Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73159
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | วิชัย สวัสดิ์จีน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-04-22T03:39:42Z | - |
dc.date.available | 2021-04-22T03:39:42Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73159 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพชายผู้เป็นนางโชว์ และ ความสำคัญของ นางโชว์ที่มีต่อการแสดงคาบาเรต์ ในโรงละคร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการค้นคว้า เอกสาร การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล โดยเน้นศึกษานางโชว์ในโรงละครคาบาเรต์ ของเมืองพัทยา ได้แก่ บริษัท ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา จำกัด บริษัทอัลคาซาร์ จํากัด และ บริษัทโคลอสเซี่ยมโชว์ พัทยา จำกัด โดยการสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ และการตรวจสอบข้อมูลด้วยการจัดสัมมนากลุ่ม และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การแต่งกายข้ามเพศของบุคคลเพศชายในนาฏกรรม เป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งในประเทศแถบตะวันตก เอเชีย เอเชียตะวันออกฉียงใต้ และในประเทศไทย จนกระทั่งเกิดเป็นอาชีพนางโชว์ในโรงละครคาบาเรต์ โดยระยะเริ่มแรกเกิดขึ้นประมาณพ.ศ. 2515-2520 และพัฒนามาถึงปัจจุบัน ส่วนเส้นทางของการเข้าสู่อาชีพนางโชว์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น (12-18 ปี) เป็นการเรียนรู้ทักษะด้านการแสดง และการเปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยฮอร์โมนเพศหญิง ผ่านสังคมโรงเรียน และกลุ่มกะเทยในชุมชน จากนั้นเมื่อเข้าสู่อาชีพนางโชว์สามารถแบ่งสถานภาพของนางโชว์ออก เป็น 5 ระดับ เริ่มตั้งแต่งนางโชว์ทดลองงาน นางโชว์พนักงานประจำ นางโชว์ลูกคู่พิเศษ นางโชว์ตัวร้อง และนางโชว์ดาวเด่น ความสำคัญของนางโชว์แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) การสร้างอาชีพและรายได้ภายในองค์กร 2) การกระจายรายได้สู่ชุมชนเมืองพัทยา 3) การสร้างรายได้และผลประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยข้อง 4) การเป็นภาพลักษณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และประเทศไทย อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคคลในกลุ่ม ความหลากหลายทางเพศ เพื่อการเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง นางโชว์ระดับดาวเด่นเปรียบเสมือนนางพญาผึ้ง โรงละครเปรียบดั่งรังผึ้ง องค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดงคือผึ้งงานที่ร่วมกันทำงานผสานกับนางพญาผึ้ง การที่นางโชว์จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง ทุกอย่างเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องใช้หลักการเจริญปัญญา สมาธิ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการแสดงให้เหนือกว่านางโชว์ทั้งปวงของโรงละคร เพื่อให้เกิดอานุภาพผ่านการแสดงในโรงละครคาบาเรต์ ซึ่งเมืองพัทยาประกอบโรงละครคาบาเรต์ 3 แห่ง ที่มีความหลากหลายของรูปแบบการแสดง เปรียบดั่งรสชาติของน้ำผึ้งแต่ละรังที่แตกต่างกันไป แต่พันธกิจหลักของโรงละครคาบาเรต์มีความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เปรียบดั่งรังผึ้งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความบริบูรณ์ให้เกิดในวัฏจักรทางธรรมชาติ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims at studying the status of the male who became transgender performer or Nang Show in cabaret theatre, and the economic impact of Nag Show to its social environment. Mixed research method is employed for this study. The study finds that transgender performers have been appearing on stage since time immemorial. The prohibition of female on public performance gives the opportunity for men to take female roles on stage such in Chinese opera, Indian Katakali, English Shakespearean plays, Japanese Noh and Kabuki as well as Thai Khon and Lakon. A man who has to take female role in those theatres must go through a long period of severely physical and mental training to become a successful transgender performer. This tradition is still attract audience attention and becomes a major tourist attraction in Thailand especially in Pattaya province today. Those transgender performers there are called Nang Show The research finds that the pathway of Nang Show profession is divided into two phase. First is from age 12 to 18 years old when acting and dancing are being practiced while female physical appearance is being developed. Second is the professional practice which is divided into five steps: 1. Tryout of internship, 2. Dance chorus 3. Assistant dancer, 4. Associate dancer and 5. Leading dancer or super star. To become a super star, the dancer must be well equipped with perfectly believable female physical appearance, dancing, acting, lip synchronizing technic, and the ability to captivate the magnitude of audience. The research also finds that Nang Show performance in the three cabaret theatres in Pattaya province where their super stars are the center of attention has a very significant economic impact at the local, national and international levels on tourism industry. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.822 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การแสดง | - |
dc.subject | นักแสดง | - |
dc.subject | บุคคลข้ามเพศ | - |
dc.subject | Acting | - |
dc.subject | Actresses | - |
dc.subject | Transgender people | - |
dc.title | บทบาทนางโชว์ในโรงละครคาบาเรต์ | en_US |
dc.title.alternative | Transgender actress 's role in cabaret theater | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.822 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fin_5986834535_Thesis_2018.pdf | 8.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.