. 3. There was no significant difference between the means of the total scores of food habit of the group of mothers who were different in family size and in the number of pregnancy. Thus, the hypotheses 3 and 4 were not supported. 4. Then comparing of the means of the score of each parts of food habit questionnaire, no statistical difference was found between the means of the scores of the food eating habit of mothers who had different age, residence and food believes. However, there were statistically difference at the .01 level between the means of the scores of the preparation and cooking, and the types and quantity of food intake between the group of mothers mentioned above. Additionally, the significant difference at the .01 level was found between the means of the scores of the preparation and cooking, and the types and quantity of food intake of mothers who were in 13-20 and 21-30 year of age. Also, there were statistically difference at the .05 level between the means of the score of the preparation and cooking of the mothers who were in 13-20 and 31-40 year of age.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73106
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.14
ISSN: 9745611298
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1982.14
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wansa_ch_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ10.8 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_ch1.pdfบทที่ 115.58 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_ch2.pdfบทที่ 262.18 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_ch3.pdfบทที่ 39.66 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_ch4.pdfบทที่ 425.11 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_ch5.pdfบทที่ 527.47 MBAdobe PDFView/Open
Wansa_ch_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก28.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.