Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7644
Title: การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นสูงด้วยถังกรองไร้อากาศ ที่มีตัวกลางเม็ดพลาสติกลอยน้ำ
Other Titles: Treatment of high strength wastewater using floating plastic bead media anaerobic filter
Authors: ธเรศ พงษ์สาระนันทกุล
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
เครื่องกรองและการกรอง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสามารถของการบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นสูง ด้วยระบบถังกรองไร้อากาศ โดยตัวกลางที่ใช้เป็นเม็ดพลาสติกที่ลอยน้ำ การทดลองแบ่งเป็น 2 ชุด โดยแต่ละชุดใช้กระบอกพีวีซีใสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ความสูงของกระบอกสูงประมาณ 2.5 เมตร ภายในบรรจุตัวกลางเม็ดพลาสติกลอยอยู่ครึ่งถังบน มีความสูงของตัวกลาง 1.25 เมตร การป้อนน้ำเสียในการทดลองเป็นแบบไหลขึ้น ทดลองกำจัดน้ำเสียความเข้มข้นสูงคิดเป็นค่าซีโอดี 825, 1650, 3300, 3850 และ 5500 มก./ล. โดยกำหนดเวลากักน้ำเท่ากับ 9 ชั่วโมง คิดเป็นค่าภาระบรรทุกอินทรีย์ 2.2, 4.4, 8.8, 10.26 ละ 14.67 กก.ซีโอดี/ลูกบาศก์เมตร-วัน ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีคิดเป็นร้อยละ 89, 77, 71, 47 และ 33% ตามลำดับ โดยมีเปอร์เซ็นต์ของก๊าซมีเทน 82, 59, 50, 48 และ 44% ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่าการใช้ระบบถังกรองไร้อากาศจะมีประสิทธิภาพสูง เมื่อมีค่าภาระบรรทุกอินทรีย์ต่ำ เมื่อภาระบรรทุกอินทรีย์สูงขึ้นจะมีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะที่ความเข้มข้นสูงจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้พบว่าข้อดีของตัวกรองเม็ดพลาสติก ซึ่งช่วยป้องกันตะกอนจุลินทรีย์หลุดออกมาจากระบบด้วย แต่ข้อเสียของตัวกลางดังกล่าว คือ อาจทำให้ระบบอุดตันได้ง่าย
Other Abstract: To investigate the capacity of anaerobic filter with floated plastic medias for treating high strength wastewater. The experiments were carried out by using 2 reactors of 3 inches diameter PVC cylinder. The height of reactors were 2.5 meter and composed of 1.25 meter height plastic media. The experiments were operated by upflow-feeding of wastewater. The systhetic wastewater was prepared at 825, 1650, 3300, 3850 and 5500 mg/l COD respectively. The retention time was 9 hours and organic loading were 2.2, 4.4, 8.8, 10.26 and 14.67 kg-COD/cubic meter-day respectively. The results indicated that the COD removal efficiency are 89%, 77%, 71%, 47% and 33% respectively in which the percent of methane gas are 82%, 59%, 50%, 48% and 44% respectively. The conclusion of this study indicated that the anaerobic filter had high efficiency when the organic loading were low and the higher organic loading were the lower efficiency were. Moreover, the medias could protect the microorganism sludge from washing out the reactor. The disadvantage of the media was it might cause a system clogging.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7644
ISBN: 9746382659
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tharade_Ph_front.pdf500.14 kBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch1.pdf209.85 kBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch2.pdf169.95 kBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch3.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch4.pdf505.52 kBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch5.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_ch6.pdf204.6 kBAdobe PDFView/Open
Tharade_Ph_back.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.