Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78207
Title: อุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษเชิงสีที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงสูงโดยใช้ อนุภาคนาโนของเงินสำหรับตรวจวัดอะม็อกซีซิลลิน
Other Titles: Highly sensitive and selective paper-based colorimetric sensor using a silver nanoparticles for determination of amoxicillin
Authors: อมลรุจี ใจแก้ว
Advisors: อรวรรณ ชัยลภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: อะม็อกซีซิลลิน
การวิเคราะห์โดยการวัดสี
Amoxicillin
Colorimetric analysis
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษเชิงสีที่มีความไวและความจำเพาะเจาะจงสูงสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณอะม็อกซีซิลลิน ระบบการตรวจวัดอาศัยการรวมตัวของอนุภาคนาโนของเงินในสารละลายฟอสเฟสบัฟเฟอร์กับอะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอนุภาคนาโนของเงินจากสีชมพูไปเป็นสีม่วงและการดูดกลืนสเปกตรัมของแสงของอนุภาคนาโนเงินที่ความยาวคลื่น 525 นาโนเมตรลดลง แล้วยังปรากฎสเปกตรัมใหม่ในช่วงความยาวคลื่น 600 ถึง 700 นาโนเมตรเมื่อมีปริมาณของอะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุลเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษเชิงสีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็วสำหรับการวิเคราะห์อะม็อกซีซิลลินโดยอาศัยการรวมตัวของอนุภาคนาโนของเงิน สำหรับอุปกรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคนิคการพิมพ์ขี้ผึ้งลงบนกระดาษ เมื่ออะม็อกซีซิลลินจากกระบวนการสลายโมเลกุลทำปฎิกิริยากับอนุภาคนาโนของเงินที่อยู่บริเวณการตรวจวัดบนกระดาษ จะเกิดการเปลี่ยนสีจากสีชมพูเป็นสีม่วงซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์หาปริมาณอะม็อกซีซิลลิน ประกอบไปด้วย ความเป็นกรด-เบส ขนาดของอนุภาคนาโนของเงิน ความเข้มข้นของอนุภาคนาโนของเงิน และผลของปริมาตรกรดไฮโดรคลอริก สำหรับการตรวจวัดเชิงปริมาณของอะม็อกซีซิลลินภายใต้ภาวะที่เหมาะสมโดยใช้ขบวนการการถ่ายภาพ ผลการทดลองที่ได้พบว่ากราฟเส้นตรงในช่วงความเข้มข้นของอะม็อกซีซิลลินที่ 10 ไมโครโมลาร์ ถึง 40 ไมโครโมลาร์ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ 0.9921 ซึ่งมีขีดจำกัดในการตรวจวัด (S/N=3) และขีดจำกัดในการตรวจวัดเชิงปริมาณ (S/N=10) ในการตรวจวัดอะม็อกซีซิลลินเท่ากับ 1.34 ไมโครโมลาร์ และ 4.47 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดอะม็อกซีซิลลินในตัวอย่างเภสัชภัณฑ์ ซึ่งผลที่ได้จากอุปกรณ์นี้พบเมื่อทำการคำนวณหาค่าพิจารณาค่าความแตกต่างแบบจับคู่ ค่าที่ได้มีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญได้เมื่อเทียบกับค่าระบุจากผู้ผลิต
Other Abstract: Highly sensitive and selective paper-based colorimetric device for determination of amoxicillin has been developed. The system is based on aggregation of silver nanoparticles (AgNPs) in phosphate buffer (pH = 3) for the presence of the degradation product of amoxicillin. It indicated that the color of AgNPs changed from pink to purple, and the absorption peak intensity of AgNPs at 525 nm decreased. A new absorption band was appeared in the wavelength range between 600 and 700 nm upon addition of degradation product of amoxicillin. A paper-based colorimetric sensor was then developed for the simple and rapid determination of amoxicillin using the aggregation of AgNPs. This sensor was easily fabricated by wax printing method. In the presence of the degradation product of amoxicillin, the color of AgNPs changed from pink to purple at the detection zone and the change can be visually assessed by naked eyes. Moreover, various parameters affecting the quantification of amoxicillin including the effect of solution pH, silver nanoparticles concentration, silver nanoparticles size, and volume of hydrochloric acid were investigated. For quantitative measurement with image processing under optimal conditions, a good linearity was observed for the concentration of amoxicillin ranging from 10 to 40 μM with a correlation coefficient of 0.9921. The limit of detection and the limit of quantitation for amoxicillin ions were found to be 1.34 μM (S/N=3) and 4.47 μM (S/N=10), respectively. The proposed method was successfully applied to detect amoxicillin in pharmaceutical samples. The results were in good agreement according to a paired t-test with those specified by the respective manufacturers.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78207
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amonrujee Ja_Se_2559.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.