Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73905
Title: | การผลิตไฮโดรไลซ์เวเจตเทเบิ้ลโปรตีนจากโปรตีนถั่วเขียว เพื่อใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร |
Other Titles: | Production of hydrolysed vegetable protein from mungbean protein for food flavor |
Authors: | อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ |
Advisors: | พันธิพา จันทวัฒน์ นินนาท ชินประหัษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โปรตีนเกษตร โปรตีนเกษตร -- การผลิต Textured soy proteins |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของโปรตีนถั่วเขียวต่อกรดเกลือเข้มข้น 6 โมลาร์ โดยแปรอัตราส่วนเป็น 1:2, 1:3, 1:4, 1:5, 1:6 และ 1:7 (นน.:ปริมาตร) ย่อยที่อุณหภูมิ 120 °ซ นาน 2 ชม. ต่อการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายโปรตีนถั่วเขียว โดยแปรความเข้มข้นของกรดเกลือเป็น 4 และ 6 โมลาร์ แปรอุณหภูมิเป็น 120 และ 130° ซ และแปรเวลาเป็น 2,4 และ 6 ชั่วโมง พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลาย คือ อัตราส่วนโปรตีนถั่วเขียวต่อกรดเกลือ 1:3 ใช้กรดเกลือเข้มข้น 6 โมลาร์ อุณหภูมิ 120 °ซ เวลา 6 ชม. ขั้นต่อมาศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดกลิ่นแปลกปลอมใน HVP ด้วยแอคทีฟคาร์บอนร้อยละ 0.1, 0.5 และ 1.0 (นน. : ปริมาตร) แปรอุณหภูมิเป็น 50 และ 60°ซ และแปรเวลาเป็น 30 และ 60 นาที พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดกลิ่นแปลกปลอม คือ แอคทีฟคาร์บอนร้อยละ 0.5 อุณหภูมิ 50 °ซ เวลา 30 นาที ต่อมาศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำ HVP ให้เข้มข้นร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก โดยใช้เครื่อง rotary vacuum evaporator ที่ความเร็วรอบ 240 รอบต่อนาที ความดันที่ภาวะสุญญากาศ 26 นิ้วปรอท แปรอุณหภูมิระหว่างการระเหยเป็น 50, 60, 70 และ 80 °ซ พบว่าอุณหภูมิ 80 °ซ ใช้เวลาสั้นที่สุดในการระเหยน้ำถึงระดับที่ต้องการ ส่วนการผลิต HVP ผง ด้วยเครื่อง spray dryer ใช้อุณหภูมิลมร้อน 180 °ซ อุณหภูมิลมออก 100 °ซ ความดันลม 30 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ต่อมศึกษาการใช้ HVP ผงที่ผลิตได้และ HPP:FC-01®เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสในซุปผัก พบว่าปริมาณเหมาะสมสำหรับแต่ละชนิด ได้แก่ร้อยละ 1.5, 0.75 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ซุปผักที่เติม HVP เข้มข้น และ HVP ผง มีคะแนนความชอบด้านกลิ่นรสไม่แตกต่างกัน (p≥ 0.05) ซุปผักที่เติม HPP :FC-01® ไม่แตกต่างจากซุปผักที่เติม HVP เข้มข้น แต่คะแนนสูงกว่าซุปผักที่เติม HVP ผง (p≤ 0.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73905 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ubonrat_si_front_p.pdf | 977.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch1_p.pdf | 678.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch2_p.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch3_p.pdf | 886.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch4_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch5_p.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_ch6_p.pdf | 655.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ubonrat_si_back_p.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.