Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77643
Title: | การปรับปรุงการคืนภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) |
Authors: | คณัสนันท์ ธีรธรรมเสถียร |
Advisors: | วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การชำระเงิน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บุคคลธรรมดาเมื่อได้รับเงินหรือรายได้ ที่เกี่ยวข้องกับเงินได้พึงประเมินตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด โดยหมายถึงเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ที่กำหนดในประมวลรัษฎากร เช่น เงินเดือน ค่าเช่า หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ เป็นต้น บุคคลธรรมดาผู้นั้น กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ทั้งนี้ หน้าที่ดังกล่าวมิได้ใช้บังคับแค่เพียงบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง โดยการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี จะนำเงินได้ที่ได้รับในปีภาษีนั้น ๆ หักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้วนำไปคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งอยู่ในลักษณะอัตราก้าวหน้า จากนั้นจึงนำไปหักกับภาษีที่เกิดขึ้นระหว่างปีภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีที่ผู้จ่ายเงินได้จะหักภาษีแล้วนำส่งกรมสรรพากรไว้เมื่อมีการจ่ายเงินได้ในแต่ละครั้ง รวมไปถึง หากมีภาษีเงินได้บุคคลธรมดาที่ยื่นก่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ก็จะถูกนำไปหักออกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน เพื่อหายอดภาษีสุทธิที่ต้องเสียเพิ่มเติมหรือได้รับคืนบางส่วนจากกรมสรรพากร ในปีภาษี 2562 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีภาษีที่ได้รับคืนเป็นจำนวนกว่า 43,000 ล้านบาท จากจำนวนแบบทั้งสิ้น 3,310,472 แบบ ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยการคืนภาษี 13,160.25 บาท ต่อ 1 แบบ โดยกระบวนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอดีต บุคคลธรรมดาสามารถนำหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) พร้อมเอกสารยืนยันตัวตน และ/หรือ หนังสือมอบอำนาจจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ค.21 พร้อมเอกสารยืนยันตัวตนของผู้รับมอบอำนาจ มายื่นรับเงินคืนภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามที่ระบุในหนังสือดังกล่าว โดยต่อมาได้เปลี่ยนจากการรับที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่มาเป็นธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาใดก็ได้ เพื่อรับเช็คคืนภาษี แล้วนำไปขึ้นเงินได้ทันที ทั้งนี้ ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้มีแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) (แผนยุทธศาสตร์ฯ) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยและบูรณาการสวัสดิการ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนส่งเสริม e-Payment ในทุกภาคส่วน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยกรมสรรพากรได้นำโครงการระบบการชำระเงินแบบ Any ID หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า พร้อมเพย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ มาเปลี่ยนแปลงกระบวนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเป็นการโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางนี้ สามารถคืนได้เฉพาะบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น เนื่องจาก บัญชีพร้อมเพย์จะต้องลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเป็นหมายเลขเดียวกัน ในขณะที่ชาวต่างชาติมีเพียงหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ซึ่งต้องทำเรื่องต่อกรมสรรพากรเพื่อขอรับหมายเลขดังกล่าวเมื่อทำงานหรือได้รับเงินได้ในประเทศไทย จากตรงนี้ทำให้กระบวนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับชาวต่างชาติ จำเป็นต้องมีขั้นตอนในการรับเงินภาษีคืนแตกต่างจากบุคคลผู้มีสัญชาติไทย รวมถึงมีความแตกต่างจากในอดีตด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากที่ทำงานในต่างแดน ซึ่งมิใช่ประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ หรือเป็นประเทศที่ตนพำนักอาศัยเป็นปกติ โดยในกรณีทั่วไป ชาวต่างชาติที่ไปทำงานในต่างประเทศนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในแต่ละประเทศด้วยตนเอง ซึ่งมีลักษณะไม่แตกต่างจากบุคคลที่มีสัญชาติในประเทศนั้น ๆ (Local hire หรือ Localization assignment) และชาวต่างชาติที่ถูกมอบหมายจากองค์กรธุรกิจต่างประเทศให้มาทำงานในอีกประเทศหนึ่ง (International assignment) โดยชาวต่างชาติที่ทำงานในต่างแดนนี้จะถูกเรียกในศัพท์เฉพาะว่า Expatriate หรือย่อได้ว่า Expat จากผลสำรวจ ในปีพ.ศ. 2562 พบว่า มี Expat เข้ามาทำงานในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย รวมไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ขององค์กรธุรกิจระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยมี Expat เข้ามาทำงานมากเป็นอันดับที่ 25 ของโลก จากกระบวนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่กำหนดโดยความร่วมมือระหว่างกรมสรรพากร และ ธนาคาร กรุงไทย (จำกัด) มหาชน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ พบว่า มีขั้นตอนที่มากขึ้นและมีความซับซ้อน ซึ่งเพิ่มความยุ่งยากต่อบุคคลธรรมดาและเป็นการกีดกันการได้รับเงินภาษีคืน โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ในส่วนของการเตรียมเอกสารประกอบการรับเงินคืนภาษี เช่น กระบวนการรับรองโดยสถานฑูตไทย การมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตัวจริง เป็นต้น รวมไปถึงการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นในการรับภาษีคืนสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีข้อจำกัดต่าง ๆ จากกระบวนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ นี้ จะเห็นได้ว่าบุคคลธรรมดารับเงินภาษีคืนยากกว่าในอดีต รวมไปถึง การได้รับเงินภาษีคืนขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นผู้รับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาของชาวต่างชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศในการส่งชาวต่างชาติให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศในท้ายที่สุด |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77643 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.130 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.130 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280012534.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.