Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7478
Title: | การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ผ่านสื่อพื้นบ้านเพลงซอ |
Other Titles: | AIDS information diffusion through "Soh" folk music |
Authors: | นารีนารถ กิตติเกษมศิลป์ |
Advisors: | ธนวดี บุญลือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โรคเอดส์ การเปิดรับข่าวสาร การสื่อสารสาธารณสุข เพลงซอ ดนตรีพื้นบ้าน |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ผ่านสื่อพื้นบ้าน ประเภทเพลงซอของประชาชน อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยศึกษาข้อมูลในประเด็นของพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของเรื่องทั่วไป ช่องทางการสื่อสารด้านการสาธารณสุข ประเภทของสื่อด้านโรคเอดส์ ประสิทธิผลของสื่อเพลงซอ และปฏิกิริยาของผู้รับสารต่อการใช้เพลงซอ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะกลุ่ม (Focus Group Interview) จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จัดแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มช่วงอายุคือ ช่วงอายุ 15-24 ปี 25-34 ปี และกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ศึกษารวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในเขตสุขาภิบาล กลุ่มช่วงอายุละ 2 กลุ่ม และนอกเขตสุขาภิบาลกลุ่มช่วงอายุละ 2 กลุ่ม รวม 12 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 คน บันทึกเทปการสัมภาษณ์และถอดข้อความจากการให้สัมภาษณ์ เพื่อการวิเคราะห์ โดยการจัดกลุ่ม จำแนกคำตอบและสังเคราะห์อธิบายความหมายการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนเปิดรับสื่อในเรื่องทั่วๆ ไปจากสื่อโทรทัศน์เป็นประจำสูงสุด เพราะส่วนใหญ่มีเครื่องรับโทรทัศน์อยู่แล้ว ต่างกันที่เนื้อหาสาระและรายการที่รับชมของแต่ละกลุ่มช่วงอายุ ตามความสนใจสอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตประจำวัน รวมทั้งการเปิดรับสารเกี่ยวกับงานสาธารณสุข จากสื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ให้บริการด้านความรู้และป้องกันโรคทั่วไป ส่วนพฤติกรรมการรับสื่อด้านโรคเอดส์นั้น ประชาชนจะให้ความสนใจสื่อเฉพาะกิจ ประเภทนิทรรศการ, โปสเตอร์ และจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย ประการสำคัญ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารโรคเอดส์โดยการผ่านสื่อพื้นบ้านประเภทเพลงซอนั้น ประชาชนส่วนใหญ่เคยได้รับฟังและรับชม การใช้สื่อเพลงซอเพื่อประโยชน์ในการบันเทิง, การให้ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจ เช่น การรณรงค์ประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรวมทั้งการให้ความรู้ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคเอดส์ด้วย โดยเฉพาะประชาชนวัยสูงอายุ คือ กลุ่มที่มากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะมีความคุ้นเคยและความประทับใจกับวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทซอ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรอีกว่า สื่อพื้นบ้านประเภทเพลงซอ ควรมีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถเข้ากันได้ กับความต้องการของกลุ่มประชากรในช่วงอายุอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มวัยเด็กหรือกลุ่มวัยเรียน ซึ่งสื่อเพลงซอควรปรับปรุงในด้านการใช้ภาษา ให้มีความง่ายต่อการทำความเข้าใจ เนื้อเพลงควรสั้นกระทัดรัดแต่ครอบคลุมความหมาย ท่วงทำนองของเพลงควรเร่งเร้า และสนุกสนาน เช่นเดียวกับเพลงสตริง ผู้ขับร้อง ควรมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วไปและโดยเฉพาะการที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมเพลงซอนี้ สถานศึกษาต้องให้การศึกษาแก่เด็กๆทั่วไป โดยให้เด็กได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับเพลงซอในชั้นเรียน เช่น การแสดง การอภิปราย การทำรายงาน เป็นต้น เพื่อให้เกิดความรู้ ความสนใจและมีความชื่นชม ประทับใจในคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามนี้ ผลการศึกษาวิจัยสนองตอบวัตถุประสงค์การวิจัยทุกประการ สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ต่อไป |
Other Abstract: | Studies the exposure of information on Aids through "Soh" folk music of the people who lived in Amphur Dhanchai, Phrae province. The topic of this study concerned general media exposure behaviour. Public Health communication channels, types of media used the effectiveness and feedback on "Soh" folk music against AIDS. Qualitative method was used for this research through focus group interview and purposive sampling, devided the group into 3 aged catagories, data was collected from 120 people within and outside the sanitariou area. The results of this research are : TV is the most frequent exposed medium for all families however, the messages of exposure are different by age of interest and receivers' life style. The same result is applied for TV and interpersonal communication exposure on public health information. Special media such as exhibitions, posters and Public Health officers are most interested by people searching information on Aids. Mosft people, especially those who are over 35 years old, have exposed "Soh" folk music for entertaining, providing information on special events such as democracy campaign, development participation and information on Aids. In addition, there are suggestions from the groups that the "Soh" folk music should be improved to fit into all aged groups especially for the younger who found "Soh" folk music too slow, unpractical and difficult to understand therefore, it should be as entertaining as string music and the singer should also be well-known. Schools could help "Soh" folk music conservation by encauraging their students to do various activities and campaigns on "Soh" folk music. Results of this research has met its objectives and can be applied to improve Aids information diffusion programs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7478 |
ISBN: | 9746356631 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nareenad_Ki_front.pdf | 954.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_ch1.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_ch2.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_ch3.pdf | 781.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_ch4.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_ch5.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareenad_Ki_back.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.