Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73453
Title: การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสารกำจัดวัชพืชแบบเห็นได้ด้วยตาเปล่า
Other Titles: Development of Naked Eye Sensor for Herbicide in Water
Authors: ศิริวรรณ บุญมีวิริยะ
Advisors: ลักษณา ดูบาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไกลโฟเสท
ยากำจัดวัชพืช
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันไกลโฟเซตถูกนำมาใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชในแปลงเกษตรมากขึ้น จึงก่อให้เกิดการสะสมของไกลโฟเซตในแหล่งน้ำที่ใช้ทำการเกษตร หากผู้บริโภคได้รับไกลโฟเซตเข้าสู่ร่างกายจากแหล่งน้ำเหล่านี้ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ในอนาคต การตรวจวัดไกลโฟเซตในแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญ แต่ปริมาณ ไกลโฟเซตที่พบในแหล่งน้ำมีปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงต้องใช้เทคนิคการตรวจวัดที่มีความว่องไวสูง เช่น Gas Chromatography ,High Performance Liquid Chromatography เป็นต้น แต่เทคนิคเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญ และยากต่อการนำมาตรวจวัดในสถานที่จริง ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาพัฒนาวิธีการตรวจวัดไกลโฟเซตให้ง่ายขึ้น โดยมุ่งหวังผลการตรวจวัดไกลโฟเซตที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรือการตรวจวัดที่ยุ่งยาก สามารถนำไปใช้ตรวจวัดได้ในสถานที่จริง และสามารถเห็นผล การตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของไกลโฟเซตกับโลหะ และสารประกอบโลหะที่เลือกใช้ ได้แก่ FeCl₃, FeSO₄·7H₂O, NiSO₄·6H₂O, CuSO₄·5H₂O, CoCl₂ และ CaCl₂·₂H₂O ในการทดลองจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการศึกษาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่าง ไกลโฟเซตที่ความเข้มข้น 2 ระดับ คือ 1.5x10⁻³ M และ 5.9x10⁻³ M กับโลหะ ณ ค่าพีเอชที่เหมาะสม ในอัตราส่วนโดยโมลของไกลโฟเซตต่อโลหะเท่ากับ 1:1.67 และ 1:5 และในส่วนที่สองเป็นการศึกษาทำการศึกษาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของไกลโฟเซตกับโลหะที่ความเข้มข้นของไกลโฟเซต และโลหะเท่ากับ 0.4 M และใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในการปรับพีเอช จากการทดลองพบว่า สภาวะการทดลอง ณ ความเข้มข้นของไกลโฟเซต 1.5x10⁻³ M และ 5.9x10⁻³ M ไกลโฟเซตไม่สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะได้ แต่ในการทดลองที่ความเข้มข้นไกลโฟเซตเท่ากับ 0.4 M สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้ดีกับโลหะ ทั้งในรูปสารประกอบที่เป็นของแข็ง ซึ่งเกิดกับแคลเซียม, ไอร์ออน (II) และไอร์ออน (III) และสารประกอบที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเกิดกับคอปเปอร์, นิกเกิล และโคบอลต์ โดยสารประกอบที่ละลายน้ำได้จะให้สีที่แตกต่างจากสีของโลหะนั้นๆ และสามารถตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสงจากสีที่เกิดขึ้นด้วยเครื่อง ยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์
Other Abstract: In present, glyphosate is widely used as an herbicide in agricultural field which makes glyphosate contaminated in water. When people receive glyphosate into the body in the period of time, it will affect health condition. Glyphosate can be found in water with low concentration. The methods that usually used to detect glyphosate are gas chromatography (GC) and high performance liquid chromatography (HPLC), but these methods require skills and inconvenient for the on fields or outside study. In this research, we developed method that is more convenient and the results can be identified with naked eyes, using basic equipment and method and rapid detection of the glyphosate on field. The experiment procedure was to create glyphosate and metals complex. The metals used in this work are FeCl₃, FeSO₄·7H₂O, NiSO₄·6H₂O, CuSO₄·5H₂O, CoCl₂ and CaCl₂·₂H₂O. This experiment was separated into 2 parts. First, the study of the coordination compound formation through the complexation between glyphosate and metals with 2 different concentrations of glyphosate: 1.5x10⁻³ M and 5.9x10⁻³ M, at suitable pH. The mole ratio between glyphosate and metal were fixed at 1:1.67 and 1:5. Second, the study of the coordination compound formation through the complexation between glyphosate and metals in sodium hydroxide solution. The concentration of glyphosate and metals were 0.4 M. From the result, glyphosate cannot form coordination compounds with metals in 1.5x10⁻³ M and 5.9x10⁻³ M of glyphosate while 0.4 M glyphosate in sodium hydroxide solution can. The coordination compounds are both insoluble: calcium, iron (II) and iron (III) complex, and soluble: copper, nickel and cobalt complex. The soluble compounds have a different color from metal and can be measured by UV - Visible spectrophotometer for the absorbance.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73453
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_Bo_Se_2558.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.