Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77327
Title: คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่ได้รับยา zolpidem หรือ melatonin
Other Titles: Sleep quality of patients on zolpidem or melatonin
Authors: อารีรัตน์ สลีอ่อน
อภิญญา โคกเกษม
อารีพรรณ เศรษฐีมั่นคง
Advisors: สุญาณี พงษ์ธนานิกร
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การนอนหลับผิดปกติ -- การวินิจฉัย
Sleep disorders -- Diagnosis
การนอนหลับ
การใช้ยา
Issue Date: 2560
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา zolpidem หรือ melatonin สำหรับรักษาโรคนอนไม่หลับเรื้อรังในผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประเมิน คุณภาพการนอนหลับโดยใช้แบบประเมินของพิตส์เบิร์ก (PSQI) ซึ่งประเมินการนอนหลับในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และสัมภาษณ์ผู้ป่วย ณ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Kruskal Wallis, one-way ANOVA และ Mann-Whitney U test. ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 22 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ zolpidem 12 คน melatonin 6 คน และ zolpidem ร่วมกับ melatonin 4 คน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลา เฉลี่ย 1 ปี กลุ่ม zo(pidem มีคะแนน PSQI เฉลี่ย 10.83±3.78 คะแนน มีผู้ป่วยที่มีคุณภาพการนอนหลับดี ร้อยละ 16.7 กลุ่ม melatonin มีคะแนน PSOI เฉลี่ย 8.00 ±2.37 คะแนน มีผู้ป่วยที่มีคุณภาพการนอนหลับดี ร้อยละ 16.7 กลุ่มที่ได้รับยาสองชนิดร่วมกัน ไม่พบผู้ป่วยที่มีคุณภาพการนอนหลับดี และมีคะแนน PSQI เฉลี่ย 10.50±3.00 คะแนน คะแนนของทั้งสามกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.250) แต่พบคะแนนของ องค์ประกอบที่ 2 (ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่เข้านอนจนถึงหลับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.032) และ พบว่ากลุ่ม melat onin มีคะแนนองค์ประกอบที่ 2 น้อยกว่ากลุ่ม zolpidem อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.018) อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา zolpidem ได้แก่ ง่วงนอนระหว่างวัน ร้อยละ 58.3 อาการหลงลืมและ ความจำไม่ดี ร้อยละ 58.3 สมาธิหรือการตัดสินใจแย่ลง ร้อยละ 50.0 อ่อนเพลีย ร้อยละ 41.7 ฝันร้าย ร้อยละ 16.7 พบตั้งแต่ระดับรุนแรงน้อยจนถึงรุนแรงมาก ส่วนผลข้างเคียงจากการใช้ยา melatonin ได้แก่ ง่วงนอนระหว่างวัน ร้อยละ 50.0 สมาธิหรือการตัดสินใจแย่ลง ร้อยละ 16.7 อาการหลงลืมและความจำไม่ดี ร้อยละ 16.7 พบในระดับ รุนแรงน้อยถึงปานกลาง ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาสองชนิดร่วมกัน พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาไม่แตกต่างไปจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแต่ละชนิด จากการศึกษาสรุปได้ว่า ยา zolpidem หรือ melatonin ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับไม่แตกต่างกันและ จากการใช้ยาเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 1 ปี ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับดีเพียงร้อยละ 13.6 คะแนน zolpidemทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยามากกว่า melatonin
Other Abstract: This cross-sectional study aimed to examine sleep quality and adverse drug reactions (ADRs) of patients (218 years old) on zolpidem or melatonin for treatment of chronic insomnia. During October 2017 to February 2018, 22 patients were assigned for interview at Excellence Center for Sleep Disorders of King Chulalongkorn Memorial Hospital. Sleep quality was assessed using the Thai version of Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI). Data were analyzed using descriptive analysis, Kruskal Wallis, one-way ANOVA, and Mann-Whitney U test. There were 3 groups of patients including zolpidem (n=12), melatonin (n=6) and zolpidem plus melatonin (n=4). It was found that 16.7% of the zolpidem group had good sleep quality and the average PSQI score was 10.83-3.78, 16.7% of the melatonin group had good sleep quality and the average PSQl score was 8.00+2.37. Whereas, all patients in the combination group had poor sleep quality with the average PSQI score 10.50+3.00. The results showed no significant difference of average PSQl score among three groups (p=0.250). However, the average scores in the component-2 (sleep latency) were significantly different (p=0.032). It showed that the average score of component-2 in the melatonin group was less than that in the zolpidem group (p=0.018). ADRs reported in the zolpidem group included daytime drowsiness (58.3%), memory loss (58.3%), poor concentration and worse decision (50.0%), weakness (41.7%), and nightmare (16.7%). The severity levels ranged from mild to severe. In the melatonin group, there were daytime drowsiness (50.0%), poor concentration and worse decision (16.7%), and memory loss (16.7%), and the severity level was mild or moderate. The patients who received both drugs had ADRs as same as the patients who received one drug. In conclusion, the effect of zolpidem on sleep quality was not significantly different from melatonin. After the patients used zolpidem or melatonin for average 1 year, there were 13.6 % that had good sleep quality. ADRs were found in the zolpidem group more than those in the melatonin group.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77327
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_1.17_2560.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม962.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.