Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธรรมนูญ หนูจักร-
dc.contributor.advisorมนพิชา ศรีสะอาด-
dc.contributor.authorพัชรพร อ่อนทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-05-21T03:17:10Z-
dc.date.available2021-05-21T03:17:10Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73460-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิสมาใช้ในการหาปริมาณออกซาเลตและซิเทรตในชาแบบซอง และไอโอไดด์และไอโอเดตในซอสปรุงรสเสริมไอโอดีน สำหรับการวิเคราะห์ออกซาเลตและซิเทรตได้ใช้คะพิลลารีที่ปราศจากการเคลือบผิวภายใน ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 74.3 ไมโครเมตรความยาวรวม 60.2 เซนติเมตร (50 เซนติเมตรถึงตัวตรวจวัด) ภายใต้ความต่างศักย์ไฟฟ้า -20 กิโลโวลต์อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ประกอบด้วยบอเรตความเข้มข้น 30 มิลลิโมลาร์ ฟอสเฟต ความเข้มข้น 40 มิลลิโมลาร์ และสารละลายเตตระเดซิลไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์ความเข้มข้น 0.05 มิลลิโมลาร์ ที่พีเอช 7.0 และตรวจวัดด้วยยูวี-วิซิเบิล ที่ความยาวคลื่น 195 นาโนเมตร จากการใช้ภาวะที่เหมาะสมพบว่าใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน 7 นาที ผลการวิเคราะห์พบว่าปริมาณของออกซาเลตและซิเทรตในชาแบบซองยี่ห้อลิปตันอยู่ในช่วง 5.8 – 15.4 มิลลิกรัมต่อลิตรและ 99.9 – 436 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังได้พัฒนาเทคนิค CE สำหรับวิเคราะห์ปริมาณของไอโอไดด์และไอโอเดตในซอสปรุงรสชนิดเสริมไอโอดีน โดยในการวิเคราะห์ใช้คะพิลลารีขนาดเดียวกับการวิเคราะห์ออกซาเลตและซิเทรต ใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า -24 กิโลโวลต์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส โดยสารละลายอิเล็กโทรไลต์ประกอบด้วยสารละลายโพแทสเซียมฟอสเฟต ความเข้มข้น 40 มิลลิโมลาร์ ที่พีเอช 2.68 และตรวจวัดด้วยยูวี-วิซิเบิล ที่ความยาวคลื่น 200 นาโนเมตร นอกจากนี้ได้นำเทคนิคการเพิ่มความเข้มข้นแบบออนไลน์โดยใช้การบรรจุสารเข้าไปในปริมาณมากและกำจัดเมทริกซ์ออกด้วยอิทธิพลการไหลแบบออสโมซิส มาใช้ในการเพิ่มความเข้มข้นของสารก่อนการแยกด้วยเทคนิค CE ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ไอโอไดด์และไอโอเดตใช้เวลา 10 นาที และเมื่อใช้เทคนิคการเพิ่มความเข้มข้นสารร่วมด้วยพบว่าสามารถตรวจวัดปริมาณไอโอไดด์ได้ต่ำในระดับ 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตรอย่างไรก็ตามเทคนิค CE ที่พัฒนาขึ้นนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จในการนำไปวิเคราะห์ปริมาณไอโอไดด์และไอโอเดตในซอสปรุงรสชนิดเสริมไอโอดีน ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการรบกวนจากคลอไรด์ที่มีอยู่ในสารตัวอย่างในปริมาณมากen_US
dc.description.abstractalternativeIn this work, capillary electrophoresis (CE) was used to determine the amounts of oxalate and citrate in tea bags and iodide and iodate in iodized seasoning sauce. For oxalate and citrate analysis, an uncoated fused silica capillary with 74.3 μm i.d. × 60.2 cm (50 cm to detector) under an applied voltage of -20 kV and a temperature of 25 °C was used with a pH 7.0background electrolyte (BGE) containing 30 mM borate, 40 mM phosphate and 0.5 mM tetradecyltrimethyl ammonium bromide (TTAB). UV-Vis detection was performed at 195 nm. Under the optimized conditions, the analysis of oxalate and citrate was achieved within 7 min. Results showed that the amounts of oxalate and citrate in Lipton tea bags were in the ranges of 5.8 – 15.4 mg/L and 99.9 – 436 mg/L, respectively. Furthermore, in this work another CE method was developed for quantitative determination of iodide and iodate in iodized seasoning sauce. The same capillary column was used with an applied voltage of -24 kV and a temperature of 25 °C. A BGE contained 40 mM potassium dihydrogen orthophosphate (pH 2.68) and UV-Vis detection was performed at 200 nm. In addition, large volume sample stacking using an electroosmotic flow (EOF) pump was applied to perform online preconcentration of iodide and iodate prior to CE separation. Results showed that analysis of iodide and iodate was achieved within 10 min. Coupled with the preconcentration technique, this CE method can detect iodide at a concentration as low as 0.10 μg/L. However, the developed method was unsuccessful for quantitative analysis of iodide and iodate in iodized seasoning sauce due to the interference of chloride ion present in a large amount in the sample.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไอโอไดด์en_US
dc.subjectออกซาเลทen_US
dc.subjectคะพิลลารีอิเล็กทรอฟอเรซิสen_US
dc.titleการตรวจวัดปริมาณไอโอไดด์ ไอโอเดต ออกซาเลตและซิเทรต ในผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิสen_US
dc.title.alternativeDetermination of iodide, iodate, oxalate and citrate in food products using capillary electrophoresisen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharaporn_On_Se_2558.pdfโครงงานวิทยาศาสตร์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.