Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7580
Title: | การวางแผนกำลังการผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสเตนเลส |
Other Titles: | Capacity planning in stanless steel furniture manufacturing industry |
Authors: | ทรงวุฒิ ประกายวิเชียร |
Advisors: | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การผลิต กำลังการผลิต อุตสาหกรรมเครื่องเรือน -- กำลังการผลิต |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปรับปรุงระบบการวางแผนกำลังการผลิต ในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสเตนเลสตัวอย่าง ซึ่งมีปัญหาหลักที่สำคัญคือ การส่งงานไม่ทันกำหนด และมีงานระหว่างผลิตอยู่ในโรงงานเป็นจำนวนมาก และมีสาเหตุหลักมาจากการที่ไม่มีระบบการวางแผนกำลังผลิต ซึ่งมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นปัญหาเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาขาดวัสดุและชิ้นส่วนในการผลิตเกิดขึ้นบ่อยๆ การสื่อสารข้อมูลในการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ และขอบเขต หน้าที่ รับผิดชอบของฝ่ายผลิตและฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต แบ่งแยกออกจากกันไม่ชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเน้นในการสร้างระบบการวางแผนกำลังการผลิตขึ้นมาใหม่ และควบคุมปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมๆ กัน โดยจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการผลิตและคลังพัสดุ การจัดระบบการบริหารคลังพัสดุ การปรับปรุงองค์กรของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต และการกำหนดขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของฝ่ายผลิตและฝ่ายวางแผนการผลิต ให้มีแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน จากผลการดำเนินงานปรับปรุง ผลที่เกิดขึ้นทำให้ทราบว่ากำลังผลิตที่แท้จริงของแต่ละแผนก เมื่อเทียบกับกำลังผลิตที่มีอยู่ทั้งหมด โดยค่ากำลังการผลิตของแผนกตัดเท่ากับ 57.3 เปอร์เซ็นต์ แผนกขีดแนวพับ เท่ากับ 59.3 เปอร์เซ็นต์ แผนกพับเท่ากับ 65.1 เปอร์เซ็นต์ แผนกประกอบเท่ากับ 78.2 เปอร์เซ็นต์ แผนกขัดเท่ากับ 68.7 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณงานเสร็จตรงตามที่กำหนดในแผนการผลิตมากขึ้น จากก่อนการปรับปรุงงานจะมีงานเสร็จตามแผนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการปรับปรุงในเดือน มกราคม 2540 พบว่างานเสร็จตามแผนที่วางไว้ 96 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณงานระหว่างการผลิตลดลงจากประมาณ 3200 ตาราเมตร ในช่วงก่อนปรับปรุงมาเหลือ 2800 ตารางเมตรภายหลังการปรับปรุง ส่วนปริมาณการใช้แผ่นเหล็กสเตนเลสต่อชั่วโมงแรงงานฝ่ายผลิต ซึ่งพิจารณาจากปริมาณพื้นที่แผ่นเหล็กสเตนเลสที่ลงผลิต จะเพิ่มขึ้นจาก 0.13 ตารางเมตรต่อชั่วโมงแรงงานของฝ่ายผลิตไปเป็น 0.22 ตารางเมตรต่อชั่วโมงแรงงานในเดือน มกราคม 2540 และปริมาณจำนวนงานเสร็จต่อชั่วโมงแรงงานในฝ่ายผลิตเพิ่มขึ้นจาก 0.13 ตารางเมตรต่อชั่วโมงแรงงานของฝ่ายผลิตไปเป็น 0.22 ตารางเมตรชั่วโมงแรงงานในเดือน มกราคม 2540 เช่นกัน โดยงานที่เสร็จไม่ทันตามกำหนดในแต่ละช่วงเวลา จะมีจำนวนที่ลดลง โดยในช่วงก่อนปรับปรุงจะมีค่าเฉลี่ย 70 ตัวต่อเดือน หลังจาการปรับปรุงในเดือนมกราคม จะพบว่ามีปริมาณงานที่เสร็จไม่ทันกำหนดเหลือ 17 ตัวต่อเดือน |
Other Abstract: | To study the improvement of the capacity planning system of the selected company in stainless steel furniture manufacturing industry. The major problems of this company were failure to meet production planning targets while a large quantity of work in process still remained to be done. The main factors which cause these problems were the lack of capacity planning system together with related factors, for example, shortage of raw materials and parts in the production process, ineffective communication on production information and confusing on the job description of production planning and control department and production department. In order to solve the above problems, this thesis was emphasized on the creation of the capacity planning system and control involved factor by providing the information system to implement in the production and inventory control, organizing the planning department, improving inventory control system and differentiating the responsibility of production and control department from production department. The results revealed that the real production capacity of each department comparing with whole production capacity were as follows : Cutting Division were 57.3 percent, Layout Division 59.3 percent, Bending Division 65.1 percent, Assembly Division 78.2 percent, Polishing Division 68.7 percent and Technical Division were 63.8 percent more products were manufactured in time due to production plan since the percentage of finishing products according to the plan increased from 70 percent to 96 percent and work in process decreased from 3,200 square meters to 2,800 square meters. In addition, the quantity of work measured by stainless sheet use as the beginning and the finish products increased from 0.13 square meters per production man-hour to 0.22 square meters per production man-hour. As a result, the overdue products were decreased from approximately 70 pieces per month to 17 piece per month. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7580 |
ISBN: | 9746374036 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Songwut_Pr_front.pdf | 607.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch1.pdf | 327.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch2.pdf | 542.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch3.pdf | 614.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch4.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch5.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_ch6.pdf | 262.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Songwut_Pr_back.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.