Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7778
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วราภรณ์ ชัยวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ขนิษฐา ผลพฤกษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-08-15T07:56:59Z | - |
dc.date.available | 2008-08-15T07:56:59Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.isbn | 9741429843 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7778 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความวิตกกังวลของมารดา กิจกรรมการพยาบาลที่คุกคามตามการับรู้ของเด็ก กิจกรรมการพยาบาลที่สนับสนุนตามการรับรู้ของเด็ก การมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของมารดา กับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน รวมถึงศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ของปัจจัยคัดสรรข้างต้น กับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภาคใต้ตอนบน และมารดาจำนวน 116 คู่ สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบมีหลักเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียน แบบสอบถามความกลัวเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน แบบสอบถามกิจกรรมการพยาบาลที่คุกคามตามการรับรู้ของเด็ก แบบสอบถามกิจกรรมการพยาบาลที่สนับสนุนตามการรับรู้ของเด็ก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของมารดาผู้ป่วยเด็กวัยเรียน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาผู้ป่วยเด็กวัยเรียน แบบสอบถามความวิตกกังวลของมารดาผู้ป่วยเด็กวัยเรียนขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องมือทุกชุดมีความเที่ยงและความตรงในระดับที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความวิตกกังวลของมารดา ไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน 2. กิจกรรมการพยาบาลที่คุกคามตามการรับรู้ของเด็ก และกิจกรรมการพยาบาลที่สนับสนุนตามการรับรู้ของเด็ก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของมารดา มีความสัมพันธ์ทางลบกับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กิจกรรมการพยาบาลที่คุกคามตามการรับรู้ของเด็ก และการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของมารดา สามารถร่วมกันพยากรณ์ความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียนได้ 22.0% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบมาตรฐานได้ดังนี้ ความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน = .337[subscript (กิจกรรมการพยาบาลที่คุกคามตามการรับรู้ของเด็ก)] - .235 [subscript (การมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก)] | en |
dc.description.abstractalternative | To examine the relationships between maternal anxiety, perceived threatening nursing intervention, perceived supportive nursing intervention, maternal participation and school-age children's fear of hospitalization and to examine the predictive ability of those factors on school-age children's fear of hospitalization. Subject were 116 hospitalized school age childrens and their mothers, recruited by criteria sampling. Instruments consisted of Thai Child Medical Fear Scale-Revised (CMFS-R), perceived threatening nursing intervention questionnaire, perceived supportive nursing intervention questionnaire, State Anxiety subscale (SAI) of the State-Trait Anxiety Inventory. Content validity and reliability of these instruments were acceptable. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression. The major results of this study were as follow 1. Maternal anxiety was not correlated with school-age children's fear of hospitalization. 2. Perceived threatening nursing intervention and perceived support nursing Intervention were positively correlated with school-age children's fear of hospitalization at the level of statistical significance of .05. 3. Maternal participation negatively correlated with school-age children's fear of hospitalization at the level of statistical significance of .05. 4. Perceived threatening nursing intervention and maternal participation could predict 22.0% of the variance school-age children's fear of hospitalization at the level of statistical significance of .05. Equation derived from the standardized score was: School-age children's fear of hospitalization = .337[subscript (perceived threatening nursing intervention)] - .235[subscript (maternal participation)]. | en |
dc.format.extent | 2842149 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1287 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความกลัวในเด็ก | en |
dc.subject | ผู้ป่วยเด็ก | - |
dc.subject | พัฒนาการของเด็ก | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความกลัวการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กวัยเรียน | en |
dc.title.alternative | Relationships between selected factors, and school- age children's fear of hospitalization | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1287 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khanittha.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.