Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73501
Title: | การนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้เพื่อป้องกันปราบปราม ยาเสพติดในประเทศไทย |
Other Titles: | Using of conspiracy for narcotics suppression in Thailand |
Authors: | ไวทยา สามิบัติ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กฎหมายอาญา กฎหมายยาเสพติด Criminal law Narcotic laws |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้มีการกระทำในรูปแบบของขบวนการซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม โดยมีการแบ่งสายงานบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น และมีการจัดองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าองค์กรจะเป็นผู้วางแผนการต่างๆ โดยไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดเอง หรือในกรณีพรรคพวก ถูกจับกุมดำเนินคดีก็จะจัดหาทนายความที่เชี่ยวชาญกฎหมายคอยว่าต่างแก้ต่างให้ ตลอดจนจัดหาตัวตายตัวแทนคอยรับผิดแทนพรรคพวกของตนด้วย ดังนี้จึงเห็นได้ว่า ผู้เป็นหัวหน้าองค์กรซึ่งอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด เป็นบุคคลสำคัญที่มีผลต่อการคงอยู่หรือล้มเลิกขององค์กรอาชญากรรม การปราบปรามดำเนินคดีกับผู้เป็น หัวหน้าองค์กรจึงมีผลต่อการล้มเลิกขององค์กรอาชญากรรมได้ ในการศึกษามาตรการกฎหมายเรื่องตัวการ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเพื่อใช้ดำเนินคดีความผิดยาเสพติดพบว่ามาตรการดังกล่าวไม่อาจใช้ดำเนินการเพื่อป้องกันการลงมือกระทำความผิดเกี่ยวกันยาเสพติด และไม่อาจใช้ดำเนินการกับการกระทำบางลักษณะของผู้เป็นหัวหน้าองค์กรที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิดได้ทั้งในการพิสูจน์ความผิดของหัวหน้าองค์กรก็กระทำได้ลำบาก เพราะว่า ความผิดเกี่ยวกันยาเสพติดมีลักษณะพิเศษคือ ปราศจากผู้เสียหาย และโดยลักษณะการตกลงแผนการกระทำความผิด ปกติก็จะกระทำโดยรวดเร็วและเป็นความลับยากแก่บุคคลภายนอกจะรู้ได้ พยานหลักฐานส่วนใหญ่จึงได้แก่ ผู้ร่วมกระทำความผิดซึ่งพยานประเภทนี้มีลักษณะเป็นการซัดทอดหรือเป็นผลร้ายต่อจำเลยอื่น ศาลจึงมักจะไม่รับฟังเป็นพยาน หรือรับฟังเป็นพยานแค่มีน้ำหนักน้อย ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจดำเนินการกับผู้เป็นหัวหน้าองค์กรรซึ่งเป็นต้นเหตุในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มาตรการกฎหมายที่ใช้ดำเนินการกับหัวหน้าองค์กรเพื่อ ปราบปรามองค์กรอาชญากรรม ได้แก่ หลักกฎหมายสมคบกันกระทำความผิด โดยหลักกฎหมายดังกล่าวได้วางหลักลักษณะความผิดให้ครอบคลุมถึงการกระทำของผู้เป็นหัวหน้าองค์กรให้เป็นความผิดขึ้น โดยกำหนดให้การตกลงกันเพื่อจะกระทำความผิดแม้จะไม่ได้มีการกระทำความผิดตามที่ตกลงกันนั้น ก็เป็นความผิดแล้ว และในการตกลงกันนี้ได้มีการขยายขอบเขตให้กว้างขวาง ซึ่งการตกลงกันอาจจะตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยาย โดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยผู้ที่ทำการตกลงกันอาจจะไม่อยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือไม่เคย รู้จักกันมาก่อนก็ได้ และในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์ความผิดของผู้เป็นหัวหน้าองค์กร ก็ได้มีการ กำหนดให้สามารถรับฟังพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี และมีการยกเว้นหลักห้ามรับฟังพยานบอกเล่า โดยให้รับฟังคำรับของผู้ร่วมกระทำความผิดได้ วิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงการนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้เพื่อปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็นการป้องกันการกระทำความผิดและส่งเสริมมาตรการกฎหมายสาระบัญญัติทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงผลดี และข้อจำกัดของหลักการสมคบกับกระทำความผิด ตลอดทั้งสรุปและเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวด้วย |
Other Abstract: | At present, it can be said that narcotic offences are committed in the form of Organized Crime by having controlled and organized with efficientcy in the gang. The leader of the organized crime will not actually commit the crime by himself by only by guiding, planning and giving support to the arrested member of the gang. So the leader of the gang is very important for the stability of the gang. As the matter of fact, the law concerning on principle, instigator or supporter can not be enforced to the leader of the gang of the organized crime and moreover the natures of narcotic offences are victimless crime, speedy and secretly commited offence so it is very difficult to find witness in such a case and the witness usually come from the member of the gang itself which cannot be accepted as witness in the Court. In the United States of America, conspiracy law is used for enforcing the leader of the gang. The liability of the leader of the gang will be held since agree to commit the offence not only express but also imply which can be solved the problems of witness in norcotic offence. This thesis focuses on the using of conspiracy law for suppression the narcotic offence to fulfill the enforcement of Substantive Law concerning on this kind of offence. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73501 |
ISBN: | 9745812552 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Witaya_sa_front_p.pdf | 990.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch1_p.pdf | 873.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch2_p.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch3_p.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch4_p.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch5_p.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_ch6_p.pdf | 941.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Witaya_sa_back_p.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.