Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7361
Title: กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงงิ้วไทยจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม
Other Titles: Performing process of Thai-Chinese opera from cultural hybridization
Authors: ธนัช ถิ่นวัฒนากูล
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: งิ้ว -- ไทย
การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
การสื่อสารกับวัฒนธรรม
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) จากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของสื่อสารการแสดง เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อทางเลือกใหม่จากสุนทรียลักษณ์ของ "งิ้ว" และวรรณกรรมเรื่องเล่าของไทย เรื่อง "พระสุธน" โดยภาษาที่ใช้ในการแสดง คือ ภาษาไทย ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการสร้างสรรค์การแสดงงิ้วไทยจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระสุธน" ในฐานะของนวัตกรรมสื่อสารการแสดง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเตรียมการแสดง (Pre-Production), การดำเนินการแสดง (Production) ซึ่งเป็น 2 ขั้นตอนแรกที่ผู้วิจัยต้องค้นหาศิลปวิธีแนวใหม่ของการสร้างสรรค์สื่อสารการแสดงประเภทนี้ และการประเมินผลการแสดง (Post-Production) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการศึกษาทัศนคติของผู้ชมจากการแสดงครั้งนี้ 2) สุนทรียลักษณ์ของการแสดงงิ้วไทยจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระสุธน" ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ศิลป และเทคนิคการแสดง วรรณกรรมที่ใช้ในการแสดง ประเภทและบทบาทของตัวละคร ดนตรีและการขับร้อง เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า เวที ฉาก และอุปกรณ์ประกอบฉาก แต่ลักษณะที่สำคัญที่สุดที่ผู้วิจัยเลือกที่จะนำมาสร้างสรรค์ คือ วรรณกรรมที่ใช้ในการแสดง ที่มีความแตกต่างจากวรรณกรรมที่ใช้ในการแสดงเดิมที่เป็นวรรณกรรมจีน รวมถึงกระบวนการแสดงที่แตกต่างจากการแสดงงิ้วแต้จิ๋วโดยทั่วไปที่มักจะมีการจัดแสดงตามศาลเจ้าของจีน แต่การแสดงนี้จัดขึ้นในห้องแสดงของสถาบันอุดมศึกษา 3) ทัศนคติของผู้ชมการแสดงงิ้วไทย เรื่อง "พระสุธน" ซึ่งเป็นนิสิตและนักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป พบว่าบทบาทของตัวละคร เครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า เป็นสุทรียลักษณ์ของการแสดงงิ้วที่มีผู้ชมการแสดงชื่นชอบมากที่สุด แต่ขณะที่ดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเป็นสุนทรียลักษณ์ที่สำคัญกลับไม่ได้รับความชื่นชอบเท่าที่ควร อาจจะด้วยความไม่คุ้นชินของผู้ชมจากสำเนียงการขับร้อง และการเจรจาของ "งิ้ว" และปัญหาระบบเสียง ขณะที่นักวิชาการ และนักวิชาชีพทางการละครสมัยใหม่และการแสดงงิ้วแสดงทรรศนะว่าเป็นการสร้างสรรค์สื่อสารการแสดงทางวัฒนธรรมอีกหนึ่งประเภทที่มีความน่าสนใจจากการนำกรอบความคิดทางการละครสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ และสื่อสารกับผู้ชม โดยอาศัยภาษา และวรรณกรรมที่ใช้ในการแสดงเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการสื่อสาร ก่อให้เกิดวัตกรรมสื่อสารการแสดงจากการผสานทางวัฒนธรรม
Other Abstract: This research is the creative research from cultural hybridization of performing arts. Aim is to study the way to develop new performing arts from aesthetics formality of Chinese opera and Thai fairy tales "Prasuthon" which is showed in Thai language. Results of research found that 1) At point of innovation performing arts "Prasuthon", cultural hybridized Thai-Chinese opera, consist of important element creation process, that{7f2019}s pre-production, production, this 2 steps must use to search for new performing way of arts firstly. And post-production is the last step to study about attitudes of audiences of this show. 2) "Prasuthon" was aesthetic formality of cultural hybridized Thai-Chinese opera is consist of essentiality that's arts and performance techniques, literature, types and roles of characters, music and singing, costume and make up, stage setting and props. Thee for the essentiality that researcher best select to use it to create arts is literature, which is different from original Chinese literal including difference performance process from Chaozhou (Taecheew) Chinese opera, which is normally showing around in Thailand but this production performed at the playhouse of University. 3) From attitudes of audiences of "Prasuthon", who are university students included general people found that, roles of characters; costume and make up are aesthetic formality that was favored mostly. But even so, most important aesthetic formality, music and singing are not favored enough. Reason might because of audience are not used to intonation of singing, conversation during show of Thai-Chinese opera and sound engineer problem. Meanwhile, opinion of academician and professional of Modern theatre and Chinese opera, Thai-Chinese opera is one of interesting cultural performance created rom concept of modern hybridized theatre.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7361
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.15
ISBN: 9741433212
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.15
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanat.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.