Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75429
Title: การพัฒนาและการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีรีเวิร์สเฟสโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงเพื่อตรวจสอบเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซักซิเนต
Other Titles: Development and Validation of a Reversed Phase HPLC Method for Determination of Curcumin Diethyl Disuccinate
Authors: ชัญญานุช ราชมณี
ศศิธร มโนมัยวงศ์
พิรุณ ศักดิ์เกรียงไกร
Advisors: พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เคอคูมิน
Curcumin
การพัฒนายา
Drug development
Issue Date: 2557
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Curcumin diethyl disuccinate (CDD) เป็นโปรดรักของ curcumin ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเพิ่มความคงตัวและ bioavailability ของ curcumin และยังคงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีวิเคราะห์หาปริมาณ CDD ในวัตถุดิบที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการพัฒนายา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์หาปริมาณ CDD ในวัตถุดิบที่สังเคราะห์ขึ้น ด้วยวิธีรีเวิร์สเฟสโครมาโทกราของเหลวสมรรถะสูงตามข้อกำหนดของ USP ICH และ WHO ผลการทดลองพบว่าสภาวะที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการวิเคราะห์ CDD คือ ใช้คอลัมน์ Halo C18 (50 x 4.6 มิลลิเมตร, 2.7 ไมโครเมตร) เฟสเคลื่อนที่ประกอบด้วย acetonitrile:2% acetic acid ในสัดส่วนเท่ากับ 72:28 (% โดยปริมาตร) อัตราการไหล 1 มิลลิลิตรต่อนาที และตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร ด้วยเครื่องตรวจวัดชนิด photodiode array โดยพีคของ CDD บนโครมาโตแกรมปรากฏอยู่ที่เวลาประมาณ 13 นาที จากการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์พบว่าวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความจำเพาะสูง ไม่พบการรบกวนจากสารอื่นในพีคของ CDD ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของ CDD ที่วิเคราะห์ได้กับพื้นที่ใต้พีคเป็นเส้นตรงในช่วง 2-10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9999 สำหรับความเที่ยงในเทอมของร้อยละของสัมประสิทธิ์ การแปรผันในวันเดียวกันมีค่าเท่ากับ1.05 0.61 และ 0.48 ที่ความเข้มข้นต่ำ กลาง และสูง (2 , 6 และ 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิสิตร) ตามลำดับ โดยความเที่ยงระหว่างวันมีคำร้อยละของสัมประสิทธิ์การแปรผันที่ความเข้มข้นต่ำ กลาง และสูง ตามลำดับคือ 0.84 0.98 และ 0.44 ความแม่นของวิธีวิเคราะห์แสดงในทอมของร้อยละของการคืนกลับมีค่าอยู่ระหว่าง 96.9 ถึง 100.2 นอกจากนี้พบว่าวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของเฟสเคลื่อนที่ จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้วิเคราะห์หาปริมาณ CDD เพื่อการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ CDD
Other Abstract: Curcumin diethyl disuccinate (CDD) is a prodrug of curcumnin, which has been developed to improve stability and bioavailability of curcumin. CDD possesses various biological activities including anti-inflammatory and anticancer activities. The aim of this study was to develop and validate a reversed-phase HPLC-PDA method for the determination of CDD in raw material in accordance with USP, ICH and WHO guidelines. The RP-HPLC analysis was carried out on a Halo C18 column (50x4.6mm, 2.7μ) using acetonitrile and 2% acetic acid in the ratio of 72:28 (%v/v) as a mobile phase in isocratic elution mode. The mobile phase was delivered at a flow rate of 1 mL/min and analytes were detected by a photodiode array detector at 400 nm. The retention time of the CDD peak was 13 minutes. An absence of interfering peaks at the retention time of CDD indicated the specificity of the method. Linearity of the method was observed over the concentration range of 2 - 10 μg/mL (r =0.9999). The percentage relative standard deviation (%RSD) values of intra-day assay were found to be 1.05, 0.61 and 0.48 for low, medium and high (2, 6 and 10 μg/mL) concentrations of CDD, respectively. For inter-day assay, the %RSD values were found to be 0.84, 0.98 and 0.44 for low, medium and high concentrations, respectively. Analytical recovery of CDD was between 96.9 to 100.2%, suggesting the accuracy of the analytical method. Additionally, the method was robust for changes in the ratio of mobile phase. Hence, the developed method is suitable for the determination of CDD for quality control of CDD raw material.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75429
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_1.10_2557.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(1.10-2557)2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.