Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78719
Title: | การศึกษากฎหมาย หลักเกณฑ์ และเสนอแนวทางในการจัดเก็บภาษีป้ายให้สอดคล้องกับรูปแบบป้ายอิเล็กทรอนิกส์ |
Authors: | วริศรา การบูรณ์ |
Advisors: | ศารทูล สันติวาสะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การจัดเก็บภาษี ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้ายอิเล็กทรอนิกส์ เนื่อง ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านเทคโนยีไปไกล และ ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ป้ายที่แสดงสื่อความต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นําเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ พบเห็น จึงทําให้พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ที่มีการบัญญัติใช้มาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยได้ศึกษาปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้าย และแนวทางการแก้ไขที่ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้จริง และรองรับการพัฒนารูปแบบของป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต จากการศึกษาพบว่า ปัญหาในการจัดเก็บภาษีป้ายที่ไม่ครอบคลุมป้ายที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน มาจากหลักเกณฑ์การคํานวณภาษี โดยภาษีป้ายจะใช้การคํานวณจากขนาดป้าย (ความกว้างคูณด้วย ความยาวจะได้พื้นที่ป้าย) คูณด้วยอัตราภาษีโดยมีการกําหนดการเลือกอัตราไว้ว่า หากเป็นข้อความที่ เป็นอักษรไทย จะสามารถเลือกใช้อัตราที่ต่ําซึ่งมีผลทําให้เสียภาษีน้อยลง แต่หากข้อความบนป้ายมี อักษรต้างประเทศ รูปภาพ สัญลักษณ์อื่นๆ แสดงอยู่ ก็จะทําให้อัตราภาษีที่ใช้คูณสูงขึ้น ผู้เขียนเห็นว่า การใช้หลักเกณฑ์การวัดขนาด ควรปรับเปลี่ยน เนื่องจากหากเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ การยิงแสงเลเซอร์ไปยังจุดต่าง ๆ ซึ่งสามารถย่อ และขยายได้ รวมถึงการตั้งเวลาเปิดปิดได้นั้น จะทํา ให้หลักเกณฑ์ไม่สามารถคํานวณยอดภาษีที่สมควรเป็นได้และการใช้หลักเกณฑ์ดูข้อความที่แสดงบน ป้ายเพื่อเลือกอัตราภาษี อาจเกิดปัญหาได้เนื่องจากป้ายอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ สามารถปรับเปลี่ยน ข้อความที่แสดงได้อย่างรวดเร็ว ทําให้เป็นช่องทางการหลีกเลี่ยงภาษีได้อีกหนึ่งช่องทาง ผู้เขียนจึงเห็น ควรเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคํานวณดังกล่าวมาเป็นคูณจากยอดมูลค่าที่ชําระค่าจัดทําป้ายตาม แบบอย่างของเมืองฟิลาเดลเฟีย (PHILADELPHIA) แห่งรัฐเพนซิลเวเนีย สหรฐัอเมริกา จะทําให้ภาษี ที่ต้องชําระผันแปรตามมูลค้าป้ายและผลตอบรับ เช่น การใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในการแสดงโฆษณา เพื่อการค้า ก็จะมีมูลค่า ค่าโฆษณาที่สูง ผลตอบรับสูง และเสียภาษีสูงกว่าป้ายที่เป็นสองมิติแบบเดิม ที่ผลตอบรับน้อยกว่าเนื่องจากไม่ค่อยดึงดูดสายตาและมีมูลค่าโฆษณาที่น้อยกว่าเช่นกัน |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78719 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.183 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.183 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380033834.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.