Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75383
Title: | มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ : ศึกษากรณีบทลงโทษผู้แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ |
Authors: | วิศัทวรรณ วิมลศิลปิน |
Advisors: | ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การลงทุน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ บริษัทหลักทรัพย์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นหัวใจหลักของตลาดทุน เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน การลงทุน ย่อมมีความสําคัญกับประชาชนทั่วไป ในการจัดการเงินออม เพื่อให้เกิดผลงอกเงย โดยตลาดทุนเป็น กลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในองค์รวม ตลาดทุนจึงเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนและ เป็นทางเลือกในการออม สําหรับประชาชน นอกเหนือจากตลาดเงิน จึงทําให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ สําคัญของประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยในส่วนของผู้แนะนําการลงทุนผู้ซึ่งทําหน้าที่ในบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คําแนะนําในการลงทุนกับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยภายใต้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํา การลงทุนในการให้คําแนะการลงทุนต่อผู้ลงทุน ผู้แนะนําการลงทุนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้ กําหนดไว้ ซึ่งถ้าผู้แนะนําการลงทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามแนวทางของสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ซึ่งจะมีบทลงโทษทางปกครองสําหรับ ผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําความผิดโดยการพักหรือเพิกถอนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนําการลงทุน ซึ่งหากพิจารณาถึงลักษณะของพฤติกรรมการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต เช่น ฉ้อโกงหรือยักยอกต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน จะพบว่าการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับผู้ แนะนําการลงทุนนั้นไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุน ดังนั้นจึงมี ความจําเป็นอย่างมากที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงขึ้นเพื่อปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการ ลงทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาบทลงโทษทางปกครองของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทํา ความผิดเพื่อเปรียบเทียบกับฐานความผิดการลงโทษทางอาญาสําหรับพฤติกรรมของผู้แนะนําการ ลงทุนที่กระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดยศึกษาแนวทางมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ ฉ้อโกง ยักยอกหรือหลอกลวง แนวทางมาตรการลงโทษของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบว่าทางสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ทุจริตหรือการหลอกลวงที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ รวมถึงการฉ้อโกงหลักทรัพย์ซึ่งมีผลต่อหน้าที่เป็นตัวแทน นายหน้าและที่ปรึกษาทางการเงินในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ใน พระราชบัญญัติประกันชีวิตในประเทศไทยได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่กระทําทุจริต หลอกลวง ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายของการกํากับดูแลบุคลากรในตลาดทุนสําหรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตของผู้ แนะนําการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อรองรับการดําเนินการมาตรการทางอาญา เฉพาะพฤติกรรมของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดย มาตรการริบทรัพย์, มาตรการลงโทษปรับ และมาตรการลงทาจําคุก มาใช้เป็นมาตรการเสริมสําหรับ การบังคับใช้กฎหมายเพิ่มเติมจากมาตรการลงโทษทางปกครองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการลงทุนหรือบุคลากรในตลาดทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สิน ของผู้ลงทุน |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75383 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.131 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2019.131 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186176834.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.