Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7795
Title: การจัดตาราง/การเปลี่ยนตารางการผลิตสำหรับระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น ในกรณีของเครื่องจักรเสีย
Other Titles: Production scheduling/rescheduling for flexible manufacturing systems in the case of machine breakdown
Authors: ปิยมาภรณ์ ชมสุวรรณ
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
การกำหนดงานการผลิต
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย
Abstract: ศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอนที่มีต่อการจัดตารางการผลิต โดยพิจารณาในกรณีของเครื่องจักรเสีย ซึ่งพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดเครื่องจักรเสียในด้านเวลา คือ ความถี่ (Frequency) เวลา (Time) และช่วงเวลาที่เกิด (Duration) เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้น ซึ่งมีโครงสร้างประกอบไปด้วย 1) ส่วนของข้อมูลที่ต้องการสำหรับการจัดตาราง 2) ส่วนของการจัดตาราง 3) ส่วนของการเปลี่ยนตาราง และ 4) ส่วนของการแสดงผล อีกทั้งสามารถจัดตารางแบบโต้ตอบและวิเคราะห์การเกิดเครื่องจักรเสีย ที่มีผลต่อการจัดตาราง โดยให้ผู้จัดตารางพิจารณาจากประสิทธิภาพ ของการจัดตารางแต่ละครั้ง ในส่วนของการแสดงผลของการจัดตารางแสดงเป็น Gantt Chart และวัดประสิทธิภาพของการจัดตารางเป็นการไหลของงานโดยเฉลี่ย (Flowtime) การสายของงานโดยเฉลี่ย (Lateness) งานล่าช้าโดยเฉลี่ย (Tardiness) จำนวนงานล่าช้าโดยเฉลี่ย (Number of Tardy Jobs) และอัตราการใช้เครื่องจักรโดยเฉลี่ย (Machine Utilization) จากผลของการทดสอบโปรแกรมนี้กับกรณีศึกษาพบว่า กฎเกณฑ์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการจัดตารางและการเปลี่ยนตาราง คือ SMT (smallest ratio by multiplying total processing time), SPT (shortage processing time), EDD (earliest due date) และ SLACK (slack time) อีกทั้งสามารถพัฒนาโปรแกรมนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการจัดตาราง/เปลี่ยนตารางการผลิตในระบบการผลิตจริงได้ต่อไป
Other Abstract: To study the impacts of the uncertainty to production schedules in the case of machine breakdowns. Frequency, time and duration of machine breakdowns are used to classify the intensity levels of uncertainty. In order to study such problem, a computer program is developed. The structure of the program consists of : 1) Input data for scheduling 2) Scheduling algorithms 3) Rescheduling algorithms and 4) Analysis and display. In addition, the program can also conduct such a complex feature as interactive scheduling. The output of the program can be displayed on Gantt Charts. Several measures, i.e., Flowtime, Lateness, Tardiness, Number of Tardy jobs and machine utilization can be employed to compare the performance of alternate schedules. From the results of the study, the algorithms that show good performances consistently, both in scheuling and rescheduling, are SMT (Smallest Ratio by Multiplying Total Processing Time), SPT (Shortage Processing Time), EDD (Earliest Due Date) และ SLACK (Slack Time).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7795
ISBN: 9746374354
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyamaporn_Ch_front.pdf614.12 kBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch1.pdf305.81 kBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch2.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch3.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch4.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_ch6.pdf365.94 kBAdobe PDFView/Open
Piyamaporn_Ch_back.pdf8.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.