Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7554
Title: พลวัตของแพลงก์ตอนสัตว์ในอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Zooplankton dynamics in Kung Krabaeng Bay Chantaburi Province
Authors: วรพงศ์ ตันติชัยวนิช
Advisors: นันทนา คชเสนี
อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: แพลงค์ตอนสัตว์ทะเล -- ไทย -- นิเวศวิทยา
อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพลวัตของแพลงก์ตอนสัตว์ในอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยทำการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ และปัจจัยทางนิเวศระหว่างเดือนมีนาคม 2547 ถึงเดือนมกราคม 2548 ทุก 2 เดือนครั้ง รวม 6 ครั้งในช่วง เวลากลางวัน โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดตา 103 ไมโครเมตร ลากในแนวระดับจากจุดเก็บตัวอย่าง ภายในอ่างคุ้งกระเบน 16 สถานี ได้แก่บริเวณปากอ่าว 4 สถานี ภายในตัวอ่าว 8 สถานี บริเวณแนวป่าชายเลน 4 สถานี และสถานีกลางทะเล 1 สถานี ผลการศึกษา พบว่ามีผลแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด 40 กลุ่ม จาก 15 ไฟล้ม แบ่งเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ถาวร 22 กลุ่ม และ แพลงก์ตอนสัตว์ชั่วคราว 18 กลุ่ม มีความหนาแน่น เฉลี่ยอยู่ในช่วง 7.69 x 10 [superscript 5] {7f2013} 1.76 x 10 [superscript 7] ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โดยมี Copepods เป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่น มีความหน่าแน่นร้อยละ 49.92 ของปริมาณแพลงก์ตอน สัตว์ทั้งหมดที่พบ แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มที่พบรองลง มาได้แก่ Crustacean nauplius, Gastropod Iarvae, Bivalvia larvae และ Larvacean แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มที่ พบได้ตามฤดูกาลได้แก่กลุ่ม Cladocera และ Rotifera พบมีความหนาแน่นสูงในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ฤดูฝน) เนื่องจากแพลงก์ตอนสัตว์ 2 กลุ่มนี้ เป็นแพลงก์ตอนสัตว์น้ำจืดและน้ำกร่อยจึงพบในช่วงที่มีความเค็มต่ำ แต่ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอน สัตว์ทั้งหมดสูงกว่าช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ชุมชนแพลงก์ตอนสัตว์ ในบริเวณในอ่างคุ้งกระเบนมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าชุมชนแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณปากอ่าวคุ้งกระเบน และบริเวณใกล้แนวป่าชายเลน แต่ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ที่เป็นตัวอ่อนของ Crustacean มีการผันแปรตามความโปร่งแสงของน้ำอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05) ในขณะที่ปัจจัยทางชีววิทยาคือ คลอโรฟิลล์ เอ มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ Hydromedusae นอกจากนี้ แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มผู้ล่าเช่น หนอนธนู, Hydromedusae และลูกปลาน่าจะมีบทบาทในการควบคุม ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Copepod, ตัวอ่อนของหอย ตัวอ่อนของไส้เดือนทะเลและตัวอ่อน ของ Crustacean ด้วย แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Brachyuran larvae พบหนาแน่นสูงบริเวณใกล้แนวป่าชายเลน ในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2547 ซึ่งตรงกับช่วงฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ของปูม้าและปูทะเล ดังนั้น จึงควรลดปริมาณการจับปูม้าและปูทะเลในช่วงดังกล่าวลดลงเพื่อคงไว้ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ของปูทะเลและปูม้าในอนาคตต่อไป ผลการศึกษาครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Brachyuran larvae, Shrimp larvae, Fish larvae และ Bivalvia larvae ที่เป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน
Other Abstract: Study on Zooplankton dynamic in Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province was investigated from March 2004 to January 2005. Zooplankton samples were collected every two months by a 103 um- meshed conical net equipped with a flowmeter from 16 sampling stations in Kung Krabaen Bay and 1 station in the sea. Towing was conducted at day time. As the results indicated that zooplankton composition comprised 40 groups from 15 phyla in which were divided into 22 groups of holoplankton and 18 groups of meroplankton. The average density ranged from 7.69x10 [superscript 5]-1.76x10 [superscript 7] ind. 100 m. [superscript -3] Copepod was a dominant population and contributed to 49.92% of total zooplankton density. Crustacean nauplii, Gastropod larvae, Bivalvia larvae and Larvacean were also found in abundance. Density of Cladocera and Rotifera corresponded to seasonal variation and found in abundance during southwest monsoon season or rainy season because these groups live mainly fresh water and in brackish water. Total density of zooplankton showed higher density in northeast monsoon season than those in southwest monsoon season. The zooplankton communities in the bay had more similarity than those near the mouth of the bay as well as near the mangrove forest. However, the density of larvae of crustacean varied in relation to the transparency of water column significantly (p=0.05). the biological factor such as chlorophyll a was also influent the population densities of Hydromedusae positively. Furthemore, the presence of predator zooplankton such as arrow worm and Hydromedusae and Fish larvae would affect to the density of Copepod, larvae of Mollusk, Polychaete and Crustacean. Brachyuran larvae density was high near the mangrove forest in September and November 2004 because these were breeding and egg laying season of mud crab and blue swimming crab. Therefore, it is necessary to reduce crab harvesting in the period regarding preservation and conservation of natural crab stock. This study also indicates the important role of Brachyuran larvae, Shrimp larvae, Fish larvae and Bivalvia larvae were used as bioindicator for productivity of Kung Krabaen Bay ecosystem.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7554
ISBN: 9741419457
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worapong.pdf11.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.